เผยแพร่ |
---|
ช่วงเดือนธันวาคมของทุกปีจะพบปัญหาน้ำท่วมสร้างความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตรที่เป็นแหล่งผลิตอาหารในจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้ตอนล่าง โดยจะเกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ดอน และเกิดน้ำแช่ขังในพื้นที่ลุ่ม ทำให้พืชผลล้มลุก ไม้ผล และนาข้าวเกิดความเสียหาย ส่งผลต่อรายได้เกษตรกร และความมั่นคงทางอาหารของพื้นที่
นายจิระ สุวรรณประเสริฐ ผอ.สวพ.8 กล่าวว่า ความมั่นคงทางอาหาร เป็นวาระสากลที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผลกระทบจากวิกฤต การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการรับมื
สำหรับประเทศไทยได้บรรจุประเด็นนี้ไว้ในยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ในแผนแม่บทย่อยระบบนิเวศเกษตร และในยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” โดย Food and Agricultural Organization (FAO) กำหนดตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร ไว้ 4 ด้าน คือ Food availability คือ มีชนิด ปริมาณ และความหลากหลายอาหารบริโภคที่เพียงพอ Food access คือ เข้าถึงอาหาร จากการมีรายได้และมีทรัพยากรเพียงพอ Food Stability คือ มีเสถียรภาพ พึ่งพาตนเองได้แม้ในยามวิกฤต และ Food Utilization คือ อาหารมีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัย
ถ้ามองผิวเผินเรามักเข้าใจผิดว่าไทยมีความมั่นคงทางอาหารสูง แต่ในความเป็นจริง ปี 2019 ประเทศไทยมีคะแนนความมั่นคงทางอาหาร 65.1 จาก 100 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 52 ของโลก โดยประเด็นที่ไทยยังมีคะแนนน้อยคือ รายได้ต่ำ ค่าใช้จ่ายด้านอาหารสูง ประสิทธิภาพการผลิตอาหารต่ำ สารพิษตกค้าง และผลกระทบจากเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ สวพ.8 จึงได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยสร้างความมั่นคงทางอาหาร
นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญ สวพ.8 กล่าวว่า ในภาคใต้ตอนล่าง จะพบปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ คือ ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ น้ำท่วมในฤดูฝน และขาดน้ำในฤดูแล้ง ทำให้การเกษตรมีข้อจำกัดมาก เกษตรกรมีฐานรายได้ต่ำเนื่องจากพื้นที่ 70 % เป็นยางพารา ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนไปทำการผลิตพืชที่ให้รายได้สูงยังทำได้น้อย ปัจจุบันยังเจอปัญหาต้นทุนปุ๋ยเคมีราคาสูงขึ้นต้องพึ่งพาพืชอาหารจากภายนอก และพบว่ามีสารพิษตกค้างในอาหารสูง
ในปี 2565-2567 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตรได้รับทุนวิจัยจาก สกสว. เรื่องการพัฒนาชมุชนต้นแบบการจัดการผลิตพืชเพื่อเพิ่มเสถียรภาพด้านรายได้และความมั่นคงด้านอาหารในจังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี และ ยะลา
โดยได้ร่วมกับชุมชนทำการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชเศรษฐกิจอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้ พัฒนาการผลิตพืชผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การผลิตพืชอินทรีย์ การผลิตพืชที่ยืดหยุ่นจากการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการอาหารชุมชน
ชะแล้โมเดล ชุมชนต้นแบบความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นายกรณ์เชษฐ์ สิทธิพันธ์ รองนายกเทศมนตรีตำบลชะแล้อ.สิงหนคร จ.สงขลา กล่าวว่า สวพ.8 ได้เข้ามาร่วมกับเทศบาลตำบลชะแล้ โรงเรียน รพ.สต.การศึกษานอกโรงเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำเกษตรกร กลุ่มเครื่องแกง ทางไทยฟาร์มเอาเลต เครือข่ายชุมชนตำบลรำแดง ตำบลป่าขาดตลอดจน สส. และภาคีการพัฒนาต่างๆ ในพื้นที่ร่วมจัดเวทีเสวนา กำหนดเป้าหมาย และแผนงานพัฒนาชะแล้โมเดล สร้างความมั่นคงทางรายได้ชุมชนจากสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น
การผลิตพืชผักอินทรีย์ การผลิต 9 พืชผสมผสานพอเพียง การผลิตพืชที่เหมาะสมกับสภาพภูมินิเวศและการเชื่อมโยงการผลิตพืชกับการพัฒนาด้านอื่นๆ ของชะแล้ เช่น การท่องเที่ยวแก้มลิง โบราณสถาน เจดีย์วัดชะแล้ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เจี้ยงเช็นเตอร์ วิถีอาหารพื้นถิ่น วิถีประมงพื้นบ้านริมทะเลสาบ การเลี้ยงชัณโรง การอนุรักษ์ป่าชายเลน การตลาดสินค้า อาหารโรงเรียนอาหารปลอดภัยแก่ทุกวัยเพื่อการลดสารพิษตกค้างในเลือด
และเชื่อมโยงกับระบบธรรมนูณสุขภาพที่ชะแล้ได้มีการพัฒนามาจนเป็นต้นแบบให้กับหลายพื้นที่ และที่สำคัญคือการสร้างกลไกความร่วมมือจากภายในชุมชนร่วมกับสวพ.8 และเครือข่ายภายนอก เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการจัดการความมั่นคงทางอาหาร