เผยแพร่ |
---|
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ร่วมเป็นกลไกสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม และการสร้างเครือข่ายการวิจัย ได้จัดกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา : บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายอุดมศึกษาให้ได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติตามความต้องการของสังคม ชุมชน ภาครัฐและเอกชน รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม และขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยในปี 2565 วช. ได้กำหนดกลุ่มเรื่องผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มเรื่องของ Thailand 4.0 และ BCG โมเดล 4 กลุ่ม ได้แก่ การเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร, การสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์, การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม, และการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งการจัดกิจกรรมมีทั้งในรูปแบบ online และ onsite โดยได้รับความกรุณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรอบรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาผลงานในการพัฒนาผลงานนวัตกรรมในเวทีระดับชาติและระดับนานาชาติ ที่จะมาให้ความรู้ ความเข้าใจ กับทีมสายอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาผลงานนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมในอนาคตทั้งนี้ วช. ยังได้ส่งเสริมและสนับสนุนผลงานนวัตกรรมของสายอุดมศึกษาในหลายรูปแบบ อาทิ การนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในเวทีระดับชาติ, การนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในเวทีระดับนานาชาติ, การสนับสนุนพัฒนา ต่อยอดขยายผลกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นภายในงาน”วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ 2565โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ซึ่งวช.ได้วางเป้าหมายให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นกลไกสำคัญ ที่จะพัฒนาสมรรถนะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมของคณาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ให้สามารถพัฒนาผลงานประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่รองรับโจทย์และความต้องการของสังคมและประเทศ โดยจะมีพิธีปิดและมอบรางวัลกิจกรรมติดดาว ให้แก่ผู้ร่วมกิจกรรมบ่มเพาะ ที่นำเสนอผลงานด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมได้อย่างโดดเด่น พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมการบ่มเพาะตลอดการจัดกิจกรรม 3 วัน โดยคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้มอบฯ