สสว. ต่อยอดมาตรการ SME ปัง ตังได้คืน ปี 2 พร้อมอุดหนุนค่าใช้จ่าย SME ในสัดส่วน 50-80%

สสว. เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการ จัดเสวนา “ถอดรหัส ไขเคล็ดลับ BDS : SME ปัง ตังได้คืน ก้าวสู่ปีที่ 2” ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS ปีงบประมาณ 2566 มุ่งพัฒนา ช่วยเหลือ ผู้ประกอบการผ่านมาตรการ “SME ปัง ตังได้คืน ก้าวสู่ปีที่ 2” พร้อมอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเอสเอ็มอี แบบร่วมจ่าย (Co-payment) ในสัดส่วนร้อยละ 50-80 วงเงินสูงสุดถึง 200,000 บาทนายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายในงานเสวนา “ถอดรหัส ไขเคล็ดลับ BDS : SME ปัง ตังได้คืน ก้าวสู่ปีที่ 2” ว่า หลังจาก สสว. ได้ดำเนินมาตรการการให้ความช่วยเหลือ อุดหนุน ผู้ประกอบการ MSME ได้รับโอกาสเข้าถึงการบริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่ที่ผู้ประกอบการสามารถเลือกรับการบริการหรือพัฒนาทางธุรกิจกับผู้ให้บริการทางธุรกิจในด้านที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ BDS  หรือ “SME ปัง ตังได้คืน” ปี 2565 มาอย่างต่อเนื่องปีนี้ สสว.ดำเนินงานระยะที่ 2 ผ่านมาตรการ “SME ปัง ตังได้คืน ก้าวสู่ปีที่ 2” ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (MSME Recovery & Beyond) ปีงบประมาณ 2566 เพื่อให้ผู้ประกอบการ MSME ได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจได้เพิ่มขึ้น โดยขยายระยะเวลาการดำเนินงานปี 2565 ไปจนถึงเดือนกันยายน 2566

ผอ.สสว. กล่าวต่อไปว่า ในปีงบประมาณ 2566 สสว. มีโครงการที่น่าสนใจมากมายที่ผู้ประกอบการจะได้ใช้สิทธิ์เป็น 2 เท่าผ่านโครงการ BDS ซึ่งเพิ่มหมวดการพัฒนาเป็น 5 หมวดได้แก่ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพธุรกิจ การพัฒนาและบริหารธุรกิจ การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและตลาดและการพัฒนาสู่ตลาดต่างประเทศ ขณะนี้มีผู้ให้บริการทางธุรกิจกว่า 120 ราย และบริการที่อยู่ในระบบกว่า 200 บริการ และยังเพิ่มบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการ สามารถเลือกรับบริการเพื่อพัฒนาธุรกิจได้เอง ตามความต้องการของแต่ละธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ BDS โดย สสว. พร้อมอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนา SME แบบร่วมจ่าย (Co-payment) ในสัดส่วนร้อยละ 50-80 วงเงินสูงสุด 200,000 บาท ตามขนาดของธุรกิจ

“สสว. ขอเชิญชวนผู้ประกอบการลงทะเบียน SME One ID และสมัครเข้าร่วมโครงการ BDS เพื่อรับการช่วยเหลือบนแพลตฟอร์มนี้ได้ที่ Application SME Connext และ bds.sme.go.th เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ มีศักยภาพและเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็ง พร้อมขยายสัดส่วนมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมของ เอสเอ็มอีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศต่อไป” ผอ.สสว.กล่าวขณะที่ ขณะที่ นางสุดา ยังให้ผล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในฐานะหน่วยพันธมิตรให้บริการหรือ BDSP กล่าวถึงการจับมือกับ สสว.ว่า สถาบันฯ ได้ให้ความสนับสนุนผู้ประกอบการ เพื่อการพัฒนาตามความเชี่ยวชาญของเรา โดยเฉพาะด้านสิ่งทอ แบบครบวงจร ทั้งการจัดอบรมให้ความรู้ และด้านห้องปฏิบัติการทดสอบด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอาเซียน  เราสามารถทดสอบวัสดุสิ่งทอ สินค้าสำเร็จรูป เส้นด้าย เส้นใย สิ่งทอ เสื้อผ้า สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหารมากกว่า 500 รายการ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มาตรฐานสากล มาตรฐานโรงงาน มาตรฐานผู้ซื้อผู้ขายในประเทศและส่งออกรวมทั้งมาตรฐาน ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ฉลาก Smart Fabric ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย (Thailand Textiles Tag) ฉลาก Cool Mode ฉลากเสื้อประหยัดพลังงานเบอร์ 5 มาตรฐานผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้านความปลอดภัย (S-Mark) เป็นต้น

นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังร่วมกับ สสว. ส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS ปีงบประมาณ 2566 โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มองหาช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอุดหนุนค่าใช้จ่ายแบบร่วมจ่าย(Co-payment)ตามมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการขอรับการสนับสนุนงบประมาณออกงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านแพคเกจต่างๆ โดย MSME ภาคการผลิตรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท/ปี ภาคการค้าและภาคบริการ รายได้ไม่เกิน 300 บาท/ปี จะได้รับการอุดหนุนร่วมจ่าย 50% ส่วน ไมโครเอสเอ็มอีก ซึ่งมี รายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท และกิจการเพื่อสังคมหรือ SOCIAL ENTERPRISE (SE) ภาคการผลิต รายได้ไม่เกิน 40 ล้านบาท/ปี และภาคอื่นๆ รายได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท/ปี จะได้รับการอุดหนุนร่วมจ่าย 80%”

ด้าน ดร.อาภากร สุปัญญา รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) อีกหนึ่งหน่วยพันธมิตรให้บริการ หรือ BDSP เผยว่าในสภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหลังโควิดผ่านพ้นไป ผู้ประกอบการจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆของภาครัฐและเอกชน เพื่อเร่งให้ธุรกิจกลับมาเดินหน้าต่อได้อีกครั้ง การที่ สสว. ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมาช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ SME และวิสาหกิจรายย่อย ให้สามารถเข้าถึงงานบริการของหน่วยงานผู้ให้บริการได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงนวัตกรรมในการยกระดับสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความแตกต่าง

“สำหรับในปี 2566 วว. ได้เตรียมบริการที่สอดคล้องกับหมวดการสนับสนุนของ สสว.โดยมุ่งเน้นการให้บริการวิจัยและพัฒนาภายใต้ BCG Model เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ตามนโยบายของรัฐบาล ครอบคลุมผู้ประกอบการใน Sector ต่างๆ ที่สำคัญไม่ว่าด้านเกษตรแปรรูป อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพรและพลังงาน เป็นต้น ซึ่ง วว. เชื่อมั่นว่าการเข้าร่วมเป็น DBSP กับ สสว. ในครั้งนี้ จะสามารถสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาและยกระดับศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SME และวิสาหกิจรายย่อยได้อย่างแน่นอน” ซึ่งการดำเนินโครงการสามารถตอบโจทย์ความต้องการผู้ประกอบการอย่างแท้จริง โดย นายเชาว์ เมธาเพิ่มสุข ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท เพอร์มา คอร์ปอเรชั่น จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้ใช้บริการแฟลตฟอร์มในปี 2565 กล่าวว่า จากการเข้าร่วมโครงการของ สสว. ผ่าน BDS ทำให้เพอร์มา สามารถผลักดันผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสิ่งทอ ให้ประสบความสำเร็จอย่างมาก แม้ต้องเผชิญสถานการณ์ที่ยากลำบาก จากวิกฤติ COVID-19 แต่ก็ข้ามผ่านมาได้ เราเป็นผู้ประกอบการสิ่งทอขนาดเล็กที่มุ่งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มีนวัตกรรม จนเป็นที่รู้จักและต้องการของตลาดได้ เพราะได้รับความสนับสนุนจาก สสว. และหน่วยพันธมิตรให้บริการ โดยให้ทุนสนับสนุนเรื่องการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน ตลอดจนสินค้าสำเร็จรูป ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทออีกด้วย”

ภายในงาน ยังจัดให้มีกิจกรรมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อยกระดับมาตรฐานผู้ให้บริการทางธุรกิจ และพัฒนาระบบการให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจ (BDS) ระหว่างกัน พร้อมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน SME ปังตังได้คืน ปี 2 รวมถึงวิธีการที่ทำให้สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ได้ตามเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นด้านการตลาดอย่างเข้มข้น กระทั่งกิจกรรมที่เต็มอิ่มด้วยความรู้ และการสานต่อความร่วมมือ เพื่อพัฒนาธุรกิจ ได้จบลงด้วยความประทับใจ