กลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพ ตำบลเหมืองง่า จังหวัดลําพูน ผลงานดีเด่น ลดรายจ่ายในครัวเรือน

กลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพ ตําบลเหมืองง่า จัดตั้งเมื่อ วันที่ 5 กรกฎาคม 2559 สมาชิกแรกตั้ง 30 คน สมาชิกปัจจุบัน 130 คน ประธานกลุ่ม นายมงคล ทองกลาง ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ 191/1 หมู่ที่ 6 ตําบลเหมืองง่า อําเภอเมืองลําพูน จังหวัดลําพูน

ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม

  1. โครงการลดรายจ่ายในครัวเรือน ด้วยการจัดหาข้าวสารมาจําหน่ายให้กับสมาชิกในราคาถูก พื้นที่ของตําบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลําพูน ส่วนใหญ่ทําสวนลําไย ไม่มีพื้นที่ในการทํานา ทําให้สมาชิกของกลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพตําบลเหมืองง่าต้องซื้อข้าวสารมาเพื่อบริโภคในครัวเรือน ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพงและไม่มีคุณภาพ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของสมาชิก และให้สมาชิกได้บริโภคข้าวสารที่มีคุณภาพ กลุ่มเกษตรกรฯ จึงได้ริเริ่มในการจัดหาแหล่งผลิตและจําหน่ายข้าวสารราคาถูกมาจําหน่ายให้แก่สมาชิก ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในการซื้อข้าวสาร จํานวน 50 บาท/กระสอบ และกลุ่มเกษตรกรฯ ก็มีรายได้เข้ามาอีกทางหนึ่งด้วย โดยกลุ่มมียอดจําหน่ายข้าวสาร 1,054,735 บาท/ปี
  2. โครงการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย ในกลุ่มเกษตรกร โดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์+เคมีใช้เอง สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพตําบลเหมืองง่า ส่วนใหญ่มีอาชีพทําสวนลําไย และในแต่ละปีต้องใช้ปุ๋ยเพื่อการบํารุงต้นลําไยเป็นจํานวนมาก แต่ปุ๋ยเคมีที่ขายในท้องตลาดมีราคาแพง ทําให้ต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรสูง และผลผลิตที่ได้รับไม่มีความปลอดภัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์และลดต้นทุนการผลิต กลุ่มได้ขอรับคําปรึกษาจากสํานักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดลําพูน เพื่อให้สมาชิกเข้ารับการอบรมการทําปุ๋ยอินทรีย์ จากนั้นจึงได้รวมกันจัดทําปุ๋ยอินทรีย์เคมีใช้กันภายในกลุ่ม เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตลําไย และได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพในราคาย่อมเยา อีกทั้งยังสามารถผลิตเพื่อจําหน่ายให้เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่จังหวัดลําพูนและจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย

ความสามารถในการบริหาร
และการจัดการของสถาบัน

กลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพ ตําบลเหมืองง่า จังหวัดลําพูน มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน โดยมีคณะกรรมการ 4 คน เจ้าหน้าที่ตําแหน่งพนักงานบัญชี 1 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ 2 คน ปฏิบัติหน้าที่และให้ความช่วยเหลือสมาชิกได้เป็นอย่างดี มีความเสียสละ อดทน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สมาชิก และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนากลุ่มให้เจริญก้าวหน้า ปัจจุบัน กลุ่มเกษตรกรฯ มีทุนดําเนินงาน 3,038,434 บาท ทุนเรือนหุ้น 221,400 บาท ทุนสํารอง 437,310 บาท การดําเนินธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรฯ มี 3 ประเภท คือ ธุรกิจสินเชื่อ จํานวน 209,000 บาท ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจําหน่าย จํานวน 1,224,370 บาท และธุรกิจแปรรูปผลิตผ การเกษตรและผลิตสินค้า (ผลิตปุ๋ยอินทรีย์) จํานวน 442,000 บาท ซึ่งเป็นธุรกิจเด่นของกลุ่มเกษตรกรฯ

กลุ่มเกษตรกรฯ มีการนําระบบควบคุมภายในของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์มาใช้ในการประเมินผลการทํางานของกลุ่มเป็นประจําทุกปี และมีการจัดทําแผนดําเนินงานประจําปีและแผนธุรกิจ โดยกําหนดและขอมติผ่านที่ประชุมใหญ่สามัญเป็นประจําทุกปี และมีการแจ้งแผนให้สมาชิกรับทราบ โดยมีการระดมความคิด ปัญหา อุปสรรค จากสมาชิก และนําผลการดําเนินงานในปีก่อนมาพิจารณา เพื่อปรับปรุงแผนการดําเนินงานประจําปี และแผนธุรกิจในปีถัดไป ซึ่งกลุ่มสามารถดําเนินงานได้ตามแผนที่วางไว้

บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน

กลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพตําบลเหมืองง่า จังหวัดลําพูน มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่ เฉลี่ยร้อยละ 44.10  คณะกรรมการเข้าร่วมประชุม เฉลี่ยร้อยละ 100 สมาชิกมีส่วนร่วมในการทําธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกรฯ เฉลี่ยร้อยละ 100 และมีส่วนร่วมในการทํากิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มเกษตรกร เฉลี่ยร้อยละ 94.34 โดยสมาชิกมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี และปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ และข้อตกลงของกลุ่มเกษตรกรฯ อย่างเคร่งครัด มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่ม และการลงความเห็นต่างๆ อาทิ การเลือกตั้ง การจัดสรรผลประโยชน์ การจัดทําแผนงานประจําปีและแผนธุรกิจ การแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงให้ความสําคัญและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกรฯ

 

ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน

กลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพตําบลเหมืองง่า ดําเนินธุรกิจ 3 ประเภท ตามความต้องการของสมาชิก โดยมีปริมาณธุรกิจรวมทั้งสิ้น 1,473,370 บาท กลุ่มเกษตรกรฯ มีกําไรสุทธิ 149,215.65 บาท และสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่สมาชิก จํานวน 17,712 บาท และจ่ายเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนของธุรกิจ จํานวน 32,320 บาท จากผลการดําเนินงาน 3 ปีที่ผ่านมา มีความมั่นคงและมีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีทุนดําเนินงานเพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจกลุ่มเกษตรกรฯ สามารถจัดสรรทุนสํารองเพิ่มขึ้นได้ทุกปี การดําเนินงานของกลุ่มส่งผลให้สมาชิกและครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่มีหนี้สินนอกระบบ และสามารถพึ่งพาตนเองได้

กลุ่มเกษตรกรฯ มีที่ดินของกลุ่มเอง มีอาคารสํานักงานเพื่ออํานวยความสะดวกและให้บริการสมาชิก มีอาคารโรงคลุมอเนกประสงค์สําหรับจัดเก็บปุ๋ยที่ผลิตได้ และใช้เป็นสถานที่สําหรับการประชุมสมาชิก และมีอุปกรณ์การตลาดสําหรับการดําเนินธุรกิจผลิตปุ๋ยจําหน่ายครบถ้วน โดยกลุ่มเกษตรกรฯ จัดหาเองและจัดให้มี ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ

การทํากิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์
และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  1. กลุ่มเกษตรกรฯ เข้าร่วมทํากิจกรรมสาธารณประโยชน์กับชุมชนในโอกาสต่างๆ อยู่สม่ำเสมอ ร่วมสนับสนุนกิจกรรมและร่วมทําบุญกับวัดในชุมชนในวันสําคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆ มีกิจกรรมพัฒนาชุมชน ทําความสะอาด และปรับปรุงภูมิทัศน์ในเทศกาลและโอกาสสําคัญต่างๆ โดยกลุ่มใช้กิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนในชุมชน
  2. กลุ่มเกษตรกรฯ ให้ความสําคัญต่อการทํากิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชน เนื่องจากสมาชิกของกลุ่มทําปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ
  3. กลุ่มเกษตรกรฯ ได้จัดสรรกําไรสุทธิไว้เป็นเงินสวัสดิการเพื่อดูแลสมาชิกและครอบครัวสมาชิก ได้แก่ ร่วมทําบุญและช่วยเหลืองานศพของสมาชิกและครอบครัว มอบทุนการศึกษาแก่บุตรของสมาชิก จัดให้มีการฝึกอบรมการทําน้ำหมักชีวภาพแก่สมาชิก เครื่องแบบแก่คณะกรรมการดําเนินการ


พิเศษ! สมัครสมาชิกนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน, มติชนสุดสัปดาห์ และศิลปวัฒนธรรม ลดราคาทันที 40% ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 63 เท่านั้น! คลิกดูรายละเอียดที่นี่