รู้หรือไม่! “มังคุด” ผลไม้แปลก มีพันธุ์เดียวในโลก!

มังคุด หนึ่งในราชินีผลไม้ที่ขึ้นชื่อของไทย เป็นทั้งผลไม้และพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง การบริโภคมังคุด มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง “กากใยจากเนื้อมังคุด” ช่วยในการขับถ่ายและให้วิตามิน เกลือแร่มากมาย ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ประโยชน์ของมังคุดมิได้มีอยู่แค่เนื้อในของมังคุดที่เราใช้เป็นอาหารเท่านั้น เมื่อได้ลิ้มรสความอร่อยของเนื้อมังคุดแล้ว อย่าทิ้งเปลือกมังคุดให้เปล่าประโยชน์เพราะเปลือกมังคุดมีสรรพคุณทางยามากมาย

เปลือกมังคุด มีสารให้รสฝาด คือ แทนนิน แซนโทน (โดยเฉพาะแมงโกสติน) แทนนิน มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้  ตำราแพทย์แผนไทยระบุว่า เปลือกมังคุดมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณจะใช้เปลือกมังคุดฝนกับน้ำปูนใสทาบริเวณแผลและน้ำต้มเปลือกมังคุดแห้งล้างแผลแทนการใช้ด่างทับทิม แล้วยังช่วยรักษาบาดแผลผุพอง แผลเน่าเปื่อย

ทั้งนี้ บางคนอาจสงสัยอยู่นานแล้วว่า ผลไม้ต่างๆ มีหลายพันธุ์ เช่น “มะม่วง” มีพันธุ์เขียวเสวย อกร่อง และน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 “ทุเรียน” ก็มีกระดุม ชะนี และก้านยาว “กระท้อน” ก็มีอีล่าและฝ้าย แต่เพราะเหตุใด มังคุดไม่มีชื่อพันธุ์เลย?

“หมอเกษตร ทองกวาว” คอลัมน์นิสต์นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้ให้คำตอบไว้ว่า

ปัจจุบัน มังคุด เป็นผลไม้ยอดนิยม ในแง่สมุนไพร เพื่อนผมท่านหนึ่งรับประทานมังคุด จะเคี้ยวเมล็ดไปด้วย บอกว่า อาการของโรค เจ็บตามข้อ หายเป็นปลิดทิ้ง ต้องพิสูจน์ใน ทางการแพทย์เพื่อเป็นการยืนยันต่อไป

“มังคุด” มีถิ่นกําเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดา และหมู่เกาะโมลุกกะ แล้วแพร่กระจายเข้าสู่ กัวเตมาลา ปานามา เอกวาดอร์ และเชื่อว่า เข้ามาในประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1

มังคุดเป็นผลไม้ชนิดที่เรียกว่าแปลกที่สุดชนิดหนึ่ง เนื่องจากผลมังคุดพัฒนามาจากฐานรองดอก มิได้พัฒนามาจากการผสมเกสรของเพศผู้และเพศเมีย ทําให้ไม่มีการกระจายตัวทางพันธุกรรมคล้ายกับวิธีการตอนกิ่ง ต้นที่ได้จากวิธีนี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกับต้นแม่ทุกประการ ด้วยเหตุนี้มังคุดจึงมีพันธุ์เดียวมาตลอด ตรงกันข้ามกับพืชที่ผลหรือเมล็ดเกิดจากการผสมเกสรระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย

flickr.com/Ahmad Fuad Morad

ตัวอย่าง “ข้าว” เป็นพืชผสมตัวเอง มีเกสรเพศผู้และเพศเมียในดอกเดียวกัน แม้มีเปลือกหุ้มเมล็ดค่อนข้างมิดชิดก็ตาม แต่โอกาสการผสมข้ามยังเกิดขึ้นได้ 1-4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแมลงช่วย ในการผสมเกสร

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ “ข้าวโพด” เป็นพืชผสมข้าม เนื่องจากเกสรเพศผู้อยู่ส่วนยอดของลําต้น แต่เกสรเพศเมียหรือฝัก อยู่ต่ำลงมาไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร การผสม ข้ามต้นจึงเกิดขึ้นได้ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าข้าว

ในกรณีที่ผิวสีและขนาดของผลมังคุดนั้นเกิดจากสภาพแวดล้อมและการดูแลของผู้ปลูก แต่เนื้อแท้หรือพันธุกรรมนั้นไม่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย มังคุด จึงมีเพียงพันธุ์เดียวในโลก