ผู้เขียน | เทตโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ |
---|---|
เผยแพร่ |
“อิสระ 01” กัญชาสายพันธุ์ไทยได้เปิดตัวในงาน มหกรรมกัญชากัญชง 360 องศา เพื่อประชาชน ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมี น.พ. อิสระ เจียวิริยบุญญา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ได้มาให้ความรู้ ในหัวข้อ “อิสระ 01 : Why and What Next” เป็นหัวข้อที่เก็บการให้ความรู้กัญชาพันธุ์อิสระ 01 ทั้งในทางกฎหมายและทางแพทย์ เพื่อนำไปต่อยอดสู่การใช้งานในอนาคต

ต้นกำเนิด กัญชง กัญชา ในประเทศไทย
เริ่มต้นที่ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียง ซึ่งมีอายุมากกว่า 5,000 ปี โดยเครื่องปั้นดินเผามี 3 ยุค แต่ยุคแรกมีเอกลักษณ์คือลวดลายที่เกิดจากเชือกที่ทำมาจากกัญชง มาม้วนอยู่ที่เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งการขุดค้นพบภาชนะดินเผาที่บ้านเชียงนั้น มีลายตรงลายผ้าบาติคของชาวม้งในปัจจุบัน นั้นก็หมายความว่า พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเรามีการใช้กัญชงมามากกว่า 5,000 ปี เพราะเนื่องจากชาวม้งในอดีตต้องสืบทอดพันธุ์กัญชงไว้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อที่จะเป็นยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และเป็นทั้งที่อยู่อาศัย
Why : ทำไม กัญชา หรือกัญชง ถึงผิดกฎหมาย
ตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2477 เราสามารถใช้กัญชาหรือกัญชงได้อย่างถูกกฎหมาย ก่อนที่จะมี พ.ร.บ. (พระราชบัญญัติ)กัญชา พ.ศ. 2477 ทำให้การครอบครองและการสูบกัญชามีความผิด แต่ใน มาตรา 5 ได้ระบุไว้ว่า ตั้งแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นต้นไป ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกกัญชาหรือมีพันธุ์กัญชาไว้ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสามารถอนุญาตให้ใช้ได้แต่เฉพาะบุคคล สามารถปลูกหรือมีพันธุ์กัญชาไว้เพื่อการทดลองหรือเพื่อประโยชน์ทางโรคศิลปะก็ได้ นั้นหมายความว่า การใช้กัญชามีความผิด แต่ถูกยกเว้นมาใช้ได้ในทางการแพทย์มาโดยตลอด แต่ผิดกฎหมายพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ส่วนกัญชงนั้นเพิ่งจะมาถูกบรรจุเป็นสิ่งผิดกฎหมายในภายหลัง
ทำไม ถึงเป็น “อิสระ 01”
ถึงแม้การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์จะถูกกฎหมายหลัก (พ.ร.บ. กัญชา พ.ศ. 2477) ก็ยังผิด เนื่องจาก (พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522) แต่เมื่อมีกฎหมายใหม่ (พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562) ออกมา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีการนิรโทษกรรมใครก็ตามที่กระทำความผิดในฐานะมีการครอบครอง ผลิตหรือปลูกกัญชา กัญชง
ซึ่ง นายแพทย์อิสระ กล่าวว่า เคยบังเอิญไปปลูกกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ จำนวน 20 ต้น กับอีก 40 เมล็ด นั้นถูกละเว้นความผิด เมื่อกัญชาที่ผมปลูกถูกละเว้นความผิดแล้ว ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 เรายังไม่เคยมีชื่อพันธุ์พืชกัญชาในประเทศไทย (เนื่องจากกัญชาเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในสมัยก่อน จึงไม่สามารถยื่นขอชื่อพันธุ์พืชได้) กรมวิชาการเกษตร จึงยินยอมเข้าสู่กระบวนการทำ พ.ร.บ. พันธุ์พืช ปี 2518
“แล้วตอนที่ผมนิรโทษกรรม ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขอเมล็ดพันธุ์ไปทดลองปลูก บังเอิญตอนปลูกต้องแจ้งชื่อพันธุ์กับทางคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แต่ไม่สามารถระบุชื่อพันธุ์ได้ เพราะเราไม่เคยตั้งชื่อพันธุ์กัญชามาตั้งแต่ยุคของชาวม้ง เมื่อ 3,000 ปีก่อน จึงตั้งชื่อให้ว่าเป็น “อิสระ 01” ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นพืชที่ถูกจองจำและถูกกล่าวหาเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายมาเป็นเวลานาน
(การยื่นพันธุ์พืชของ พ.ร.บ. พันธุ์พืช พ.ศ. 2518 นั้นหมายถึง การบอกว่าพันธุ์พืชนี้เป็นของประเทศไทย ไม่ใช่การบอกว่าใครสามารถปลูกพันธุ์นี้ได้บ้าง ซึ่งการตรวจพันธุ์พืชนั้น ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี เพื่อที่จะหารูปร่าง ถิ่นที่กำเนิด และวิธีการปลูก และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ให้เป็นพันธุ์พืชกัญชาของไทยอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นต้องดำเนินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งทำให้ทุกคนในประเทศไทยมีสิทธิ์เอา อิสระ 01 ไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อ เพื่อไปทำการคุ้มครอง คนที่สามารถนำไปพัฒนาและยื่นคำขอการคุ้มครองพันธุ์พืชได้ จึงจะมีสิทธิบัตรในพันธุ์พืชนั้น”
what’s next Isara 01
ทางด้านกฎหมาย
- เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกระทรวง เรื่องพันธุ์พืชชนิดใหม่ ขอรับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 (ซึ่งตอนนี้ได้ดำเนินการถึงขั้นอนุกรรมการเห็นชอบแล้ว ลำดับต่อไปจะเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช หากเห็นชอบแล้วจะส่งเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกระทรวงต่อไป
- 2. กรมวิชาการเกษตร ออกระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการรับคำขอและการปลูก ตรวจสอบคุณสมบัติของพันธุ์พืชใหม่ (ทุกคนที่มีพันธุ์พืชสายพันธุ์อื่นๆ หลังจากเอกสารฉบับนี้ออกไป สามารถเข้าสู่กระบวนการรับคำขอและตรวจสอบคุณสมบัติพันธุ์พืชนี้ได้ ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี)
การตรวจสอบพันธุ์พืช คืออะไร?
การตรวจสอบพันธุ์พืชคือ คุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งจะต่างกับ พ.ร.บ. พันธุ์พืช ตรงที่ พ.ร.บ. พันธุ์พืชนี้ จะเป็นตัวบ่งบอกลักษณะต่างๆ ว่า ใบหรือลำต้นอย่างไรเรียกว่ากัญชงหรือกัญชา แต่เมื่อไรก็ตาม ที่คุ้มครองพันธุ์พืชจะต้องลงลึกถึงระดับ เจเนติก(genetic) ว่ามีความแตกต่างจากสายพันธุ์อื่นอย่างไร ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือ อิสระ 01 นี้จะเป็นตัวแทนการตรวจสอบพันธุ์พืชเพื่อเป็นตัวแทนของกัญชาในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์แรก เพราะหากเจเนติกในต้นกัญชาของเราไปซ้ำกับสายพันธุ์ของต่างประเทศ หากส่งออกจะต้องเสียลิขสิทธิ์ให้กับเขาด้วย
ทางด้านการแพทย์
โรงพยาบาลกรมการแพทย์มะเร็งอุดรธานีและมูลนิธิมะเร็งอุดรธานี ปลูกอยู่ 2 ลักษณะ คือ
- ปลูกใน green house ของโรงพยาบาล โดยเหตุผลที่ทำเพื่อตำรับยาโบราณ ชื่อ สนั่นไตรภพ เพื่อที่จะรักษามะเร็งตับกับท่อน้ำดี ภายใต้คลินิกการแพทย์ไทยร่วมสมัย (Contemporary Thai Medicine)
– คือ การรักษาระหว่างแพทย์แผนไทยกับแพทย์แผนปัจจุบัน มาร่วมด้วยกัน ส่วน what’s next (จะทำอะไรต่อ) คือ ทางโรงพยาบาลจะปลูกกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
– เปิดการสอนปลูกต้นกัญชาเพื่อทางการแพทย์ คือ Training Course : growers (เป็นการสร้างนักปลูกกัญชา ซึ่งจะมีวุฒิบัตรรับรอง) ภายใต้สถาบัน Medical Thai Cannabis Academy (MTCA)
– การทำศูนย์เพาะต้นกล้ากัญชา แล้วส่งให้ผู้ที่ได้รับใบรับรองในการปลูกกัญชา เช่น วิสาหกิจชุมชนที่ได้รับอนุญาต หรือ ผู้ป่วย/ประชาชน ที่ต้องรักษาตัวเอง
- 2. การปลูก out door ในพื้นที่วิสาหกิจชุมชน ในปี 63 ปลูกเพื่อรับรองพันธุ์พืชเพื่อขึ้นทะเบียนกับทางกรมวิชาการเกษตร แต่ปัจจุบันได้รับการรับรองเรียบร้อยแล้ว ถัดไปเราจะทำเมล็ดพันธุ์รับรองและพัฒนาสายพันธุ์ต่อ (ทางวิสาหกิจชุมชนสามารถทำเมล็ดพันธุ์รับรองได้ ส่วนการพัฒนาสายพันธุ์ ทุกคนมีสิทธิ์จะนำไปพัฒนาต่อได้)
– green house ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำส่งให้องค์การเภสัชกรรม, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง สสจ. อุดรธานี
– in house ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดแพร่ ทำ tissue culture & cloning คือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและขยายพันธุ์
คลินิกการแพทย์ไทยร่วมสมัย คืออะไร?
คลินิกที่การแพทย์นำเอาการรักษาแบบแผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยรวมด้วยกัน แล้วทำให้ร่วมสมัยด้วยสารสกัดน้ำมันและการตรวจมาตรฐานของการรักษาควบคู่กันไปด้วย
กัญชา รักษามะเร็งได้จริงแต่ไม่100%
เพราะการรักษามะเร็งเป็นเรื่องขององค์รวมทั้งหมด ทั้งการออกกำลังกาย อาหาร จิตวิทยาและเรื่องของสังคม ซึ่งจะบอกว่ากัญชารักษามะเร็งอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ ต้องรักษาควบคู่กันไป โดยจะแบ่งกลุ่มคนไข้รักษามะเร็งออกเป็น 4 กลุ่ม เช่น
กลุ่มที่ 1 มะเร็งที่มีการรักษาแบบ Conventional เป็นการผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา แล้วได้ผลดี คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก (ซึ่งไม่จำเป็นต้องนำกัญชามาช่วยรักษา)
กลุ่มที่ 2 มะเร็งที่มีการรักษาแบบ Conventional เป็นการผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษา แล้วไม่ได้ผลดี คือ มะเร็งที่รักษายาก เช่น มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี (การรักษากลุ่มนี้ควรมีกัญชาเข้าร่วมรักษาด้วย)
กลุ่มที่ 3 มะเร็งระยะแพร่กระจาย (Metastasis) และมะเร็งระยะสุดท้าย (Palliative care) (การรักษากลุ่มนี้ขึ้นอยู่กับทางผู้รักษาว่าต้องการจะรักษาแบบ Conventional รักษาด้วยกัญชา หรือจะรักษาแบบทั้ง 2 ควบคู่กัน)
กลุ่มที่ 4 มะเร็งที่กลับมาเป็นใหม่ (Recurrent) คือการรักษาแบบเดิมไม่ได้ผล
ตำรับยาไทย
ทางโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- 1. ยาพัฒนามาจากสมุนไพร เช่น น้ำมันกัญชาหยดใต้ลิ้น โดยนำกัญชาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พันธุ์อิสระ 01 ส่งไปสกัดที่คณะเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น และส่งไปผลิตที่โรงงานแผนปัจจุบัน ที่ได้รับ GMP แบบ full spectrum และ น้ำมันกัญชา ตำรับขมิ้นทอง เป็น สสจ. อุดรธานี เป็นการเอาดอกกัญชาแม่โจ้ผสมกับขมิ้นชัน
- 2. ตำรับยาไทย คือ ตำรับสนั่นไตรภพ ซึ่งเป็นยาที่ทำในปัจจุบัน ส่วน what’s next คือ การพัฒนาเป็นแคปซูลชนิดนิ่ม (softgel capsule) หรือเป็นสารสกัดนาโนอิมัลชัน (nanoemulsion) เพื่อสามารถดูดซึมได้ดีขึ้น หากเปรียบเทียบกับแบบ full spectrum เปลี่ยนเป็น nanoemution ทำให้ภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการมึนเมาต่างๆ ลดลง ซึ่งอันนี้เป็นการรักษาแบบแผนไทยร่วมสมัย
รูปแบบการดำเนินงาน
- 1. Counselling การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยให้ชัดเจน เพื่อให้แนวทางการรักษาที่ถูกต้อง หากผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้กัญชา
- 2. IPD CASE เพื่อปรับขนาดยา ให้เหมาะกับผู้ป่วย และติดตามการตอบสนองและอาการข้างเคียง เป็นระยะ 1-2 สัปดาห์
- 3. OPD follow up นัดติดตามอาการทุกๆ 2-4 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์
- 4. Outcome การติดตามคุณภาพการใช้ชีวิต การกินอาหาร การนอน เป็นอย่างไร ดีขึ้นขนาดไหน ตัวมะเร็งลดลงไหม
ทุกคนที่เข้ารับการรักษาด้วยระบบนี้ จะต้องลงทะเบียน ODID Healthcare Platfrom เป็นการลงทะเบียนแบบดิจิทัล ซึ่งสามารถเป็นบัตรประจำตัว และยังสามารถติดตามอาการของผู้ถือบัตรได้ว่า ปัจจุบันอาการและการรักษาเป็นอย่างไร เพื่อวิเคราะห์เตรียมการให้ชัดเจน
ทำไม ต้องศูนย์อบรมฝึกกัญชาไทยทางการแพทย์
เพราะเป็นการอบรมอย่างมีคุณภาพและยืนยันตัวว่าเราจะใช้เพื่อทางการแพทย์อย่างถูกต้อง ซึ่งมีทั้งการฝึกเป็นผู้ปลูก ฝึกเป็นผู้จำหน่าย ฝึกเป็นผู้ที่ใช้รักษา