เป้าหมาย อว. “Smart citizen”, “Value-based Economy” และ “Innovation Nation”

กระทรวง อว. เป็นความหวังของประเทศ เป็นกระทรวงแห่งปัญญา กระทรวงแห่งโอกาส กระทรวงแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยต้องเป็น “Future changer” ด้วย “การปรับบทบาทมหาวิทยาลัย” และ “การเติมเต็มศักยภาพมหาวิทยาลัย” ให้บุคลากรได้ใช้ความสามารถตอบโจทย์ประเทศ

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เดินทางเข้าปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ ณ อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ถนนโยธี กรุงเทพฯ ทั้งนี้ได้ถวายสักการะพระบรมราชานุสารีย์พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และไหว้ศาลพระภูมิ ณ กรมวิทยาศาสตร์บริการ จากนั้นเป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหาร อว.ครั้งที่ 1/2562 เพื่อหารือและวางกรอบการทำงานกับผู้บริหารกระทรวง โดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และผู้บริหารและข้าราชการระดับสูง อว. เข้าร่วมประชุมฯ

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ให้ความสำคัญกับการทำงานของ อว. เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังจากประชาชน สังคม ให้ประเทศไทยพ้นกับดักสำคัญคือ กับดักรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำ กับดักโอกาสทางการศึกษา และกับดักความขัดแย้งที่รุนแรง ความท้าทายของ อว. คือ “สร้างโอกาสให้เกิดความเท่าเทียม” มุ่งเน้น “เรียนรู้ตลอดชีวิต”

อว. มีเป้าหมาย 3 ข้อ เพื่อให้เกิด Talent +Research = Innovation คือ

1.ด้านการอุดมศีกษามุ่งลดความเหลื่อมล้ำลดช่องว่างทางสังคม การเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกคน คือ “Smart

citizen” ผลผลิตจากสถาบันการอุดมศึกษาคือ คุณภาพสามารถทำงานแข่งขันกับโลก => สร้าง Talent

2.ด้านการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ บูรณาการ 3 ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์) เพื่อให้เกิด Value-based Economy แปลงงานวิจัยเป็นขีดความสามารถ ความสงบสุขและนวัตกรรม (นวัตกรรมสังคม/นวัตกรรมแก้จน) => สร้าง Research

3.ด้านนวัตกรรม ซึ่งแปลงเป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์คุณค่าทางสังคม เกิด “Innovation Nation” นวัตกรรมต้องกินได้ เป็น inclusive innovation เน้น local start up => สร้าง Innovation ให้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มาใช้

“…การศึกษา คือ ความมั่นคงของประเทศ การศึกษาต้องสร้างให้คนไทยมีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง เข้มแข็ง มีอาชีพ มีงานทำ และมีความเป็นพลเมืองดี มีระเบียบวินัย…”  มหาวิทยาลัยต้องเป็น “Future changer” กลไกดำเนินการคือ “การปรับบทบาทมหาวิทยาลัย” และ “การเติมเต็มศักยภาพมหาวิทยาลัย” ให้บุคลากรได้ใช้ความสามารถตอบโจทย์ประเทศสัญญาประชาคม 7 ข้อ คือ

1) อว. จะเน้นการส่งเสริมสนับสนุน และกำกับดูแล

2 ลดทอนบทบาทการบังคับและสั่งการ

3) ยกเลิกแก้ไขกฎระเบียบที่ล้าสมัย ไม่ตอบโจทย์ประเทศ และเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนภารกิจ

4) เน้นการทำงานเชิงภารกิจเป็นหลัก และเน้นการทำงานเชิงผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์ ที่จับต้องได้เป็นสำคัญ

5) ทำงานในเชิงระบบ เชิงบูรณาการให้มากขึ้น

6 เน้นการทำงานที่คล่องตัวขนาดกะทัดรัด ประสิทธิภาพสูง “Free Flow Talent” ไปสู่การทำงานระหว่างหน่วยงานใน อว. /ระหว่างกระทรวงอื่นๆ /เอกชน

7) ทำงานรวดเร็ว แข่งกับเวลา

เน้นการทำงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์และจะไม่มีที่ว่างสำหรับฝันเล็กๆ “No Room for Small Dream”

 

ขอบคุณภาพจาก ส่วนสื่อสารองค์กรกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม