“จุลินทรีย์หน่อกล้วย-ฮอร์โมนไข่” สูตรเด็ดความสำเร็จ นาข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์กว่า 300 ไร่

อาจารย์ชัชวาลย์ เวียร์ร่า อยู่บ้านเลขที่ 121 หมู่ที่ 5 ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์กว่า 300 ไร่ โดยขั้นตอนการผลิตก็อินทรีย์ล้วนๆ ตั้งแต่การปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป

อาจารย์กล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การทำนาอินทรีย์ประสบความสำเร็จ คือการทำจุลินทรีย์หน่อกล้วยเพื่อเตรียมและปรับปรุงบำรุงดิน รวมทั้งฮอร์โมนไข่ 

โดย “จุลินทรีย์หน่อกล้วย” นั้นประกอบด้วย ไส้ของหน่อกล้วย ที่ได้จากหน่อหนุ่มสาว ลอกกาบออก ให้เหลือเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 นิ้ว ตัดเป็นท่อนยาว 50 เซนติเมตร ทุบให้ช้ำ อย่างอื่นมี กลูโคส 1 กระป๋อง (ราว 450 กรัม) น้ำส้มสายชู 1 ขวด (ราว 750 ซีซี) ขัณฑสกร 2 ช้อนโต๊ะ แป้งข้าวหมาก 6 ก้อน นมเปรี้ยว 1 ขวดเล็ก

นำสิ่งที่แนะนำมาใส่รวมกันในถัง 200 ลิตร จากนั้นเติมน้ำให้เต็ม นำไปวางไว้กลางแดด ใช้หินที่เป็นก้อนๆ ซึ่งเขาใช้ถมเป็นเขื่อนกันดินพัง หุ้มด้วยตาข่าย วางลงไปยังถัง 5-7 วัน ดูที่หินเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน สามารถนำออกใช้งานได้

อัตราที่แนะนำ 5 ลิตร ต่อไร่ หรือจะมากกว่านี้ก็ได้ มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย เริ่มใช้เมื่อมีการเตรียมดิน โดยเทลงแปลงนา หรือจุดปล่อยน้ำเข้า จะช่วยย่อยสลายฟางข้าว ไม่ต้องเผา จากนั้นเติมลงไปในนา 10 วันครั้ง

หมายเหตุ: อาจารย์ไม่แนะนำให้ใช้กากน้ำตาล

อาจารย์ชัชวาลย์ เวียร์ร่า

ด้านวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำ “ฮอร์โมนไข่” ประกอบด้วย

ไข่อินทรีย์ที่มีเชื้อ หมายถึง เกิดจากการผสมพันธุ์ของตัวผู้และตัวเมีย จำนวน 4 ฟอง น้ำจุลินทรีย์ 5 ลิตร น้ำผึ้งแท้ 100 ซีซี กลูโคส 450 กรัม หากเป็นฤดูหนาวเติมน้ำมะพร้าว สังกะสี และแมงกานีสลงไปด้วย (มีจำหน่ายตามร้านวัสดุอุปกรณ์การเกษตร)

โดยส่วนผสมทั้งหมดนั้นเมื่อผสมแล้วใช้ได้เลย หากเหลือเก็บไว้ใช้ได้นาน อัตราที่แนะนำ ใช้ 1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นให้ต้นข้าวทุก 10 วัน

ทำนาแบบอินทรีย์ “แมลงศัตรู” มีบ้าง
ไม่ใช่กำจัดอย่างเดียว

การทำนาอินทรีย์ มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงบ้าง แต่เพราะมีระยะของต้นข้าวที่พอเหมาะ ทำให้ต้นข้าวใบตั้งแข็งแรง แมลงบางตัว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงเพียงมาอาศัยอยู่เท่านั้น การทำลายแทบไม่พบเห็น

ข้อคิดที่น่าสนใจอย่างหนึ่งนั้น อาจารย์แนะนำว่า แมลงชอบมาทำลายต้นข้าวช่วงเดือนมืด ดังนั้น จะใช้กับดักกาวเหนียวดักจับแมลง

“แมลงบางชนิดมีประโยชน์ เกษตรกรไปกำจัดหมด เมื่อมีแมลงศัตรูพืชมา ต้องมีตัวห้ำตัวเบียน เดือนมืดโจรมา ผมใช้ฟิวเจอร์บอร์ดทาด้วยกาวดักแมลง เดือนมืดแมลงมา ข้างขึ้นไม่ม “คนเกิดข้างขึ้นฉลาดกว่าคนเกิดข้างแรม พืชเกิดข้างขึ้น เติบโตดีกว่าข้างแรม” โบราณถือเป็นตำนาน ทำนาข้าวต้องทำข้างขึ้นครับ ปลูกพืช ปลูกบ้าน ทำงานมงคลข้างขึ้น ผมทำอะไรเน้นข้างขึ้น…ควรให้เกษตรกรรู้เรื่องการใช้ปัจจัยการผลิต ผมไม่ให้เข้าเลยยูเรีย

ตัวอย่าง คนเหนือกินอาหารอย่าง คนภาคกลางกินอาหารอย่าง เพราะฉะนั้น เอ็นพีเค ไม่ใช่อาหารสำเร็จ ไม่รู้ว่าพืชขาดอะไร เกษตรกรรู้ เอ็นพีเค ว่าต้องใส่ ขาดไม่ได้…ถามว่าทำไมขาดไม่ได้ เพราะว่าในตลาดมีขาย

แนะนำกันไว้อย่างนี้ ในแปลงนาอินทรีย์ของเราไม่ใช้เคมีเลย เราใช้จุลินทรีย์ น้ำร้อนเพราะดูดซับแสงแต่ดินต้องเย็น ไม่ว่าฤดูกาลไหน ไม่เห็นรากพืชเราเป็นสีน้ำตาล เราเห็นรากสีขาวแตกฝอยเป็นเส้น ไม่มีการเจ็บป่วยทางราก รากกระจายรอบต้นเยอะมาก อายุข้าว 1 เดือน ถอนไม่ขึ้น ผมบอกเกษตรกรให้ทำนาดำ เกษตรกรจะลดต้นทุนได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ครับ กำไร 50 เปอร์เซ็นต์ อยู่ได้แล้วครับ นาที่ใส่ปุ๋ยเคมี 30-40 ปี ดินเป็นกรด ถ้านำดินไปสังเคราะห์นั่นแหละเป็นโรงงานปุ๋ย” เป็นแง่คิดในการทำนาหลายๆ เรื่อง ที่อาจารย์ชัชวาลย์ แนะนำ

หมายเหตุ: ปัจจุบัน ท่านอาจารย์ชัชวาลย์ เวียร์รา ได้เสียชีวิตแล้ว