10 เทคโนโลยี การบริหารต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตลำไยแบบมืออาชีพ

การทำให้เกษตรกรชาวสวนลำไย ได้รับผลตอบแทนที่ดียิ่งขึ้นนั้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตลำไยโดยใช้เทคโนโลยีการบริหารต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไย ดังนี้

  1. การทำลำไยนอกฤดูแบบปีเว้นปี…เพื่อไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน และเป็นการบังคับลำไยให้ออกดอกได้ดี โดยผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 3,000 กิโลกรัม/ไร่ ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 9,950 บาท/ไร่
  2. การแบ่งสวนแบ่งส่วนทำ…เป็นการลดความเสี่ยงด้านการผลิต การตลาด เป็นการทยอยการลงทุน ซึ่งใช้ต้นทุนไม่มาก และเป็นการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ถึง 7,500 บาท/ไร่ โดยแบ่งเป็น 3 แปลง

แปลงที่ 1 ทำช่วงตรุษจีน ใส่สาร 20 พฤษภาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่าย 20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์

แปลงที่ 2 ทำก่อนฤดูกาล ใส่สาร 15 กันยายน-5 ตุลาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายเดือนมิถุนายน

แปลงที่ 3 ทำในฤดูก่อนล้นตลาด ใส่สาร 1-10 ธันวาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่าย 1-15 กรกฎาคม

  1. การทำผลผลิตในฤดูให้ผลโตและมีคุณภาพ…เพื่อแก้ไขปัญหาลำไยผลเล็ก ผลแตกและผลร่วง โดยใช้เทคโนโลยี ดังนี้

– ตัดแต่งช่อผลทิ้งบางส่วน ประมาณ 10-25% และตัดแต่งผลให้เหลือที่ช่อ ประมาณ 50-70 ผล/ช่อ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ ทำให้เพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ 4,500 บาท/ไร่

– ในช่วงที่ผลผลิตลำไยล้นตลาด เกษตรกรควรเลือกเก็บผลผลิต โดยคัดผลที่มีขนาดโตออกจำหน่าย ประมาณ 20-30% สามารถเพิ่มมูลค่าได้ 3,000 บาท/ไร่

  1. การจัดและควบคุมทรงพุ่มไม่ให้สูงเกิน 4 เมตร…เพราะทรงพุ่มลำไยที่ต่ำจะทำให้การพ่นปุ๋ยทางใบและการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ผลดีมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน อีกทั้งการเก็บเกี่ยวทำได้ง่าย และง่ายต่อการตัดแต่งช่อ ตัดแต่งผลทิ้ง ทำให้ผลมีขนาดโตสม่ำเสมอ สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้ 4,500 บาท/ไร่
    การจัดและควบคุมทรงพุ่มไม่ให้สูงเกิน 4 เมตร ทำให้ผลมีขนาดโตสม่ำเสมอ สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้ 4,500 บาท/ไร่
    การจัดและควบคุมทรงพุ่มไม่ให้สูงเกิน 4 เมตร ทำให้ผลมีขนาดโตสม่ำเสมอ สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้ 4,500 บาท/ไร่
  2. การตัดแต่งกิ่งเพื่อลดปริมาณไม้ค้ำ…ไม้ค้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตลำไย โดยเฉพาะลำไยต้นสูง หากไม่ใช้จะทำให้กิ่งที่ติดผลฉีกหักหรือลำต้นโค่นล้ม เมื่อตัดแต่งกิ่งให้ลำไยติดผลเป็นกลุ่มๆ จะทำให้ลดต้นทุนค่าไม้ค้ำได้ 2,500 บาท/ไร่
    การตัดแต่งกิ่ง ทำให้ลดต้นทุนค่าไม้ค้ำได้ 2,500 บาท/ไร่
    การตัดแต่งกิ่ง ทำให้ลดต้นทุนค่าไม้ค้ำได้ 2,500 บาท/ไร่
  3. การทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยโดยใช้ใบลำไย…โดยใบลำไยใน 1 ต้น สามารถทำปุ๋ยหมักได้ ประมาณ 100 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 500 บาท/ต้น หรือ 12,500 บาท/ไร่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนลำไย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นลำไยสมบูรณ์ให้ผลผลิตดีและลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีลงได้ประมาณ 400 บาท/ไร่ นอกจากนี้แล้ว เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการเผาที่สร้างมลพิษทางอากาศ
    การใช้ใบลำไยทำเป็นปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นลำไยสมบูรณ์ให้ผลผลิตดีและลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีลงได้ ประมาณ 400 บาท/ไร่ นอกจากนี้แล้ว เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการเผาที่สร้างมลพิษทางอากาศ
    การใช้ใบลำไยทำเป็นปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นลำไยสมบูรณ์ให้ผลผลิตดีและลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีลงได้ ประมาณ 400 บาท/ไร่ นอกจากนี้แล้ว เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการเผาที่สร้างมลพิษทางอากาศ
  4. การให้น้ำแบบรู้คุณค่าและเหมาะสม…โดยใช้ระบบสปริงเกลอร์ มีวาล์วปิด-เปิด บังคับการให้น้ำ สามารถประหยัดน้ำ ลดแรงงานและลดค่าใช้จ่ายได้ ไร่ละ 1,500 บาท/ปี
  5. การให้น้ำโดยใช้ระบบสปริงเกลอร์ มีวาล์วปิด-เปิด บังคับการให้น้ำ สามารถประหยัดน้ำ ลดแรงงาน และลดค่าใช้จ่ายได้ ไร่ละ 1,500 บาท/ปี
    การให้น้ำโดยใช้ระบบสปริงเกลอร์ มีวาล์วปิด-เปิด บังคับการให้น้ำ สามารถประหยัดน้ำ ลดแรงงาน และลดค่าใช้จ่ายได้ ไร่ละ 1,500 บาท/ปี
  6. การใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อลดหรือทดแทนการใช้สารเคมี…โดยใช้เชื้อราบิวเวอเรียป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น เพลี้ยและแมลง ศัตรูพืชช่วงใบอ่อน สามารถลดต้นทุนลง ไร่ละ 300 บาท/ปี อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรมีความปลอดภัยและผู้บริโภคมีความมั่นใจ
  7. การผสมปุ๋ยใช้เอง…โดยนำปุ๋ย สูตร 46-0-0 ผสมกับ ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1:1 จะได้สูตรใกล้เคียง 25-7-7 (กระสอบ 1,200 บาท) ที่ใช้เพื่อการแตกใบอ่อนและรักษาช่อผล ทำให้ลดต้นทุนได้ 200 บาท/กระสอบ
  8. การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน…เพื่อให้ปริมาณการใช้และจำนวนครั้งในการใช้เป็นไปตามความต้องการของพืชในแต่ละช่วงเวลา สามารถลดต้นทุนได้ ประมาณ 200 บาท/ไร่/ปี ซึ่งโดยปกติเกษตรกรไม่ได้เก็บดินวิเคราะห์

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อวันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559