ความเข้าใจผิดในการใช้ “สารเคมี” ของเกษตรกร…ที่แก้ผิดจุดและยิ่งใช้ยิ่งไม่ได้ผล!

ความปลอดภัยของผู้บริโภค ขึ้นอยู่กับเกษตรกรซึ่งถือว่าเป็นต้นน้ำแห่งความปลอดภัย เกษตรกรจะต้องมีจรรยาบรรณในการใช้สารเคมี จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้อย่างเคร่งครัด คือปฏิบัติตามฉลากที่ติดไว้บนภาชนะบรรจุ เมื่อพ่นสารไปแล้วจะต้องทิ้งช่วงระยะเวลาก่อนการเก็บเกี่ยวตามที่แนะนำในฉลาก ผู้บริโภคก็จะปลอดภัยในอันดับแรก

ผศ.ขยัน สุวรรณ ภาควิชาอารักขาพืช อดีตหัวหน้าโครงการคลินิกพืช มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้คำแนะนำกับเกษตรกรก่อนจะตัดสินใจพ่นสารกําจัดแมลงว่า ขอให้มีการสํารวจตรวจสอบก่อนว่ามีแมลงอะไรมาก น้อยแค่ไหน อย่างไร

เพราะส่วนใหญ่ยังคงใช้ วิธีเดิมๆ คือพ่นสารเคมีตามตารางที่กําหนดไว้ เช่น ทุก 2-3 วัน หรือทุกๆ 5-7 วัน ทั้งๆ ที่ไม่มีความจําเป็นต้องทําอย่างนั้นเลย เพราะไม่มีแมลงหรือมีก็ไม่มากพอที่จะทําความเสีย หายได้มากมาย สําหรับแมลงตัวเล็กๆ เกษตรกรควรมีอุปกรณ์ช่วยคือ แว่นขยายแบบมือถือ (hand lends) สําหรับเอาไว้สํารวจดูแมลงตัวเล็กๆ เช่น เพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟพริกในมะม่วง

การใช้สารกําจัดแมลงของเกษตรกรใน ปัจจุบันนับว่าน่าเป็นห่วงมากกว่าเดิม เพราะจากกระแสของการปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่มีการฉีดพ่นสารกําจัดแมลงนั้น กลายเป็นดาบสองคม เพราะนักวิชาการที่เกี่ยวข้องอาจปล่อยปละละเลยความรู้เรื่องสารเคมีและวิธีการใช้ที่ถูกต้อง

ในขณะที่ตัวเกษตรกรยังมีความจําเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะช่วงที่จะมีการระบาดรุนแรงก็เลยมีการใช้แบบผิดๆ ใช้แบบ คิดเองทําเอง เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยขาดการให้คําปรึกษาแนะนําจากนักวิชาการที่ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง

ทีมงานโครงการคลินิกพืชแม่โจ้ ได้พบเกษตรกรคนหนึ่งกําลังฉีด พ่นสารกําจัดแมลงในแปลงถั่วเหลืองที่มีสภาพการเจริญเติบโตดีมาก สังเกตจากสีเขียวขจีเป็นผืนพรม ทีมงานจึงสํารวจพบว่า มีแมลงศัตรูพืชเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่พบศัตรูธรรมชาติเป็นจํานวนมาก อาทิ ด้วง เต่าหลายชนิด ตั๊กแตนตําข้าว และแมลงที่ไม่สําคัญอะไรมากมาย

เมื่อถามเกษตรกรผู้นั้นว่า ทําไมต้องพ่นสารกําจัดแมลง เขาบอกว่า มีแมลงพวกนี้มากมาย ต้องรีบฉีดพ่นสารกําจัดแมลงเสียก่อนที่จะกัดกินถั่วเหลืองเสียหาย เราจึง ให้ความรู้ว่าแมลงเหล่านั้นไม่ใช่ศัตรูพืช หากแต่เป็นศัตรูธรรมชาติที่คอยควบคุมทําลายแมลงศัตรูพืชจึงถือว่าเป็นแมลงที่มีประโยชน์ เมื่อเขาได้ทราบแล้ว เกษตรกรผู้นี้รีบวางถัง พ่นสารกําจัดแมลงลง แล้วบอกว่าผมเพิ่งรู้ และจะไม่พ่นอีกแล้ว”

ปัญหาของพืชหลายชนิดไม่ใช่แมลง ไม่ใช่โรคพืช แต่กลับเป็นวัชพืช

อย่างเช่นกรณีแปลงถั่วเหลืองของเกษตรกร ซึ่งโดยทั่วไปพบว่า วัชพืชเป็นปัญหาใหญ่ที่ทําให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 50% ฉะนั้น บางครั้งถ้าไม่จําเป็น เกษตรกรก็ไม่จําเป็นต้องฉีดพ่นสารกําจัดโรคและแมลง หรืออย่างน้อยที่สุดก็น่าจะต้องมีการสุ่มสํารวจก่อนตัดสินใจฉีดพ่นสารกําจัดแมลง

อีกกรณีหนึ่งคือ ทีมงานฯ ได้พบเห็นเกษตรกรผู้ปลูกมะระจีน แถวอําเภอแม่ริม กําลังฉีดพ่นสารฆ่าแมลงจนใบโชกไปด้วยน้ำยาและหยดติ๋งๆ เหมือนการอาบน้ำพืช หวังกําจัดแมลงศัตรูเป้าหมาย คือเพลี้ยจักจั่น ที่ดูดน้ำเลี้ยงบริเวณใบ แต่กลับไม่ได้ผล เพราะยังพบแมลงเรื่อยๆ ถึงแม้จะฉีดพ่นบ่อยๆ ทั้งที่เขาใช้สารเคมีที่สมาคมกีฏวิทยาและสัตววิทยาแนะนําให้ใช้กับแมลงชนิดนี้ (ฟิโปรนิล fipronil)

ผศ.ขยัน จึงแนะนําว่า การพ่นสารเคมีจนใบพืชเปียกโชกจนน้ำยาไหลบ่า (Runoff) หยดติ๋งๆ นั้น เป็นวิธีการที่ผิด เพราะโอกาสที่น้ำยาจะซึมซาบ (penetration) เข้าสู่ใบพืชหรือเคลือบใบพืชนั้นมีน้อยมาก โดยที่น้ำยาจะไหลมารวมกันที่ปลายใบ และหยดลงสู่พื้นดินหมด ดังนั้น จึงควรฉีดพ่นน้ำยาให้เป็นละอองฝอย เคลือบใบพืชแต่เพียงเบาบบางเท่านั้น อย่าให้หยดติ๋งๆ ลงดิน

นอกจากนี้ เพื่อให้เพิ่มขีดความสามารถในการซึมซาบและเคลือบใบพืช ให้ใช้หัวฉีดชนิดที่ใช้พ่นกําจัดแมลง (แบบกรวย) ที่มีข้องอ และพลิกข้อมือไปมาระหว่างฉีดพ่นเพื่อให้ละอองสาร (droplet) กระจายเข้าสู่ทรงพุ่มของพืชได้ดี เพราะแมลงปากดูดทั้งหลายมักชอบหลบอาศัยอยู่ตามใต้ใบพืชเสียมากกว่า ด้วยเหตุผลทางสรีระของพืชและสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งเมื่อได้ปฏิบัติ ตามคําแนะนําก็พบว่าได้ผลดีขึ้นจริง

ผศ.ขยัน เล่าให้ฟังว่า ได้ ทดลองปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองแบบ สดๆ ในพื้นที่ประมาณ 6×5 ตารางเมตร มีพืช ผักต่างๆ ที่ปลูกคละกันไปแบบผสมผสานมาก กว่า 20 ชนิด ด้วยเหตุผลทางด้านการบริหาร จัดการศัตรูพืชที่มีความหลากหลายของชนิด พืชและแมลง อันจะเป็นการเกื้อกูลกันได้อย่าง ลงตัว ลดปัญหาการเข้าทําลายของศัตรูพืช มีทั้งแตงร้าน มะเขือเปราะ มะเขือเจ้าพระยา มะเขือขาวแม่โจ้พริก ผักชีฝรั่ง ผักชี มะเขือเทศ ชะพลู พืชสมุนไพรที่รับประทานได้ ผักไผ่ ใบ บัวบก ผักกาดกวางตุ้ง ผักฮ่องเต้ คะน้า กะเพรา โหระพา ขึ้นฉ่าย และอื่นๆ สารพัด เก็บรับ ประทานได้ทั้งปี

พืชชนิดไหนควรห่อก็ต้องห่อ ชนิดไหนควรตัดแต่งก็ต้องทํา การคลุมดินด้วยเศษหญ้าแห้ง ใบจามจุรี หรือฟางข้าว เป็นสิ่งสําคัญพอๆ กับการใส่ปุ๋ยคอก ผสมผสานไปกับปุ๋ยเคมีเมื่อจําเป็น (บางครั้งสารเคมีก็มีความจําเป็นแต่ต้องใช้เมื่อจําเป็นจริงๆ และใช้อย่างถูกต้องอย่างระมัดระวัง)

ยกตัวอย่าง ในสวนครัวจะพบมดคันไฟตัวเล็กๆ เป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะในพื้นดิน และตามต้นพืช เช่น ต้นพริก มะเขือ เมื่อพบมดก็จะพบแมลงศัตรูพวกเพลี้ยแป้งมากมาย เพราะมดจะเป็นตัวทําให้พวกเพลี้ยแป้งแพร่กระจายได้ดี การใช้สารเคมีที่ปลอดภัยสูง เช่น คาร์บาริล ผสมน้ําในบัวรดน้ำแล้วราดลงดินก็ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ดี

พืชพวกมะเขือมักมีปัญหาเรื่องแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ ตลอดจนหนอนเจาะผล การตัดแต่งกิ่งก็เป็นเรื่องสําคัญยิ่ง โดยเฉพาะหนอนเจาะผล ให้สังเกตดูอาการยอดเหี่ยว ถ้าพบเห็นก็รีบตัดยอดทิ้งเผาทําลายเสีย

เพลี้ยแป้ง

 

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อวันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2562