สถาบันผลิตผลเกษตรฯ (KAPI) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มอบรางวัลให้ 36 ผลงาน ผู้ชนะการประกวดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Thailand Green Design Awards 2018

ตั้งเป้าให้ทุกผลงานต่อยอดในเชิงพาณิชย์ พร้อมให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ ความร่วมมือทางวิชาการ รวมทั้งการตลาด ผ่านช่องทางการออกร้านของมหาวิทยาลัย หวังให้เวทีนี้เป็นก้าวเล็กๆ ที่จะนำพาให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง        

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “การประกวดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Thailand Green Design Awards หรือ TGDA ได้จัดขึ้นมาเป็น ปีที่ 4 แล้ว ซึ่ง TGDA นับเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเชิงรุกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่จะร่วมสร้างบรรยากาศของมหาวิทยาลัยให้เป็นสังคมแห่งการสร้างสรรค์และในโครงการนี้นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัย ในการเป็นผู้นำด้านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม การออกแบบ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างผู้ประกอบการที่มีจิตสำนึกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม การมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างจิตสำนึก และแนวปฏิบัติที่ดีทางด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสู่สังคมในทุกระดับ

โดยทางมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนโครงการประกวดนี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมการวิจัยอย่างแท้จริง และไม่จบแค่เพียงการดำเนินงานวิจัยเท่านั้น โดยทางมหาวิทยาลัยจะส่งเสริมให้ผลงานที่ส่งเข้าประกวดได้เกิดการใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์ ทางมหาวิทยาลัยเองก็พร้อมที่จะให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ ความร่วมมือทางวิชาการ รวมทั้งการตลาด ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้ทุกผลงานสามารถใช้ได้จริง ทำจริง และขายได้จริง และขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลในวันนี้ ขอให้ทุกท่านช่วยกันต่อยอดในการนำแนวคิดการรักษาสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาเป็นสินค้าและนวัตกรรมไปในเชิงพาณิชย์ จนประสบความสำเร็จ สร้างเงิน สร้างรายได้ ในที่สุด”

ดร. มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์ ผู้อำนวยการสถาบันผลิตผลเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงการประกวดในปีนี้ว่า “วัตถุประสงค์หลักของการประกวด TGDA เรามุ่งหวังให้นิสิต นักศึกษา กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการทุกระดับ บริษัทเอกชน และผู้สนใจทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และร่วมสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อาหารให้มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับกลยุทธ์ของทางมหาวิทยาลัยและสถาบันฯ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่มุ่งให้ความสำคัญกับนวัตกรรมที่จะช่วยส่งเสริมความกินดีอยู่ดีของชาติและประชาชน โดยส่งเสริมการแปรรูปด้านอุตสาหกรรมเกษตรที่ไม่ใช่อาหาร ที่สามารถตอบโจทย์ความกินดีอยู่ดีของประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

โดยแนวคิดของการประกวด TGDA นั้น สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 วิสัยทัศน์เชิงนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมทุกประการ ทั้งในส่วนของเทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ มุ่งเน้น การทำน้อย ได้มาก สามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มุ่งสร้างสังคมคุณภาพ สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สถาบันฯ เองหวังว่า การประกวดนี้จะเป็นก้าวเล็กๆ ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการนำพาประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง”

ดร. มะลิวัลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในปีนี้มีผู้สนใจร่วมส่งผลงานเข้าประกวดใน 4 ประเภท รวมทั้งสิ้น 239 ผลงาน โดยแบ่งออกเป็น ประเภทประหยัดพลังงาน (Energy Saving) 27 ผลงาน, ประเภทการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Resources Efficiency) 131 ผลงาน, ประเภทที่ช่วยยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิต (Life Enhancement) 50 ผลงาน และ ประเภทสำหรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) 31 ผลงาน และในปีนี้มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดที่มีอายุน้อยที่สุด คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และนอกจากนี้ ในปีนี้ TGDA ยังมีรางวัลพิเศษในกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยเราให้ผู้ที่ชนะใน 4 ประเภทการประกวดของกลุ่มนี้ มานำเสนอเพื่อหาสุดยอดผลงานในระดับนักเรียนนักศึกษา ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัล The Best of the Best Young: TGDA2018 คือ ผลงานสำหรับสังคมผู้สูงอายุ เครื่องช่วยลุกนั่งชักโครกแบบย่นแรงสำหรับผู้สูงอายุ โดย นายอนุรักษ์ ชุมปลา นางสาวทิพย์สุดา เคนสงคราม และ นางสาวนลัทพร พลภักดี โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยา สพม.22”

ด้าน รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต ประธานกรรมการตัดสิน กล่าวถึงการพิจารณาและเกณฑ์การตัดสินการประกวดผลงานที่ส่งเข้าประกวดในปีนี้ว่า “การตัดสินปีนี้ไม่หนักใจมากเท่าไร แม้ว่าปีนี้จะมีผลงานส่งเข้าประกวดเยอะกว่าปีที่ผ่านมามาก กรรมการต้องใช้เวลาในการพิจารณาตัดสินพอสมควร เพราะมีหลายผลงานที่มีความน่าสนใจมาก อีกทั้งความเห็นของกรรมการเองก็หลากหลาย เพราะมีผลงานเข้าตากรรมการหลายชิ้น ที่น่าสนใจอีกด้านคือ ปีนี้ผลงานที่ส่งเข้าประกวดมีการนำทั้งแนวคิด ไอเดียที่สร้างสรรค์มาผสมผสานกับเทคโนโลยี นวัตกรรม ทำให้ผลงานที่ส่งเข้าประกวดเริ่มจะตอบโจทย์ของการประกวดแล้ว จึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนที่มีแนวคิดและไอเดียในเรื่องของการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลงานเข้ามาสมัครกันเยอะๆ เพราะคณะกรรมการทุกคนพร้อมและยินดีที่จะช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ไปสู่ตลาดในวงกว้าง”

ติดตามข่าวสารการประกวดในปีนี้ และการเปิดรับสมัครการประกวดในปีต่อๆ ไป ได้ที่ www.tgda.ku.ac.th หรือทาง Facebook Fanpage: https://www.facebook.com/TGDA.Thailand/

รายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลในการประกวดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Thailand Green Design Awards 2018

 

  1. 1. รางวัลผลงานประเภทประหยัดพลังงาน (Energy Saving)

กลุ่มที่ 1 นักเรียน นิสิต นักศึกษา และสถาบันการศึกษา

 

ชนะเลิศ         ผลงาน โครงการออกแบบฉากกั้นบรรเทาความร้อนโดยใช้หลักการทำงานและคุณสมบัติของน้ำ

ผู้เข้าประกวด นางสาวอิทธิยา โกตระกูล

รองชนะเลิศ    ผลงาน การพัฒนาเครื่องตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังโดยใช้พลังงานสะอาด

ผู้เข้าประกวด นางสาวชลธิชา ตาดทอง นางสาวนภัทรฌา จิตนานนท์ และ

นางสาวสุภาวดี นิติสุข

ชมเชย           ผลงาน ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกสูตรใหม่ใส่ใจโลก

ผู้เข้าประกวด นางสาวอารียา มงคลขจิต และ นางสาวปวรรัตน์ รุ่งศรี

 

 

กลุ่มที่ 2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไป

 

ชนะเลิศ         ผลงาน ระบบกระชังเลี้ยงกุ้งบำบัดน้ำเสีย รักษาสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานร่วมกับพลังงานทดแทน

ผู้เข้าประกวด นายณัฐพล พินิจจันทร์

รองชนะเลิศ    ผลงาน กระเบื้องน้ำ

ผู้เข้าประกวด นางสาวปองธิดา สันตยานนท์

ชมเชย           ผลงาน ระบบผลิตแก๊สชีวภาพแบบแห้ง รุ่น 2 (พึ่งพาตัวเอง)

ผู้เข้าประกวด ดร. พิพัฒน์ จันทร์ประดิษฐ์  และ นางสาวยาสมี เลาหสกุล

 

กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ประกอบการ และบริษัทเอกชน

 

ชนะเลิศ           ผลงาน เครื่องทำน้ำร้อนจากเครื่องปรับอากาศ PAC Frenergy

ผู้เข้าประกวด บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

รองชนะเลิศ    ผลงาน หลอดไฟ ตั๊กกี้แลมป์

ผู้เข้าประกวด บริษัท ออล อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลจีส จำกัด

ชมเชย           ผลงาน เคลือบบ้านให้กันร้อน

ผู้เข้าประกวด บริษัท อีสต์เอิธ จำกัด

 

  1. 2. รางวัลผลงานประเภทการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Resource Efficiency)

 

       กลุ่มที่ 1 นักเรียน นิสิต นักศึกษา และสถาบันการศึกษา

 

ชนะเลิศ           ผลงาน SHRIMP SHELL LAMP

ผู้เข้าประกวด นายชัยวัฒน์ เด่นเสมอวงษ์

 

รองชนะเลิศ    ผลงาน RE-Weed

ผู้เข้าประกวด นายภัทรวุธ จุลพันธ์ นายมงคล อิงคุทานนท์ และ

นายจิรทีปต์ จรครบุรี

ชมเชย           ผลงาน Grow ที่รองแก้วน้ำฝังเมล็ดผัก

ผู้เข้าประกวด นางสาวอรจิรา เสนาสุ

 

กลุ่มที่ 2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไป

 

ชนะเลิศ           ผลงาน กลับมา

ผู้เข้าประกวด นายวิทยา ชัยมงคล

 

รองชนะเลิศ    ผลงาน ผ้าไหมนวัตกรรมลายสร้างสรรค์สวรรค์บ้านนา

ผู้เข้าประกวด กลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง วิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสี

ธรรมชาติ

ชมเชย           ผลงาน ผลิตภัณฑ์กำจัดเศษผักและผลไม้โดยใช้ไส้เดือน

ผู้เข้าประกวด นางสาวพลอย ชัยพรเรืองเดช

 

กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ประกอบการ และบริษัทเอกชน

 

ชนะเลิศ         ผลงาน ซองเก่าไป แฟ้มใหม่มา

ผู้เข้าประกวด บริษัท ไทย ที อาร์ เอส (2008) จำกัด

 

รองชนะเลิศ    ผลงาน เขียงแกลบรักษ์โลก

ผู้เข้าประกวด บริษัท ฮัสค์ กรีน จำกัด

ชมเชย           ผลงาน PAPER YOU CAN WEAR

ผู้เข้าประกวด บริษัท เบสิค ดีออรี่ จำกัด

 

  1. 3. รางวัลผลงานประเภทที่ช่วยยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิต (Life Enhancement)

       กลุ่มที่ 1 นักเรียน นิสิต นักศึกษา และสถาบันการศึกษา

 

ชนะเลิศ         ผลงาน โดรนดูแลสวนมะพร้าวเพื่อคุณ

ผู้เข้าประกวด นายกฤตธัช สาทรานนท์  นายวีระชาติ ค้ำคูณ

นายวุฒิภัทร โชคอนันตทรัพย์ นายณัฐพงษ์ ฉางแก้ว และ นายชินวัตร ชินนาพันธ์

รองชนะเลิศ    ผลงาน มีดแกะหน่อไม้

ผู้เข้าประกวด นายนริน อินธิแสง และ นายคมสันต์ เขตนคร

ชมเชย           ผลงาน ระบบเพาะปลูกพืชกรองอากาศสำหรับผู้พักอาศัยในเขตเมือง

ผู้เข้าประกวด นายพณัฏฐ์ โชติกุญชร

 

กลุ่มที่ 2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไป

 

ชนะเลิศ         ผลงาน เดินเล่น

ผู้เข้าประกวด นางสาวชนัญชิดา ชาญอุไร

รองชนะเลิศ    ผลงาน โต๊ะเรียนสำหรับผู้บกพร่องด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวในระดับ

ชั้นอนุบาล

ผู้เข้าประกวด นายเกษม  มานะรุ่งวิทย์  ผศ.ดร. รัตนพล มงคลรัตนาสิทธ์

ดร. นงนุช ศศิธร นางสาวกรชนก บุญทร และ นางชลธิชา สาริกานนท์

ชมเชย           ผลงาน ทรี-อิน-วัน : จุกเปิดขวดแก้วนวัตกรรม

ผู้เข้าประกวด นางสาวอรกานต์ สายะตานันท์

 

กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ประกอบการ และบริษัทเอกชน

 

ชนะเลิศ         ผลงาน ผลิตภัณฑ์เครื่องครัวจากเปลือกข้าว

ผู้เข้าประกวด บริษัท ฮัสค์ กรีน จำกัด

 

รองชนะเลิศ    ผลงาน มาตุลี

ผู้เข้าประกวด บริษัท บารามี แลบบอราทอรีส์ จำกัด

ชมเชย            ผลงาน เตียงอาบแดดจัดเก็บในแนวตั้ง

ผู้เข้าประกวด บริษัท อุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด

 

  1. 4. รางวัลผลงานสำหรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)

 

       กลุ่มที่ 1 นักเรียน นิสิต นักศึกษา และสถาบันการศึกษา

 

ชนะเลิศ         ผลงาน เครื่องช่วยลุกนั่งชักโครกแบบย่นแรงสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้เข้าประกวด นายอนุรักษ์ ชุมปลา นางสาวทิพย์สุดา เคนสงคราม  และ

นางสาวนลัทพร พลภักดี

 

รองชนะเลิศ    ผลงาน อุปกรณ์สำหรับทอ

ผู้เข้าประกวด นายนนทพัทธ์ จินดามนต์ นางสาวสุทธิดา บรรยง

นางสาวศุภัสรา คุริรัง นางสาววณิชยา สีดามาตย์ ด.ช. เรวัต โพธินาม และ ด.ญ. ศรัญญา อุไรพันธุ์

 

ชมเชย           ผลงาน กางเกงสำหรับผู้สูงอายุชาย

ผู้เข้าประกวด นายพิสิษฐ์ สุภิสิงห์ นายพิษณุ สังข์สีเหลือบ และ นายธนพล มณีชื่น

 

กลุ่มที่ 2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไป

ชนะเลิศ           ไม่มีผู้ผ่านเกณฑ์

รองชนะเลิศ    ผลงาน ครัส

ผู้เข้าประกวด นายกาย จาตุรจินดา

ผลงาน น้ำตาลช่อดอกมะพร้าว

ผู้เข้าประกวด นายภาณุกฤษ เดชากิตตินันท์ และ นางสาวณัฐท์ธีรา งามโสภา

ชมเชย           ผลงาน ตุ๊กตาบำบัด

ผู้เข้าประกวด นางสาวนันทิยา ณ หนองคาย

 

กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ประกอบการ และบริษัทเอกชน

 

ชนะเลิศ         ผลงาน เฟรชชี่ โซป ชาวเวอร์ ชีท

ผู้เข้าประกวด บริษัท เบร คอสเมติก แลบ จำกัด

 

รองชนะเลิศ    ผลงาน จีวา ซุปเปอร์ รีไวต้าไลซ์เซอร์

ผู้เข้าประกวด บริษัท ช เนเจอร์ จำกัด

 

ชมเชย            ผลงาน ผลิตภัณฑ์จากดอกเกลือ

ผู้เข้าประกวด บริษัท ออลซีซั่น ไวท์ จำกัด