พันธุ์มะม่วงในเมืองไทยมีทั้งเก่าทั้งใหม่ เป็นความหลากหลายทางพันธุกรรมที่มีคุณค่าควรรักษา

มะม่วงอาปิง ปลูกที่เชียงใหม่

ยุคแรกๆมีการขยายพันธุ์มะม่วงโดยการเพาะเมล็ด ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ใหม่ขึ้นมามากมาย มาระยะหลังๆส่วนใหญ่ ขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่งและเสียบยอด เพื่อให้ผลผลิตตรงตามพันธุ์

ในบรรดาพันธุ์ไม้ผลที่มีอยู่ มะม่วงถือว่ามีพันธุ์หลากหลาย

มีผู้บันทึกชื่อและลักษณะพันธุ์มะม่วงไว้ไม่น้อย

ขอแบ่งพันธุ์มะม่วง โดยอาศัยเรื่องของเวลา ที่มา ประเภท และความนิยม ได้แก่ พันธุ์มะม่วงปี 2427,พันธุ์มะม่วงที่รวบรวมข้อมูลโดยกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร,พันธุ์มะม่วงที่แบ่งตามประเภทของการกิน,พันธุ์มะม่วงต่างประเทศ,พันธุ์มะม่วงออกผลทะวาย และพันธุ์มะม่วงยอดนิยม

รายชื่อของพันธุ์มะม่วง อาจจะมีพ้องกันหรือตรงกันบ้าง เพราะผู้ปลูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วมาตั้งชื่อเอง พร้อมกับบอกว่า ผสมและคัดเลือกพันธุ์เอง เช่นนำเข้ามาปลูกที่นครราชสีมาได้ชื่อหนึ่ง ปลูกที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ได้อีกชื่อหนึ่ง ปลูกที่เชียงใหม่ ได้ชื่อที่แตกต่างออกไป

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในงานวันมะม่วงและของดีแปดริ้ว

พันธุ์มะม่วงเมื่อปี 2427

 

พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ได้บรรยายชื่อพันธุ์มะม่วงเป็นกาพย์ยานี 11 เมื่อปี พ.ศ.2427 ไว้ดังนี้

 

จักกล่าวพรรณมะม่วง        ท่านทั้งปวงจงรู้ความ

มะม่วงเมืองสยาม              จะนับนามเอนกนัก

จะจัดที่จำได้                      พอคนไทยแจ้งประจักษ์

มีหลากโดยเลสลักษณ        ประเภทพรรคอัมพาผล

พิมเสนมีดาดื่น                   เปนภาคพื้นทุกตำบล

รู้จักแทบทุกคน                   ยังประดนพิมเสนมัน

หมอนทอง อกร่องรส           หวานปรากฏรสสวรรค์

แมวเซามีสองพรรณ              แมวเซาขาว แมวเซาดำ

พรวนขออีกพรวนควาย        แก้วๆกลายมีประจำ

ควันเทียนแลทองดำ             มลิอ่อง ทองปลายแขน

น้ำตาลปากกระบอก            ขานนามออกทุกดินแดน

มะม่วงนายขุนแผน               ปลูกเมื่อทัพกลับคืนมา

การเกดอีกไข่ไก่                    ทุเรียนใหญ่ สังขยา

ลิงโลด มลิลา                         แก้วลืมรัง หนังกลางวัน

กระสวยรสสนิธ                    อินทรชิต ทศกรรฐ์

          แขนอ่อนอีกนวนจันทร์           น้ำตาลจีน เทพรำจวน

ไข่เหี้ย ไข่นกกระสา                กะล่อนป่า กะล่อนสวน

อีกสาวละห้อยหวน               สาวสกิดมารดาดู

มะม่วงเทพรำลึก                   แขกขายตึกอีกคราบหมู

กะละแมมีช่อชู                     หนึ่งชื่อว่าชาละวัน

มะม่วงพราหมณ์ขายเมียนี้    ดูท่วงทีรสขยัน

เมียรักดังชีวัน                       ยังสู้ขายจ่ายอำพา

มะม่วงสาวกระทืบหอ           นี่ก็ส่อรสโอชา

สาวอยากจะโภชา                 จนโกรธากระทืบเรือน

มะม่วงพิมสวรรค์                  ชื่อทั้งนั้นไม่มีเหมือน

ล่วงชั้นตวันเดือน                   ถึงสวรรค์ชั้นวิมาน

มะม่วงชื่อรำพึง                     คนคนึงด้วยรสหวาน

ม่วงเศียรคชสาร                    อีกหัวป้านมะม่วงเนย

กระแตลืมรังเรียก                  โดยสำเหนียกกันตามเคย

ค้างคาวลืมลูกเลย                 หลงกินเพลินเนิ่นนานวัน

           ทองขาว ทองดำดู                  ขึ้นเป็นคู่แข่งเคียงกัน

           แก้วขาว แก้วดำปัน                 เปนระยะคละกันไป

สุวรรณหงสเห็น                    แต่เขาเล่นละคอนไทย

เปนม่วงเสียเมื่อไร                 อยากใคร่รู้ดูหงสทอง

โสนน้อย ผอบนาก                 เจ้าเงาะหลากเพื่อนทั้งผอง

           กระบุ่ม กระเบาปอง              เป็นเหมือนเงาะ เยาะรจนา

มะม่วงชื่อการเวก                    นามนกเอก ในเวหา
           หอยแครง แลแตงกวา            หัวกิ้งก่า เหนียงนกกระทุง
คิ้วนาง ดูน่ากิน                     เทพสิน เหมือนชื่อกรุง
แลเห็น เปนหมู่มุง                  ม่วงสาวน้อย เยี่ยมห้องหวน

หัวโต ต้นต่ำเตี้ย                    ผัวตีเมีย ร้องไห้ครวญ
สาวน้อย สีน้ำนวล                สาวรัญจวน สาวสวรรค์
มะม่วง ผัวพรากเมีย              คิดน่าเสีย ใจครันครัน
           แก้วพราก แม่จากกัน             รสสำคัญ เห็นรุนแรง

สาริกาลืมรังอยู่                    วัดวังคู่ กับแก้มแดง
มะม่วงกระแอมแฝง              มะม่วงแฟบ แอบพุดไทย
สาวตบอุราร่ำ                      ด้วยระกำ จะจำไกล
จากม่วง ของชอบใจ              ตบอุรา น่าสงสาร

มะตูม อีกตับเป็ด                  หวานมันเด็ด ดุจน้ำตาล
อ้ายฮวบใหญ่ ใครไม่ปาน       สับสำปั้น น้ำตาลทราย
มะม่วง เขียวสะอาด                 กำเนิดชาติ พิมเสนกลาย
มะม่วง กระจิบลาย                   อีกม่วงล่า หมาไม่แล

ม่วงสาวกระทืบยอด                 เดิมนางรอด บุตรตาแห
เดินไป ไม่ทันแล                        เหยียบม่วงเล็ก เด็กว่าขาน
ม่วงนั้น ครั้นใหญ่มา                  ดกระย้า ใครจะปาน
จึงตั้ง นามขนาน                       กระทืบยอด รอดบาทา

มะม่วง มะละลอ                       สาเกก่อ เปนสมญา
เทพรส รสโอชา                         อัมพาดื่น พื้นดินดอน
เหลือจะ ร่ำไห้สุด                     ชื่อสมมุต นามกร
นักเรียน พึ่งแรกสอน                 อ่านกลอนเล่น เป็นสำราญ

มะม่วงขายตึก

ตัวอักษรที่เน้น คือพันธุ์มะม่วงที่พบในปี พ.ศ.2427(ตัวสะกดใช้ของเดิม เมื่อปี พ.ศ.2427) ปัจจุบันส่วนหนึ่งยังมีปลูกกันอยู่ แต่ส่วนใหญ่ได้ล้มหายตายจากไปแล้ว

 

พันธุ์มะม่วงรวบรวบข้อมูลโดยกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กระทวงเกษตรและสหกรณ์

มะม่วงอาร์ทูอีทูแปลงใหญ่

ได้แก่…

แก้ว แก้วจุก แก้วชัยภูมิ แก้ว007 กระแตลืมรัง กระสวย กล้วย กาละแม กระล่อน กระล่อนป่า กระล่อนทอง การะเกด กำปั่น แก้มแดง แก้วขาว แก้วเขียว แก้วทะวาย แก้วสามปี แก้วลืมคอน แก้วลืมรัง แก้วหอม

ขอช้าง ขาวนิยม เขียวมรกต เขียวใหญ่ ขายตึก ขี้ไต้ ขี้ทุบ ขุนทิพย์ เขียวไข่กา   เขียวภูเก็ต เขียวเสวย เขียวเสวยรจนา ไขตึก คล้ายเขียวเสวย คอนกแก้ว ค้างคางลืมรัง คำ คุ

งาขาว งาเขียว งาช้าง งาดาบ งาแดง งาท้องเรือ งาหม่น เงาะ งามเมืองย่า

จันทร์เจ้าขา จำปา เจ้าคุณทิพย์ เจ้าพระยา เจ้าเสวย

ช้างตกตึก โชคโสภณ โชคอนันต์ โชคอนันต์ก้านชมพู  โชควิเขียร

ตลับนาค ตะเพียนทอง ตับเป็ด ตาเตะหลาน แตงกวา เตี้ยทะวาย เตี้ยทอง

ทะวาย ทะวายเดือนเก้า ทองดี ทองขาว ทองขาวกลม ทองขาวยาว ทองเจ้าพัฒน์ ทองดำ ทองดำกลายพันธุ์ ทองดำมีร่อง ทองแดง ทองทะวาย ทองประกายแสด ทองปลายแขน ทองไม่รู้วาย ทุเรียน ทูลถวาย เทพนิมิตร เทพรส

นวลจันทร์ นวลแตง นาทับ น้ำดอกไม้ น้ำดอกไม้ทะวาย น้ำดอกไม้เบอร์ 4 น้ำดอกไม้เบอร์ 5 น้ำดอกไม้พระประแดง น้ำดอกไม้นายตำรวจ น้ำดอกไม้หมอไมตรี น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้สุพรรณ น้ำตาลจีน น้ำตาลเตา น้ำตาลปากกระบอก น้ำตาลทราย น้ำตาลทรายหนัก น้ำผึ้ง

มะม่วงศาลายา

บานเย็น บุญบันดาล เบา

ปทุมทะวาย ป้อมหรือกำปั่น

ผ้าขี้ริ้วห่อทอง

พญาลืมเฝ้า พญาเสวย พรวน พรวนขอ พราหมณ์ พราหมณ์ขายเมีย พราหมณ์ก้นขอ พราหมณ์เนื้อแดง พราหมณ์เนื้อเหลือง พัดน้ำผึ้ง พิมเสน พิมเสนขาว พิมเสนกลายพันธุ์ พิมเสนแดง พิมเสนเปรี้ยว พิมเสนมัน พิมเสนมันทะวาย พิมเสนมันดำ เพชรบ้านลาด เพชรปทุม

ฟ้าลั่น ฟ้าแอปเปิ้ล แฟบ

มณโฑ มะปราง มะลิลา มันบางขุนศรี มันค่อม มันทะวาย มันทะวายนักรบ มันทองเอก มันทะลุฟ้า มันบ้านลาด มหาชนก  มันพิเศษ มันสะเด็ด มันสายฟ้า มันหมู มันหยด มันหวาน มันแห้ว มันอยุธยา เมล็ดนิ่ม แม่ลูกดก แมวเซา

ยายกล่ำ

รจนา ระเด่นขาว ระเด่นเขียว แรด

ล่า ลิ้นงูเห่า ลูกกลม ลูกแดง ลูกโยนพระอินทร์ เล็บมือนาง

ศรีสยาม ศาลายา สังขยา สามปี สามฤดู สายทิพย์ สายน้ำค้าง สายฝน สาวน้อยกระทืบหอ สำปั่น สีส้ม แสงทอง หงษ์ทอง หงษ์สา หงสาวดี

สาวน้อยลืมผัว สีดา สุวรรณเลขา

หนองแซง หนังกลางวัน หนังหม่น หมอนทอง หวานน้ำผึ้ง หอยแครง หอระฆัง หินทอง แห้ว แห้วหลวงอิงค์

อกร่อง อกร่องทะวาย อกร่องกะทิ อกร่องขาว อกร่องเขียว อกร่องทอง อกร่องทองดำกลาย อกร่องไทรโยค อกร่องพิกุลทอง อกร่องภรณ์ทิพย์ อกร่องมัน อกร่องหอมทอง อ่อนมัน อินทรชิต

กองคุ้มครองพันธุ์พืช  กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำข้อมูลเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2546 ดังนั้นพันธุ์ที่นำชื่อมาลงไว้ ยังคงมีอยู่อย่างแน่นอน

 

พันธุ์มะม่วงแบ่งตามประเภทของการกิน

     

             แบ่งได้เป็นมะม่วงกินดิบและกินสุก

มะม่วงกินดิบหรือมะม่วงมัน…รสชาติของมะม่วงมัน บางพันธุ์มันตั้งแต่ผลขนาดเล็ก บางพันธุ์มันตอนผลแก่จัด มะม่วงมันที่รู้จักกันดีได่แก่พิมเสนมัน เขียวเสวย ศาลายา ทูนถวาย มันทองเอก  สายฝน เขียวสะอาด ฟ้าลั่น หนองแซง เพชรบ้านลาด มันหวาน บางขุนศรี มันขายตึก เจ้าคุณทิพย์ แห้ว

มะม่วงกินสุก…ได้แก่อกร่อง ทองดำ น้ำดอกไม้ หนังกลางวัน โชคอนันต์ ศรีสยาม เป็นต้น

มะม่วงแปรรูป…ได้แก่มะม่วงแก้ว แก้วขมิ้น โชคอนันต์

 

พันธุ์ต่างประเทศ

 

ได้แก่…

แอปเปิ้ล อาดัมส์ อา-ปิง อัลฟองโซ ฮารูมานิส แบงแกนปอลลี บรูกร์ คาราบาว แคร์ลี เชาซา

ดัทเชอรี่ เดวิส-เฮเดน ดันแคน เอ็ดเวิร์ด ฟลอริกอน เกลนน์ โกเวีย เฮเดน เออร์วิน เคียทท์ เคนท์ เคนซิงตัน ลิลี ลิปเปนส์

ลองวา มายา นีลัม ออทท์ ปาล์มเมอร์ โป๊ป รูบี เซนเซซัน ซันเซท เทวา เท็นบาเกีย ทอมมี-แอทกินส์ ซิลล์ เออร์วินXหนังกลางวัน เคียทท์Xหนังกลางวัน เคียทท์Xแก้ว ปาล์มเมอร์Xแก้ว อาร์ทูอีทู แก้วขมิ้น ก๊ากฮัวหร็อก

มีการนำพันธุ์มะม่วงจากต่างประเทศเขามาปลูกในประเทศไทยนานแล้ว โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมวิชาการเกษตร วัตถุประสงค์ก็เพื่อหาพันธุ์ที่เหมาะสม หากถูกปากคนไทยก็ขยายพันธุ์ แนะนำให้เกษตรกรปลูกเสียเลย อีกวัตถุประสงค์หนึ่ง เพื่อการปรับปรุงพันธุ์

ที่ผ่านมา มะม่วงต่างประเทศในไทย ไม่ถูกปากคนไทยนัก

แต่ระยะหลังๆที่มาแรงคือมะม่วงอาร์ทูอีทู จากประเทศออสเตรเลีย

มะม่วงอาปิง ปลูกที่เชียงใหม่

มะม่วงพันธุ์ใหม่

 

การได้มาซึ่งมะม่วงพันธุ์ใหม่นั้น เกิดจากการผสมและคัดเลือกพันธุ์

ที่ผ่านมา ในเมืองไทยการผสมและคัดเลือกพันธุ์โดยคนนั้น ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เป็นฝีมือการผสมโดยแมลงในธรรมชาติ จากนั้นคนได้คัดเลือกพันธุ์มาปลูก ตัวอย่างมะม่วงโชคอนันต์ มะม่วงมหาชนก

มะม่วงพันธุ์ใหม่ในเมืองไทย ระยะหลังที่ได้จากการผสมและคัดเลือกมีไม่มากนัก

ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ

ผู้นำเข้ายุคหลังมีความเชี่ยวชาญกว่าผู้นำเข้ายุคแรกๆ หมายถึงรู้ใจคนปลูกคนกินในประเทศ

มะม่วงนำเข้ายุคหลังจึงมีลักษณะดังนี้

หนึ่ง.ผลขนาดยักษ์ใหญ่

สอง.สีสันสะดุดตา ทั้งผิวผลและเนื้อใน

สาม.ออกดอกติดผลดก

สี่.รสชาติเท่ากับหรือดีกว่าของเดิมที่ไทยมีอยู่

มะม่วงที่ได้รับการกล่าวถึงมาก เห็นจะได้แก่มะม่วงอาร์ทูอีทู มะม่วงแก้วขมิ้น

ส่วนพันธุ์อื่นๆ ผู้นำเข้า เปลี่ยนชื่อต่างประเทศ เป็นมะม่วงไทย เช่นมะม่วงงาช้างแดง มะม่วงจักพรรดิ มะม่วงไต้หวัน 1 เป็นต้น

 

พันธุ์มะม่วงออกดอกติดผลทะวาย

 

เป็นมะม่วงที่มีผลผลิตทะยอยออกตลอดปี แต่ปริมาณที่ออกแต่ละครั้งอาจจะไม่มากนัก ทำให้ผู้ปลูกสามารถเก็บกินอย่างต่อเนื่อง มะม่วงทะวายมีทั้งที่เป็นมะม่วงกินดิบคือรสชาติมัน และมะม่วงกินสุก ที่รู้จักกันดีเช่นพิมเสนมันทะวาย น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ศาลายา โชควิเชียร เพชรปทุม สามฤดู โชคอนันต์ เป็นต้น

 

พันธุ์มะม่วงยอดนิยม

 

           คำว่ายอดนิยมในที่นี้ หมายถึงคนในประเทศนิยมกิน และสามารถส่งออกต่างประเทศไทย ซึ่งได้แก่มะม่วงอกร่อง น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย และฟ้าลั่น

 

มะม่วงอกร่องทอง

ลักษณะทรงพุ่มต้น (canopy) ปานกลาง (medium)

ลักษณะเปลือกลำต้น (bark texture) เรียบ (smooth) การเลื้อยของกิ่ง (climbing of branch) ไม่เลื้อย (no)

รูปร่างของใบ (leaf shape) ขอบขนาน (oblong) ปลายใบ (leaf apex) เรียวแหลม (acuminate) ฐานใบ (leaf base) แหลม (acute) ขอบใบ (leaf margin) คลื่น (undulate)

การออกดอก (flowering) มาก (abundant) การติดผล (fruit setting) มาก (abundant) ผลผลิตต่อต้นเมื่ออายุ 10 ป (yield) 500 ผล อายุการเก็บเกี่ยว (harvesting index) 100 วัน ฤดูกาลผลิต (fruiting season) ในฤดูกาล (season)

ขนาดผล (fruit size) ความยาว 11.82 เซนติเมตร ความกว้าง 6.67 เซนติเมตร ความหนา 5.58 เซนติเมตร น้ำหนักผล (fruit weight) 220 กรัม สีเนื้อผลดิบ (flesh colour of mature green fruit) YG 6 B กลิ่นของเนื้อ (flesh aroma) มีกลิ่นอ่อน (mild) ความหนาเนื้อ (flesh thickness) 150 เซนติเมตร เส้นใยในเนื้อ (fibre) มี (present) ปริมาณเส้นใยในเนื้อ (quantity of fibre) ปานกลาง (intermediate) ปริมาณน้ำในเนื้อ (fruit juiciness) ปานกลาง (intermediate) ความหนาเปลือก (skin thickness) 0.12 เซนติเมตร สีเปลือกผลดิบ (skin colour of green fruit) YG 144 B สีเปลือกผลสุก (skin colour of ripe fruit) YG 154 A ขนาดเมล็ด (stone size) ความกว้าง (width) 4 เซนติเมตร ความยาว (length) 10.24 เซนติเมตร ความหนา (thickness) 1.54 เซนติเมตร น้ำหนักเมล็ด (stone weight) 30 กรัม

รสชาติผลดิบ (taste of mature green fruit) เปรี้ยว รสชาติผลสุก (taste of ripe mango) หวาน

ความหวานของเนื้อ (brix) 20 องศาบริกซ์

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง

 

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในงานวันมะม่วงและของดีแปดริ้ว

ลักษณะทรงพุ่มต้น (canopy) ปานกลาง (medium)

ลักษณะเปลือกลำต้น (bark texture) เรียบ (smooth) การเลื้อยของกิ่ง (climbing of branch) ไม่เลื้อย (no) รูปร่างของใบ (leaf shape) ขอบขนาน (oblong) ปลายใบ (leaf apex) แหลม (acute) ฐานใบ (leaf base) แหลม (acute) ขอบใบ (leaf margin) คลื่น (undulate)

การออกดอก (flowering) ปานกลาง (intermediate) การติดผล (fruit setting) ปานกลาง (intermediate) ผลผลิตต่อต้นเมื่ออายุ 10 ปี (yield) 300 ผล อายุการเก็บเกี่ยว (harvesting index) 100 วัน ฤดูกาลผลิต (fruiting season) ในฤดูกาล (season)

ขนาดผล (fruit size) ความยาว 16.03 เซนติเมตร ความกว้าง 7.13 เซนติเมตร ความหนา 6.20 เซนติเมตร น้ำหนักผล (fruit weight) 350 กรัม สีเนื้อผลสุก (flesh colour of ripe fruit) YO 17 A กลิ่นของเนื้อ (flesh aroma) มีกลิ่นอ่อน (mild) ความหนาเนื้อ (flesh thickness) 2.24 เซนติเมตร เส้นใยในเนื้อ (fibre) ไม่มี (absent) ปริมาณเส้นใยในเนื้อ (quantity of fibre) น้อย (scarce) ปริมาณน้ำในเนื้อ (fruit juiciness) ปานกลาง (intermediate) ความหนาเปลือก (skin thickness) 0.1 เซนติเมตร สีเปลือกผลดิบ (skin colour of green fruit) YG 145 B สีเปลือกผลสุก (skin colour of ripe fruit) YO 15 A ขนาดเมล็ด (stone size) ความกว้าง (width) 4.3 เซนติเมตร ความยาว (length) 13.77 เซนติเมตร ความหนา (thickness) 1.36 เซนติเมตร น้ำหนักเมล็ด (stone weight) 31 กรัม

รสชาติผลดิบ (taste of mature green fruit) เปรี้ยว รสชาติผลสุก (taste of ripe) หวาน

ความหวานเนื้อ (brix) 18 องศาบริกซ์

 

               มะม่วงเขียวเสวย

ทรงผล (fruit shape) รูปรี (elliptical) รูปหน้าตัดทรงผลตาม

ขวาง (cross section) ป้อมรี (board elliptic) ความลึกของฐานผล (dept of stalk cavity) ตื้น (shallow) จุกของผล (prominence of neck) เล็ก (weak) ทรงไหล่ด้านท้องผล (shape of ventral shoulder) กลมกว้าง (rounded outward) ทรงไหล่ด้านหลังผล (shape of dorsal shoulder) ไหล่ลาดลง 45 องศา (sloping downward) ร่องฐานผล (groove at fruit base) ไม่มี (absent) รอยเว้าด้านท้องผล (sinus) มี (present) จะงอย (beak) ไม่มี (absent)

การติดดอก (flowering) ปานกลาง (intermediate) การติดผล (fruit setting) ปานกลาง (intermediate) ผลผลิตต่อต้นเมื่ออายุ 10 ปี (yield) 200 ผล อายุการเก็บเกี่ยว (harvesting index) 100-110 วัน ฤดูการผลิต (fruiting season) ในฤดูกาล (season)

ขนาดผล (fruit size) ความยาว 15.83 เซนติเมตร ความกว้าง 7.21 เซนติเมตร ความหนา 6.83 เซนติเมตร น้ำหนักผล (fruit weight) 400 กรัม กลิ่นของเนื้อ (flesh aroma) มีกลิ่นอ่อน (mild) ความหนาเนื้อ (flesh thickness) 2.35 เซนติเมตร เส้นใยในเนื้อ (quantity of fibre) ไม่มี (absent) ปริมาณน้ำในเนื้อ (fruit juiciness) ปานกลาง (intermediate) ความหนาเปลือก (skin thickness) 0.15 เซนติเมตร น้ำหนักเปลือก 40 กรัม สีเปลือกผลสุก (skin colour of ripe fruit) YO 4 B รสชาติผลดิบ (taste of mature green fruit) หวานอมเปรี้ยว รสชาติผลสุก (taste of ripe fruit) หวาน

ความหวานของเนื้อ (brix) 18.5 องศาบริกซ์

 

มะม่วงฟ้าลั่น

ลักษณะทรงพุ่มต้น (canopy) เล็ก (small) ลักษณะเปลือกลำต้น

(bark texture) เรียบ (smooth) การเลื้อยของกิ่ง (climbing of branch)ไม่เลื้อย (no) รูปร่างของใบ (leaf shape) ยาวเรียว (linear-oblong) ปลายใบ (leaf apex) แหลม (acute) ฐานใบ (leaf base) แหลม (acute) ขอบใบ (leaf margin) เรียบ (entire)

ทรงผล (fruit shape) รูปขอบขนาน (oblong) รูปหน้าตัดทรงผลตามขวาง (cross section) ป้อมรี (broad elliptic) ความลึกของฐานผล (deapt stalk cavity) ตื้น (shallow) จุกของผล (prominence of neck) มี (present) ทรงไหล่ด้านท้องผล (shape of ventral shoulder) กลมกว้าง (rounded outward) ทรงไหล่ด้านหลังผล (shape of dorsal shoulder) ไหล่ลาดลง 45 องศา (sloping downward) ร่องฐานผล (groove at fruit base) ไม่มี (absent) รอยเว้าด้านท้องผล (sinus) มี (present) นอไหล่ขวาของผล (lumpiness at right shoulder) ไม่มี (absent)

    การออกดอก (flowering) ง่าย (easy) การติดผล (fruit setting) ง่าย (easy) ผลผลิตต่อต้นเมื่ออายุ 10 ปี (yield) 400-500 ผล อายุการเก็บเกี่ยว (harvesting index) 95 วัน ฤดูกาลผลิต (fruiting season) นอกฤดูกาล (out of season) ขนาดผล (fruit size) ความยาว 16.73 เซนติเมตร ความกว้าง 7.45 เซนติเมตร ความหนา 6.9 เซนติเมตร น้ำหนักผล (fruit weight) 400 กรัม สีเนื้อผลดิบ (flesh colour of mature green fruit) YG 8 B กลิ่นของเนื้อ (flesh aroma) มีกลิ่นอ่อน (mild) ความหนาเนื้อ (flesh thickness) 1.96 เซนติเมตร ปริมาณเส้นใยในเนื้อ (quantity of fibre) น้อย (scarce) ปริมาณน้ำในเนื้อ (fruit juiciness) ปานกลาง (intermediate) ความหนาเปลือก (skin thickness) 0.11 เซนติเมตร สีเปลือกผลดิบ (skin colour of green fruit) YG 138 B สีเปลือกผลสุก (skin colour of ripe fruit) YG 1 B รูปทรงของเมล็ด (Stone shape) ขอบขนาน (oblong) ขนาดเมล็ด (stone size) ความกว้าง (width) 3.71 เซนติเมตร ความยาว (length) 13.6 เซนติเมตร ความหนา (thickness) 1.11 เซนติเมตร น้ำหนักเมล็ด (stone weight) 30 กรัม

รสชาติผลดิบ (taste of mature green fruit) มัน