BEDO ยกย่อง “ บ้านเมืองกื้ด” ต้นแบบวิสาหกิจชุมชน “Community BioBank – ท่องเที่ยวชีวภาพ” โดยใช้ สมุนไพร เป็นยา – อาหาร-ของขลังเอาใจสายมู

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชวภาพ หรือ  BEDO ชูธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน คือ กลยุทธสำคัญ สร้างความมั่งคั่งที่มั่นคง เป็นแนวทางเศรษฐกิจที่สร้างบน “จุดแข็งของประเทศ”ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ส่งผลทำให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยช์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งชุมชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตของดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน ( Community Biodiversity Bank หรือ Community BioBank ) นับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าของฐานทรัพยากร ที่กำหนดเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี จะเกิด “ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน” ทั้งประเทศและนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนในทุกตำบล

ทั้งนี้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ยังคงยึดแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและเป็นการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการ อพ.สธ.) ที่ใช้ฐานทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเครือข่ายศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นตำบล ตามแผนปฏิรูปประเทศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการสร้างความมั่งคั่งที่มั่นคง เป็นแนวทางเศรษฐกิจที่สร้างบน “จุดแข็งของประเทศ”ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ 

สำหรับพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่  วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านสมุนไพรบ้านเมืองกื้ด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ย บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ คือ ชุมชนต้นแบบ แนวคิดของ Community BioBank การอนุรักษ์และใช้ประโยช์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง โดยชาวบ้านในชุมชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตของดีขึ้น

บ้านเมืองกื้ด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

ต้นแบบ Community BioBank

บ้านเมืองกื้ด มีความโดดเด่น ทั้งความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลากของภูมิปัญญาและวัฒนธรรม  สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือBedo (เบโด้ )จึงได้สนับสนุน งบประมาณ ภายใต้โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน ปีพ.ศ 2562-2563 เพื่อสำรวจและรวบรวมพันธุ์พืชตระกูลขิง ข่าและสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อเก็บรักษาไว้ในแปลงธนาคาร และปี 2564 ได้สนับสนุนงบประมาณ ภายใต้โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน เพื่อดำเนินงานจัดตั้งธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพ พืชตระกูลขิงข่า ว่าน และสมุนไพร ชุมชนตำบลกื้ดช้างด้าน นางจิราพรรณ ทิมทอง ที่ปรึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านสมุนไพรบ้านเมืองกื้ดเปิดเผยว่า ผลจากการที่สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ให้สำรวจค้นหาของดีในท้องถิ่นภายใต้โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน เริ่มต้น จากการรวบรวมพันธุ์พืชตระกูลขิงข่าและพืชสมุนไพรท้องถิ่น ภายใต้โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน (Community BioBank) เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2562 นอกจาก ทำให้มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการสำรวจ การเก็ฐรักษา การขยายพันธ์และการใช้ประโยชน์จากพืชพันธ์ในชุมชนได้มากขึ้นแล้ว องค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ ผสมผสานกับภูมิปัญญา ยังทำให้ชาวบ้านตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรชีวภาพมากขึ้น

โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน (Community BioBank) ทำให้คนชุมชน เปลี่ยนวิธีคิดเดิม หลังมีการตั้งคำถามในใจเกี่ยวกับเรื่องการสำรวจผืนป่า ทรัพยากรในชุมชน ว่า “ต้นไม้และพืชใกล้ตัว บนดอยมีเยอะแยะจะสำรวจไปทำไม”แต่เมื่อพวกเขา ลงมือสำรวจ แม้จะรู้อยู่- ว่า ทรัพยากรเหล่านี้คือ อาหาร –คือสมุนไพร เป็นยา อาหารเพื่อสุขภาพ จนเข้าใจ ดีว่า“ไม่มีป่า ไม่มีเงิน ไม่มีรายได้”  จึงตั้งทีมนักสำรวจ เดอะแก็งค์ -ทีมสำรวจผืนป่า กำลังหลัก ในการสำรวจ รวบรวม การอนุรักษ์ การเพาะขยายพันธ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เป็นพื้นที่ต้นแบบ และนอกจากนี้ เปิดโอกาสให้ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เพิ่มขึ้น

เดอะแก็งค์ ทีมสำรวจ พบว่าในพื้นที่ป่าชุมชน ห้วยกุ๊บกั๊บของตำบล กื้ดช้าง มีพืชเฉพาะถิ่นที่จะพบเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ระดับความสูง 700 เมตรจากระดับน้ำทะเลที่เป็นป่าเบญจพรรณที่สูง 156 ชนิดพันธ์ุ และ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพระดับชุมชน(Community BioBank  คือ การปกปักษ์รักษา พืชพันธุ์

เดอะแก็งค์ ทีมสำรวจผืนป่าและชุมชน  ได้รวบรวมจัดประเภทพืชพันธุ์ จำนวน 20 แปลง ในชุมชนปัจจุบันมี 3 แปลงจาก 20 แปลง ได้เป็นแปลงต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ฯ และเส้นทางท่องเที่ยวของหมู่บ้านฯ ทั้งนี้ สามารถแบ่งกลุ่มพันธุ์พืชที่ค้นพบได้เป็น 3 กลุ่มคือ 1) เป็นพืชพันธุ์ที่หายาก เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ 2) เป็นพืชหายาก ใช้ประโยชน์ได้  มีการใช้ในตำรับยาสมุนไพร และ 3) เป็นพืชที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ โดยแต่ละแปลงรวบรวมพันธุ์จะต้องมีผลิตภัณฑ์ของแปลงตัวเอง

“ตืนฮุ้งดอย ” เป็นหนึ่งในพืชป่าหายากใกล้สูญพันธ์   มีสรรพคุณเป็น  สมุนไพรสมานแผล ราคาแพง 200-800 บาทต่อกิโลกรัม สมุนไพรชนิดนี้ หากขายในตลาดจีนมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 10,000 บาท ขณะเดียวกัน สมุนไพรชนิดนี้ยังเป็น 1 ใน 9 ชนิดพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  (โครงการ อพ.สธ.)   ปัจจุบัน มี 11  กล้าในชุมชนอนุรักษ์และปลูก ใน 4 ธนาคาร

นอกจากนี้ ยังพบพืชป่าหายากมากคุณใช้ประโยชน์ได้แก่ สมุนไพร ไพรดำ ขมิ้นดำ  ทั้งนี้ พืชสมุนไพรที่เก็บรวบรวมส่วนใหญ่เป็นพืชหัว เช่น ปูเลยดำ ว่านชักมดลูก ค้างคาวดำ ฯลฯ  นอกจากนี้ยังมีกลุ่มไม้มงคล ตระกูลว่าน ซึ่งเป็นว่านในกลุ่มเสี่ยงทาย อาทิ ชุนเช่า ใช้ในงานพิธีแต่งงาน เสี่ยงทายอยู่ยาวยั่งยืน  ว่านจูงนาง (กำปองดิน )  เลี้ยงรอด ร่ำรวย รวมทั้งว่านในกลุ่มเมตตา มหานิยม  เพาะเลี้ยงง่ายปลูกหน้าบ้าน อาทิ ทิพย์พเนตร  ว่านสาวหลง และ ว่านที่นิยม มวลสารใส่ในตะกรุด  เพชรหน้าทั่ง ฆ้องหน้าทั่ง  มวลสารทำพระว่านพยาอึ่ง กล้วยไม้ดิน  ซึ่งสายมู-สายเมตตามหานิยม จะนำว่านมงคลมาอบแห้งใส่ตะกรุด พกติดตัว

“ ชาไผ่จืด”  สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ภายในป่าชุมชนแห่งนี้ยังพบสมุนไพรพื้นบ้านเรียกว่า  “ ไผ่จืด ”ซึ่งจากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่า ไผ่จืดมีสารฟีนอลลิก (Phenolic) สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) และสารคาโรทีนอยด์ (Carotenoid) มีผลช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการสร้างไขมันในเซลล์ และลดน้ำตาลในกระแสเลือด  ความหลากหลายทางด้านชีวภาพเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชุมชนให้มากขึ้น มีศักยภาพสูงเหมาะสำหรับพัฒนาเป็นตำรับชาชงสมุนไพรไผ่จืด เพื่อบำรุงสุขภาพ ตามแนวทางแพทย์ทางเลือกเพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ตลอดจนส่งเสริมให้ชุมชนอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นได้มีประสิทธิผลมากขึ้น

ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)ร่วมกับวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต ศึกษารวบรวมความหลากหลายของไผ่จืดในชุมชนตำบลกื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่  เพื่อศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมี ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพคุณค่าทางโภชนาการพร้อมแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาไผ่จืดในระดับชุมชน จากไผ่จืดทั้งต้น พัฒนาไผ่จืดพร้อมชง บรรจุซองให้มีความหลากหลายรส สีและกลิ่นสูตรชาชงสมุนไพร  ปัจจุบันทางกลุ่มสามารถแปรรูปชาไผ่จืดจำนวน 4 สูตร ดังนี้

1) สูตรหอมละมุน ไผ่จืด 50% เจียวกู่หลาน 10% ดอกลาเวนเดอร์ 10% ดอกอัญชัน 15% มะตูม 15%      2) สูตรผสมตรีผลา ไผ่จืด 50% เจียวกู่หลาน 25% ตรีผลา 15% ดอกเก็กฮวยป่า 10% 3) สูตรหอมหมื่นลี้ ไผ่จืด 50% ดอกหอมหมื่นลี้ 50%  4) สูตรผสมคาร์โมมาย ไผ่จืด 50% เจียวกู่หลาน 25% คาร์โมมาย 25%

ปัจจุบันทางกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้พัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์และสูตรของชาไผ่จืด สมุนไพรจากธรรมชาติ สู่ตลาด ทั้งหมด 6 สูตร   ได้แก่1. ใจเดิม -ผลิตจากไผ่จืด100%   2. ไกลใจ – ผลิตจากไผ่จืดและ หอมหมื่นลี้3. รัญจวน -ผลิตจากไผ่จืด อัญชัน ลาเวนเดอร์ 4.หวานใจ -ผลิตจากไผ่จืด ใบเตย หญ้าหวาน 5. จวนใจ -ผลิตจากไผ่จืด ดอกมะลิ    6. เชยชม -ผลิตจากไผ่จืดและ กุหลาบ โดยส่งขายทั่วไทยและร้านค้าเครือข่ายของBedo