เปลี่ยนนาข้าว หันทำสวนมะพร้าวน้ำหอม ทำเงินมากกว่าที่คิด

วิกฤตชาวนา”ยิ่งทำ ยิ่งจน” จากปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ธรรมชาติลงโทษ ชาวนาหลายชีวิตต้องทิ้งที่นา ปล่อยให้ที่นารกร้างว่าเปล่า ดิ้นรนเข้าเมืองทำงานรับจ้างแทน

“สุเทพ ชูศรี” วัย 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 3 ต.โรง อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา พลิกผืนนาจำนวน 30 ไร่ เกษตรกรคนหนึ่งที่ประสบปัญหา หาทางออกด้วยการพลิกผืนดินนาข้าว 30 ไร่ เปลี่ยนอาชีพมาทำสวนมะพร้าวน้ำหอม จนประสบความสำเร็จ ด้วยการเพิ่มเทคนิคทำเป็นมะพร้าวโนบรา สร้างมูลค่าเพิ่มขายลูกละ50 บาท ฮิตติดตลาดเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ส่งขายในตลาดทั่วไปและห้างดัง

1470899451

“สุเทพ”จากที่เคยทำนาข้าวมายาวนาน รายได้พออยู่พอกิน ชักหน้าพอถึงหลัง แต่ระยะหลังดินเสื่อมสภาพ ต้องใช้ปริมาณปุ๋ยเคมีเพิ่ม ทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น โรคซ้ำกรรมซัดราคาข้าวตกต่ำ รายได้ไม่พอจุนเจือครอบครัว

จึงมองหาอาชีพใหม่ที่มีอนาคตมาทดแทนอาชีพทำนา เดินทางไปดูการทำการเกษตรหลายตัว จึงตัดสินใจทำสวนมะพร้าวน้ำหอมแทนตั้งแต่ปี 2551 เพราะมะพร้าวน้ำหอมกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก ลงแรงปลูกมะพร้าวน้ำหอมในผืนนา 30 ไร่ 1,300 ต้น

จากอดีตที่เคยทำนาและประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำและเคยเป็นแกนนำปิดถนนประท้วงมาแล้ว แต่ก็ต้องถอดใจจนต้องเลิกทำนาในที่สุด

“เทพ”บอกว่าแรกๆปลูกมะพร้าวน้ำหอม ก็ยังไม่รู้ว่าจะหาตลาดที่ไหน แต่เมื่อมะพร้าวออกผลผลิตหลังปลูก 3 ปี ก็ไม่ได้มีปัญหาอย่างที่คิด แต่กลับมีตลาดรองรับจำนวนมากทั้งใน จ.สงขลาและจังหวัดใกล้เคียง และใช้เวลาว่างส่วนหนึ่งขายเองลูกละ 10-20 บาท ไม่คิดหวนกลับไปทำนาอีก เนื่องจากทำสวนมะพร้าวน้ำหอมมีรายได้ที่ดีกว่า

1470899426

“ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าของมะพร้าวน้ำหอม โดยการคว้านให้เหลือเฉพาะเนื้อกับน้ำมะพร้าวและตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ว่า”มะพร้าวโนบรา” เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์จนฮิตติดตลาด หลังจากที่ไปเห็นแถวภาคกลางและกลับมาลองทำดู จนขณะนี้จะทำเป็นมะพร้าวโนบราทั้งหมด ไม่ขายเป็นลูกหรือเป็นทลายเหมือนที่ผ่านมาเนื่องจากขายได้ลูกละ 50 บาทและ มีตลาดรองรับทั้งตลาดทั่วไปและส่งห้างเช่นห้างเซลทรัลเฟสติวัลหาดใหญ่ เพิ่มช่องทางตลาดทั้งไลน์และเฟสบุ๊คส์ มีกระแสตอบรับดีมาก”

“มะพร้าวโนบรา” ติดตลาดทั้งใน จ.สงขลาและจังหวัดใกล้เคียง จนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด เนื่องจากการสับมะพร้าวที่เอาเปลือกและ แคะเอาเนื้อออกมา ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ไม่ให้เนื้อมะพร้าวแตกและ การแพ๊คกิ้งจะมีตะกร้าสานด้วยใบตาล รองก้นด้วยใบตองและใบเตย ส่วนหลอดดูดทำจากต้นลาโพธิ์ที่มีเป็นจำนวนมากใน อ.กระแสสินธุ์และ ซีลด้วยพลาสติก นำไปแช่เย็นเพื่อให้ดูดีและน่ารับประทานยิ่งขึ้น