ที่มา | เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ |
---|---|
เผยแพร่ |
มะม่วง เป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย สําหรับภาคกลางนิยมปลูกในจังหวัดราชบุรี นครปฐม อ่างทอง และสุพรรณบุรี ปัจจุบันการส่งเสริมการปลูกมะม่วงในเชิงธุรกิจนั้น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก สวนมะม่วงของผู้ที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวจะมีใบ GAP รับรองความปลอดภัยของสินค้าเกษตร มะม่วงที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย มันเดือนเก้า และโชคอนันต์ โดยเฉพาะมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ผู้ปลูกเป็นอย่างดี สร้างรายได้ปีละหลายแสนบาท
คุณสุนทร สมาธิมงคล ได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อลดต้นทุนการผลิตในการซื้อปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกัน กําจัดศัตรูพืช สําหรับสวนมะม่วง ดังนี้
การปลูกมะม่วง
คุณสุนทร เล่าว่า ตนเองนั้นได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านทําปุ๋ย หมักโดยผสมกับน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ เพื่อทดแทนการใช้ ปุ๋ยเคมีในสวนมะม่วง ซึ่งจะใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุมก่อนปลูก ประมาณ 200 กรัม เมื่อนํากิ่งพันธุ์ปลูกแล้วรดน้ำทันที จากนั้นให้รดน้ำประมาณ 4-5 วัน ต่อครั้ง
โดยการทําปุ๋ยหมักจะใช้น้ำหมักจากผลไม้มาผสมด้วยเพื่อเร่งการย่อย สลายวัตถุดิบให้เป็นปุ๋ยหมักได้เร็วยิ่งขึ้น (สูตรการทําปุ๋ยหมักและการทําน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้อยู่ด้านล่าง)
การดูแลรักษา
มะม่วงอายุประมาณ 6 เดือน มะม่วงจะเริ่มแตกใบอ่อน ซึ่งในช่วงนี้เองพวกศัตรูพืชต่างๆ เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยแป้ง จะเข้าไปวางไข่ที่ยอดอ่อนของมะม่วง เพื่อเจริญเติบโตเป็นหนอนกัดกินยอดอ่อน ทําให้มะม่วงเสียหาย คุณสุนทร จึงใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทําสมุนไพรเพื่อไล่แมลง ทุกๆ 7 วัน ฉีดพ่นประมาณ 3 ครั้ง แมลงจะไม่มารบกวนหรือหากยังมีแมลงรบกวนสามารถฉีดพ่นได้อีก
มะม่วงอายุประมาณ 1 ปี การดูแลจํากัดวัชพืชไม่ให้มาคลุมลําต้นซึ่งจะแย่งอาหารของต้นมะม่วงนั้น จะทําฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนจากแกนต้นกล้วย น้ำหมักชีวภาพจากสับปะรด แคลเซียมจากเปลือกไข่ แคลเซียม จากน้ำหมักชีวภาพจากปลา อย่างละ 1 ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร รดโคนต้นทุกๆ 10-15 วัน ทําให้ วัชพืชตายและเป็นการบํารุงดินให้กับต้นมะม่วงอีกด้วย โดยมีรายละเอียดการทําสมุนไพรเพื่อไล่แมลงและ
จากการสัมภาษณ์ คุณสุนทร ในการลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรสําหรับการปลูกมะม่วง ทราบว่าได้ศึกษาดูงานการทํามะม่วงส่งออกในพื้นที่อําเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และได้ทดลอง ทําในพื้นที่ของตนเอง โดยนําสารชีวภาพไปใช้ในการปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และสามารถลดต้นทุนได้มาก
เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมี คือ หากใช้สารเคมีในการปลูกมะม่วงต้นทุน เฉลี่ยไร่ละ 7,500 บาท แต่ใช้สารชีวภาพต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 4,500 บาท ต่อไร่ อีกทั้งการใช้สารชีวภาพทําให้ สุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวดีขึ้นด้วย ส่วนผลผลิตนั้นพ่อค้าจะมารับซื้อที่สวน โดยขายกิโลกรัมละ 80 บาท
การทําปุ๋ยหมัก
วัสดุอุปกรณ์
1. มูลวัว 25 กิโลกรัม
2. แกลบดํา 25 กิโลกรัม
3. รําหยาบ 25 กิโลกรัม
4. แกลบดิบ 25 กิโลกรัม
5. ขุยมะพร้าว หรือขี้เลื่อย 25 กิโลกรัม
วิธีทํา
นําส่วนประกอบต่างๆ มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันนำน้ำหมักจากผลไม้ เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก อย่างละ 10 ลิตร ราดลงบนกองปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง อย่าให้กองปุ๋ยหมักแฉะหรือแห้งจนเกินไป สังเกตโดยการกําปุ๋ยหมักแล้วปล่อย หากปุ๋ยหมักที่กําอยู่ไม่แตกแสดงว่าความชื้นพอเหมาะ จากนั้นตักใส่กระสอบวางเรียงในที่ ร่มไม่ให้โดนแสงแดด ประมาณ 1 เดือน สามารถนําไปใช้ได้
การทําฮอร์โมนไปกระตุ้นตาดอก
วัสดุอุปกรณ์
1. ไข่ไก่ 200 กิโลกรัม
2. แป้งข้าวหมาก 2 ลูก
3. นมเปรี้ยว (ยาคูลท์) 2 ขวด
4. นมสด 20 ลิตร
5. กากน้ำตาล 1 ลิตร
6. น้ำมะพร้าวอ่อน (ถ้ามี) 5 ลิตร
7. ถังพลาสติกทึบแสง ขนาด 50 ลิตร 1 ใบ
วิธีทำ
นําไข่มาทุบแล้วแยกเปลือกออก นําไปใส่ภาชนะ จากนั้นน้ำกากน้ำตาล นมสด แป้งข้าวหมาก และ ยาคูลท์มาผสมรวมกัน น้ำเปลือกไข่มาบตแล้วใส่ลงไปนําน้ำมะพร้าวอ่อนใส่ลงไปหมักทิ้งไว้ประมาณ 20 วัน
วิธีการใช้
1. พืชผัก-ไม้ประดับ ใชฉีดพ่นในอัตราส่วน 100-150 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน
2. ไม้ผล-นาข้าว ใช้ฉีดพ่นในอัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตรตพ่นทุกๆ 7 วัน
3. มะม่วง นําไปรดโคนต้น ในอัตราส่วน 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
การทำแคลเซียมจากเปลือกไข่
วัสดุอุปกรณ์
1. เปลือกไข่ 10-15 กิโลกรัม
2. น้ำชาวข้าว 30 ลิตร
3. นมจืด 1 ลิตร
4. ถังพลาสติกทึบแสง ขนาด 100 ลิตร 1 ใบ
วิธีทํา
น้ำนมจืดมาผสมกับน้ำซาวข้าวทิ้งไว้ประมาณ 3 คืน นําเปลือกไข่มาล้างฝั่งแดดให้แห้ง จากนั้นนําส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงไปในถัง หมักทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน สามารถนําไปใช้ได้นําไปรดโคนไม้ผล ในอัตราส่วน 1 ลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร รดทุกๆ 15 วัน เพื่อช่วยให้ต้น ราก ใบ แข็งแรง
การทําน้ำหมักชีวภาพจากปลา
วัสดุอุปกรณ์
1. เศษปลา ขี้ปลา หัวปลา 30 กิโลกรัม
2. กากน้ำตาล 10 ลิตร
3. น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร
4. น้ำเปล่า 15 ลิตร
5. ถังพลาสติกทึบแสง ขนาด 100 ลิตร 1 ใบ
วิธีทํา
นําเศษปลามาใส่ในถังตามตัวยกากน้ำตาลคนให้เข้ากัน ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน เปิดฝาคนอีกครั้ง จนกว่าจะไม่มีกลิ่นเหม็น (ประมาณ 45 วัน) จากนั้นให้หมักทิ้งไว้ประมาณ 3 เดือน สามารถนําไปใช้ได้ ใช้กับไม้ผลในอัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 50 ลิตร รดโคนต้นทุกๆ 15 วัน จะช่วยให้ลําต้นแข็งแรง
การทําน้ำหมักชีวภาพจากต้นกล้วย
วัสดุอุปกรณ์
1. ใส้กล้วย (แกนกล้วย) ที่ตัดเครือแล้ว 3 กิโลกรัม
2. น้ำซาวข้าว 10 กิโลกรัม
3. น้ำหมักจากเปลือกสับปะรด 1 ลิตร
4. กากน้ำตาล 1 ลิตร
5. ถังพลาสติกทึบแสง ขนาด 20 ลิตร
วิธีทํา
นําไส้กล้วย (แกนกล้วย) มาสับ หรือโขลกให้ละเอียด นําน้ำชาวข้าว น้ำหมักชีวภาพจากสับปะรด และกากน้ำตาล เทใส่ลงไปในถังคนให้เข้ากัน ปิดฝาหมักทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน (คนทุกๆ 2-3 วัน) สามารถนําไปใช้ได้
วิธีใช้
1. พืชผัก ใช้ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน
2. ไม้ผล ใช้ในอัตรา 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 15 วัน
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562