การผลิต “มะนาวนอกฤดู” ยังสร้างรายได้ดีแก่ชาวสวนมะนาว (ตอนจบ)

ขั้นตอนการผลิตมะนาวฤดูแล้ง

ช่วงสะสมอาหาร เป็นช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ทางดินสะสมอาหารและสร้างตาดอกด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 ทางใบ

“สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. 081-886-7398 จะฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบและดูแลใบมะนาว ช่วงการสะสมเป็นช่วงฤดูฝน หัวใจสำคัญคือ การควบคุมมิให้มะนาวแตกใบอ่อน ซึ่งเป็นเรื่องยากสุดของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว ถ้าทำให้ใบนิ่งได้อย่างน้อย 2 เดือน ดังนั้น ในช่วงสะสมอาหารควรใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร 8-24-24 ทางใบให้ธาตุอาหารเสริม ฮอร์โมน ปุ๋ยเหลว ที่มีตัวกลางและตัวท้ายสูง เช่น 5-20-25 หากฝนชุกมากควรฉีดด้วยปุ๋ยเกล็ด 0-52-34 หรือบางครั้งอาจใช้สารแพคโคลบิวทราโซล ฉีดพ่นทางใบ อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยยับยั้งไม่ให้เกิดใบอ่อนได้

ใส่กระสอบรวมเบอร์ ก่อนนำไปคัดด้วยเครื่องคัดที่ท่ารับซื้อ

หลักสำคัญของการทำมะนาวนอกฤดู ทางสวนให้ความสำคัญเรื่องความสมบูรณ์อย่างเต็มที่ การควบคุมไม่ให้ใบเป็นแคงเกอร์ ถ้าสะสมมาเต็มที่การออกดอกจะง่ายขึ้น ทางสวนไม่เน้นวิธีการอดน้ำเนื่องจากมีฝนตกชุกมาก ฝนไม่ขาดช่วง จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยและฮอร์โมนบางชนิดบังคับแทน

รักษาผิวมะนาวให้สวย ต้องระวัง “เพลี้ยไฟ” กับ “ไรสนิม” โดยเฉพาะหมดฝนต้องฉีดยาป้องกันไรสนิมเลย อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง สารเคมีที่ใช้ดีสำหรับไรสนิมคือ สาร “ไพริดาเบน” แล้วมันจะอยู่ มันจะทำลายลูกมะนาวทุกระยะ จนถึงมะนาวแก่ก็ทำลายลูกดำหมด กลายเป็นมะนาวตกเกรดเลย จาก 3 บาท ราคาจะเหลือ 1 บาททันที ส่วน โอเบรอนมันแก้ไรแดงเพียงอย่างเดียว แต่ไพริดาเบนมันคุมฆ่าไรได้ค่อนข้างดี

ทางใบ จะยืนพื้นสูตรฉีดสะสมอาหารทางใบด้วยปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 ร่วมกับเทรนเนอร์ เป็นหลัก จากนั้นจะบวกด้วยฮอร์โมนและอาหารเสริมสลับกันไปในแต่ละรอบของการฉีดพ่นสารเคมี เฉลี่ยจะฉีดพ่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ดังต่อไปนี้

มะนาวที่จะทยอยเก็บขายได้ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

ครั้งที่ 1

สารสาหร่ายสกัด อัตรา 40 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 150 กรัม

ครั้งที่ 2 สารแคลเซียมโบรอนอี อัตรา 40 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34

อัตรา 150 กรัม

ครั้งที่ 3

สารสังกะสี คีเลท อัตรา 40 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 150 กรัม

ครั้งที่ 4

สารโปรดั๊กทีฟ อัตรา 10 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 150 กรัม

ลักษณะการติดผลอ่อนของมะนาวพันธุ์แป้นดกพิเศษ

ฉีดพ่นสลับกันไปทุกๆ 7 วัน ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง อัตราผสม ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)

สูตรดังกล่าว จะฉีดช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน จนใบมะนาวจะเริ่มแก่จัด หรือ “แก่ก้าน” มีใบลักษณะสีเขียวเข้ม จับใบดูจะกรอบ แสดงว่าต้นมะนาวมีความพร้อมที่จะเปิดตาดอก ช่วง 2 เดือนนี้เกษตรกรต้องดูต้นมะนาวของเราอย่าให้แตกใบอ่อนออกมา เราต้องพยายามบังคับให้ไปแตกใบอ่อนพร้อมดอกหรือเปิดตาดอกในเดือนตุลาคมเท่านั้น ถ้ามีฝนชุกหรือต้นมะนาวดูงามเกินไป จะต้องเพิ่มอัตราปุ๋ย 0-52-34 เข้าไปอีก จาก 150 กรัม เป็น 200 กรัม เพื่อช่วยให้ต้นมะนาวแตกใบอ่อนออกมาก่อนกำหนดที่เราต้องการ

วิธีการใช้สารแพคโคลบิวทราโซล

การออกดอกของมะนาวแป้นดกพิเศษหลังการฉีดปุ๋ยเปิดตาดอก

วัตถุประสงค์ของการใช้สารแพคโคลบิวทราโซล คือการควบคุมไม่ให้มะนาวแตกใบอ่อน ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคม จะเป็นช่วงที่เกษตรกรเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นและเร่งการแตกใบอ่อนของต้นมะนาวให้ออกอย่างน้อย 2-3 ชุด เมื่อใบอ่อนรุ่นสุดท้ายเป็นระยะเพสลาดหรือใบเริ่มจะแก่แล้ว ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมจะฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซลควบคุมไม่ให้เกิดการแตกใบอ่อนออกมาอีก จะเลือกใช้สารแพคโคลบิวทราโซลที่ความเข้มข้น 15% (เช่น แพนเทียม 15%) อัตราที่แนะนำใช้ประมาณ 100-150 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) และเติมสารจับใบ ฉีดพ่นประมาณ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน แต่ในกรณีที่ฝนตกชุก ก็จะฉีดให้ถี่ขึ้นตามความเหมาะสม

ช่วงต้นเดือนตุลาคม ใบมะนาวจะมีความพร้อม ใบเขียวเข้มจับดูจะกรอบ แสดงว่ามีความพร้อมที่จะ “เปิดตาดอก” ได้แล้ว สูตรสารเคมีในการเปิดตาดอกก็จะคล้ายเดิม แต่จะเพิ่มในเรื่องของอัตราของสารที่ใช้มากขึ้น

ครั้งที่ 1

สารสาหร่ายสกัด อัตรา 50 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 20 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 10-52-17 อัตรา 150 กรัม

ครั้งที่ 2

สารแคลเซียมโบรอนอี อัตรา 50 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 20 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 10-52-17 อัตรา 150 กรัม

ครั้งที่ 3

สารสังกะสี คีเลท อัตรา 50 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 20 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 10-52-17 อัตรา 150 กรัม

ครั้งที่ 4

สารโปรดั๊กทีฟ อัตรา 20 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 20 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 10-52-17 อัตรา 150 กรัม

มะนาวแป้นดกพิเศษที่ผลิตออกนอกฤดูได้ราคาดีทุกปี

ฉีดพ่นวนสลับกันไปทุกๆ 7 วัน ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง อัตราผสม ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)ในกรณีที่ฝนตกชุก ให้เปลี่ยนปุ๋ยเกล็ด จาก 10-52-17 เป็น 0-52-34 โดยใช้อัตราเดียวกันและเสริมด้วยการผสมฮอร์โมน NAA (เช่น บิ๊กเอ) เข้าไปบ้างทุกครั้งที่ฉีดพ่นสารเคมีตัวฮอร์โมนจะช่วยให้การติดผลดีขึ้น ติดผลดก

ช่วงปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน มะนาวจะเริ่มทยอยกันออกดอก กรณีฉีดพ่นปุ๋ยทางใบยังคงใช้สูตรเดิมแต่จะต้องลดอัตราการใช้ลงต่ำกว่าปกติ สูตรดังกล่าวจะใช้ตั้งแต่ออกดอกติดผลขนาดเท่าเมล็ดถั่วลิสง

ครั้งที่ 1

สารสาหร่ายสกัด อัตรา 30 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม

ครั้งที่ 2

สารแคลเซียมโบรอนอี อัตรา 30 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม

ครั้งที่ 3

สารสังกะสี คีเลท อัตรา 30 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม

ครั้งที่ 4

สารโปรดั๊กทีฟ อัตรา 10 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม

ฉีดพ่นวนสลับกันไปทุกๆ 7 วัน ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง อัตราผสมต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)

มะนาวแป้นดกพิเศษทำออกนอกฤดูง่ายในวงบ่อซีเมนต์

การเปิดตลาดของมะนาว ถ้าหากจะเก็บเกี่ยวมะนาวในช่วงฤดูแล้ง ควรให้มะนาวออกดอกตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม-พฤศจิกายน จะขายมะนาวได้ราคาแพง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม-เมษายน เป็นช่วงที่มะนาวมีราคาแพง โดยทั่วไปที่สวนจะสังเกตว่ามะนาวมีตาดอกชัดเจนหรือยัง สังเกตจากสภาพใบจะเขียวเข้ม ตายอดจะบวมเบ่ง หรือเริ่มมีดอกประปราย จึงกระตุ้นตาดอก โดยใช้สารเปิดตาดอกหลายตัวร่วมกันฉีดแบบต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้มะนาวออกดอกสม่ำเสมอ สารเปิดตาดอกต้องระวังอย่าให้มีพวกปุ๋ยไนโตรเจนผสมลงไป เพราะจะเกิดตาใบแทนตาดอก เนื่องจากมีฝนตกชุก ถ้าสะสมมาดีการออกดอกจะง่าย ส่วนมากชาวสวนจะพบปัญหากระตุ้นเปิดตาดอก จะเป็นตาใบเสียส่วนใหญ่ หรือใบนิ่งไม่ออกดอก ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากความสมบูรณ์ไม่พอ หรือสะสมอาหารไม่เต็มที่นั่นเอง

ข้อควรระวัง ในการใช้สารเคมีและฮอร์โมนต่างๆ

 ในช่วงที่มะนาวออกดอก

หลีกเลี่ยงการใช้สารฆ่าแมลงที่มีส่วนของน้ำมันและยาร้อน เนื่องจากจะทำให้ดอกมะนาวแห้งและร่วง  ช่วงที่มะนาวออกดอก ดอกเริ่มบาน ต้องระวังเรื่องของโรคเชื้อราเป็นพิเศษ จะเป็นกลุ่มเชื้อราที่เข้าทำลายขั้วดอกและทำให้ดอกหลุดร่วง เชื้อราที่ใช้ดีที่สุดในปัจจุบันนี้ คือ สารฟลิ้นท์-แอนทราโคล เทคนิคดูแลช่วงออกดอกติดผล ช่วงออกดอกในช่วงที่ดอกมะนาวเริ่มเป็นเม็ดทราย (ตุ่มตาดอก) ควรฉีดด้วยฮอร์โมน อาหารเสริม เพื่อขยายรังไข่ให้การติดผลดก ช่วงดอกบานระวังเชื้อรา ในช่วงฝนชุก ช่วงนี้ต้องระวังเพลี้ยไฟ ทางสวนใช้สูตรยาฆ่าแมลงหลายตัวสลับการดื้อยา จนขึ้นเมล็ด ช่วงขึ้นเมล็ดเล็กระวังการร่วงผลอ่อน (หักคอม้า) หากติดผลใหญ่แล้ว ไม่ค่อยต้องการดูแลมากนัก เร่งน้ำและปุ๋ยทางดินเพื่อให้ผลใหญ่ ขายได้ราคาดี

ช่วงติดผลอ่อน ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

ระยะเลี้ยงผล การฉีดพ่นทางใบ ใช้สูตรในการขยายผลมะนาวให้โตขึ้น โดยใช้ฮอร์โมนกลุ่มจิบเบอเรลลิน (เช่น จิบทรี) อัตราที่ใช้ ประมาณ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน ต่อครั้ง ผสมไปพร้อมกับการฉีดสารปราบศัตรูพืช ปุ๋ยทางดิน จะให้ปุ๋ยสูตร 19-19-19 หรือ 32-10-10 จากสูตรการทำมะนาวนอกฤดูของ คุณมานิด อาจจะเป็นแนวทางให้แก่เกษตรกรมือใหม่ หรือที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ อาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมด้วยในสภาพของการปลูก สภาพดิน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันอาจจะเป็นตัวกำหนดในการประสบความสำเร็จของการทำมะนาวเช่นกัน

สวนคุณลี ขอฝากไว้ว่า การทำมะนาวนอกฤดู ที่ผ่านมาเกษตรกรมักจะพลาดในเรื่องไม่กล้าลงทุน พอช่วงมะนาวราคาถูกก็จะห่างการดูแลและบำรุงรักษา มะนาวเป็นพืชที่ห่างปุ๋ยห่างยาเมื่อไร มีการบำรุงไม่ถึงกับความต้องการของต้นมะนาวในช่วงสะสมอาหาร ต้นมะนาวขาดความสมบูรณ์ โอกาสประสบความสำเร็จก็จะน้อยตามด้วยเช่นกัน