แนะปลูกกล้วยไข่กำแพงเพชร ปลูกอย่างไรให้ได้ 2 ตัน ต่อไร่

กล้วยไข่ เป็นอีกไม้ผลที่ไม่เพียงมียอดจำหน่ายในประเทศสูง ขณะเดียวกัน ในกลุ่มตลาดผลไม้ที่ไทยส่งออกต่างประเทศถือว่ากล้วยไข่มียอดสูงในระดับที่น่าพอใจด้วยเช่นกัน

ปัญหาประการหนึ่งของกล้วยไข่คือคุณภาพ ที่ผ่านมาพบว่าคุณภาพกล้วยไข่ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ถึงแม้ว่าคุณภาพกล้วยไข่จะไม่ได้สร้างปัญหาต่อตลาดในประเทศก็ตาม แต่คงเป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าชาวสวนปลูกกล้วยไข่ได้คุณภาพส่งขายต่างประเทศเพื่อจะได้ราคาสูง

“กำแพงเพชร” เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเรื่องกล้วยไข่มาช้านาน เนื่องจากชาวบ้านปลูกกันมาตั้งแต่ปี 2465 ตลอดเวลานับแต่อดีตคุณภาพกล้วยไข่ของกำแพงเพชรสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัด จนพูดกันติดปากว่า “กล้วยไข่กำแพง” แล้วที่สำคัญผลไม้ประจำถิ่นชนิดนี้ยังผูกพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่นคือ งานเทศกาลสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2424 เป็นต้นมา

kk10-%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89-250-%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%97

เมื่อปี 2556 ทีมงานเทคโนฯ ลงพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อจัดทำสกู๊ปพิเศษกล้วยไข่ ในคราวนั้นได้พูดคุยกับนักวิชาการเกษตรของจังหวัดพบว่า แต่เดิมมีพื้นที่ปลูกกล้วยไข่นับหลายหมื่นไร่ แต่มาประสบปัญหาภัยธรรมชาติกับโรคพืชจึงทำให้พื้นที่การปลูกลดลงหลักพันไร่ จนทำให้ผลผลิตตกลงอย่างน่าใจหาย

นักวิชาการ ชี้ว่า ปัญหาแรกและเป็นปัญหาหลักสำคัญคือ ลมพายุ ซึ่งภายใน 1 ปี จะเกิดขึ้น 2 ช่วง ที่จะพัดเข้ามาทางจังหวัดกำแพงเพชร ช่วงแรก เป็นลมพายุช่วงฤดูแล้ง จะพัดผ่านมาประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน โดยในช่วงนั้นกล้วยไข่กำลังเจริญเติบโต ความรุนแรงของลมทำให้ต้นกล้วยไข่หักและโค่นล้ม

ช่วงที่สอง เป็นลมพายุช่วงฤดูฝน จะพัดเข้ามาราวเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยในช่วงนั้นกล้วยไข่กำลังตกเครือ ขณะเดียวกัน เป็นช่วงที่ราคากล้วยไข่มีราคาสูง พอมีลมพายุพัดเข้ามา กล้วยไข่ได้รับความเสียหาย ฉะนั้น เหตุการณ์ทั้งสองช่วงจึงทำให้เกษตรกรชาวสวนเกิดความท้อแท้

ปัญหาประการต่อมาคือเรื่องโรคกล้วยไข่ ที่พบมากคือ โรคใบไหม้ เมื่อโรคนี้เกิดมีการระบาดมาก ขณะเดียวกัน เกษตรกรนำพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกต่ออีก จึงมีการแพร่ระบาดอย่างหนักขึ้น

และปัญหาประการสุดท้ายคือ เรื่องแรงงาน เพราะกล้วยไข่เป็นไม้ผลที่ต้องเอาใจใส่มากในทุกกระบวนการปลูก ไม่ว่าจะเป็นการตัดแต่งหน่อ ทางใบ การดูแลเรื่องน้ำ เรื่องดิน และการบริหารจัดการในสวน ดังนั้น หากเกษตรกรมีจำนวนคนดูแลเรื่องเหล่านี้น้อยเกินไปแล้วไม่สอดคล้องกับเนื้อที่ปลูก ก็จะส่งผลต่อการปลูกและผลผลิตที่เกิดขึ้น

 

kk1-%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b8%b0%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%a2

อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักกล้วย 1 ตั้ง จะอยู่ประมาณ 9-11 กิโลกรัม เมื่อคำนวณต้นทุนแล้วจึงกำหนดราคาขายไว้ที่กิโลกรัมละ 18 บาท (25 สิงหาคม 2559) คุณนพพล ชี้ว่า วิธีการนี้เพิ่งนำมาใช้ และยังไม่ทั่วทุกแห่งในจังหวัด แต่จะค่อยๆ ปรับให้เป็นแนวทางเดียวกัน

สำหรับราคาขายในกรุงเทพฯ ประมาณหวีละ 70 บาท (25 สิงหาคม 2559) ราคานี้วางจำหน่ายทั่วไป แต่ในกรณีที่วางตามห้างหรือเป็นกล้วยไข่ออร์แกนิกจะวางขายในราคาหวีละ 100 บาท ส่วนราคาที่ส่งออกจากสวนเพียงหวีละ 20 กว่าบาทเท่านั้น

ความไม่แน่นอนเรื่องจำนวนผลผลิตกับคุณภาพผลผลิตในช่วงที่ผ่านมา ทำให้สมาชิกกลุ่มมองเห็นว่ายังไม่ควรตั้งราคาขายให้สูงเกินไป ควรรอให้ทุกอย่างนิ่งเสียก่อน แต่ในอนาคตถ้าทุกอย่างปรับปรุงอย่างได้มาตรฐานในทางที่ดีขึ้นแล้ว เห็นว่าคงต้องขยับราคาเพื่อให้ชาวบ้านมีแรงจูงใจในการปลูกเพิ่มมากขึ้นด้วย

การปลูกกล้วยไข่คุณภาพ

คุณป้าพิมพ์ และ คุณลุงไพริน คำพวงวิจิตร
คุณป้าพิมพ์ และ คุณลุงไพริน คำพวงวิจิตร

ส่วนปัญหาที่เกิดเป็นประจำคือ โรคใบไหม้ แล้วยังต้องเผชิญกับภัยจากพายุลมแรงที่พัดจนต้นกล้วยหักโค่นเสียหาย ซึ่งลมพายุดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงที่กำลังมีผลผลิต แล้วสังเกตทุกปีมักเกิดขึ้นหลังจากเข้าหน้าฝน ทั้งนี้ ถ้าตกเครือก็ยังช่วยให้ปลอดภัย แต่ถ้าเกิดในช่วงต้นขนาดเล็กตายอย่างเดียว ฉะนั้น เพียงแก้ไขในเรื่องโรคใบไหม้ได้ ก็จะทำให้กล้วยมีคุณภาพดีกว่าเดิม แล้วมีผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

ผลที่เกิดขึ้นจากปัญหา คุณลุงไพริน ชี้ว่า จากที่สมัยก่อนเคยเก็บหน่อไว้ถึงตอที่ 2-3 ได้ แต่ภายหลังทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะคอยจะขึ้นเหง้า ดังนั้น ในทุกปีจะต้องมีการขุดออกแล้วปลูกเป็นกล้วยรุ่นใหม่

คุณลุงไพรินเผยตัวเลขผลผลิตที่เกิดจากการปลูกกล้วยไข่ที่กำแพงเพชรในแต่ละปีคงไม่มีความแน่นอน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเป็นตัวแปรสำคัญ แต่ภายหลังที่มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มจึงตกลงมีการซื้อ-ขายผลผลิตกันเป็นกิโลกรัม แต่พื้นที่แถวสามเงาจะมีราคาขายกิโลกรัมละ 25 บาท สูงกว่าที่กำแพงเพชรที่มีราคาขายประมาณกิโลกรัมละ 18 บาท

การสะสมประสบการณ์ที่ยาวนานของคุณป้าพิมพ์และคุณลุงไพริน จนเกิดทักษะความชำนาญการปลูกกล้วยไข่ จึงทำให้สวนของพวกเขาได้ผลผลิตประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ และถือเป็นจำนวนผลผลิตที่สูงได้มาตรฐานอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นเช่นนี้ทุกปี

ความจริงแล้วกล้วยไข่กำแพงเพชรมีรสชาติอร่อยกว่าที่อื่น มีชาวบ้านหลายรายพยายามนำหน่อกล้วยในพื้นที่ออกไปปลูกยังแหล่งอื่นที่ใกล้เคียงจังหวัดกำแพงเพชร แต่พบว่ารสชาติอร่อยน้อยกว่า แม้จะใช้หน่อเดิม ทั้งนี้ คุณลุงไพริน ชี้ว่า น่าจะเกิดจากคุณภาพดินของจังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งถ้าพ้นออกไปแล้ว รสชาติตลอดจนลักษณะผลมักเปลี่ยน

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อวันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559