ประเภทของข้าว 7 ชนิด ที่คนไทยนิยมทาน

“ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนไทยมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลและถือเป็นชีวิตจิตใจของคนไทย การทำนาจึงเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และถือได้ว่าข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญยิ่ง ที่นำรายได้จำนวนมากเข้าสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ

จะพาไปทำความรู้จักกับชนิดของข้าว ที่นิยมทานกันในบ้านเรา ทั้ง 7 ชนิดว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างกัน แต่ละชนิดให้สัมผัสที่ต่างกัน ทั้งรสชาติและกลิ่น พร้อมแล้วไปสัมผัสข้าวแต่ละชนิดกันได้เลย

ขอบคุณภาพจาก : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ขอบคุณภาพจาก : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. ข้าวหอมมะลิ 

ข้าวหอมมะลิ เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จัดเป็นข้าวนาปี ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ลักษณะข้าวเปลือกเรียวยาว เมื่อสีเป็นข้าวสารจะได้ข้าวเมล็ดเรียว ยาว ขาวใสเป็นเงา มีท้องไข่น้อย มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย ลักษณะที่สำคัญของข้าวหอมมะลิคือ เมื่อหุงหรือนึ่งสุกแล้วเมล็ดข้าวสุกจะอ่อนนุ่มมากกว่าข้าวเจ้าทั่วไป แต่ร่วนน้อยกว่าและมีกลิ่นหอม เป็นข้าวเจ้าที่มีคุณภาพเมล็ดดีมาก เมล็ดข้าวสารใส แข็งแรง คุณภาพการขัดสีดี ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลก

วิธีการหุงข้าวหอมมะลิ

ข้าวหอมมะลินับว่าเป็นข้าวที่หุงง่ายที่สุดเพราะมีความนิ่มอยู่แล้ว เรื่องปริมาณน้ำในการหุงข้าวจะเป็นไปในอัตราส่วนข้าว 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 1.5 ส่วน เมื่อหุงสุกแล้ว ทิ้งข้าวไว้ในหม้อให้ระอุต่ออีก 15 นาทีก็เป็นอันเสร็จ หากใช้ข้าวหอมมะลิเก่าข้ามปี ควรใส่น้ำในปริมาณที่มากขึ้นกว่าอัตราส่วนที่กำหนดไว้เล็กน้อย เพื่อให้เมื่อหุงสุกข้าวจะมีความนุ่มน่าทาน แต่ถ้าหากต้องการให้ข้าวเรียงเม็ดกันสวยงาม ขณะหุงข้าวให้บีบมะนาวลงไปประมาณครึ่งลูก

2. ข้าวขาว 

Advertisement

ข้าวที่มีการนำไปกระเทาะเปลือกออกแล้วนำไปขัดสีของเยื่อหุ้มข้าวออกไป ทำให้มีสีขาวสวย เป็นข้าวที่มีราคาประหยัดที่สุดในท้องตลาด ให้พลังงานได้ดี ทานง่าย อิ่มท้อง เหมาะสำหรับร้านอาหารในการทำเมนูอาหารตามสั่ง ข้าวกล่อง หุงเป็นข้าวสวยทานก็คู่กับข้าว หรือจะเน้นทำเป็นเมนูข้าวผัดก็ตอบโจทย์ เพราะเม็ดข้าวร่วน ไม่แฉะ เละง่าย

วิธีหุงข้าวขาว

Advertisement

ก่อนนำข้าวขาวไปหุงให้แช่ข้าวด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 30-45 นาที นำข้าวใส่หมอ เกลี่ยให้เสมอกัน แล้วใส่น้ำตามหลักข้อนิ้วศึกษา (หนึ่งข้อนิ้วถือว่าดี) ถ้าหากใช้ข้าวเก่าข้ามปีปริมาณของน้ำก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

แนะกิน 'ข้าวกล้อง' ตามรอยพ่อหลวง มีเส้นใย-วิตามินต้านอนุมูลอิสระ สกัดโรคเพียบ

3. ข้าวกล้อง 

ข้าวกล้อง คือ ข้าวที่สีเอาเปลือก (แกลบ) ออกไป ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี ทำให้ยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว ซึ่งเป็นส่วนที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนประมาณ 6-12% มีวิตามินบี 1 บี 2 บี 6 วิตามินอี เกลือแร่ รวมทั้งมีเส้นใยอาหารมาก ข้าวกล้องจึงเป็นอาหารที่เหมาะต่อสุขภาพ นอกจากทานสุกแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มรสชาติ คุณค่าและมูลค่าได้อีกด้วย

วิธีหุงข้าวกล้องงอก

  1. ซาวข้าวเพื่อล้างเอาสิ่งสกปรกออก 2-3 ครั้ง
  2. เทน้ำเปล่าให้ท่วมข้าวอาจจะใช้นิ้ววัดแบบที่เคยหรือจะใช้อัตราส่วนข้าว 1 ส่วนต่อน้ำ 3 ส่วนก็ได้ค่ะ
  3. เทน้ำส้มสายชูกลั่น 5% ลงไปผสม 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือมะนาวครึ่งลูกบีบลงไปเลย
  4. หุงข้าวตามปกติ หลังข้าวสุก อบต่อให้หม้อให้ระอุอีก 15 นาที
ขอบคุณภาพจาก : Mthai
ขอบคุณภาพจาก : Mthai

4. ข้าวกล้องงอก 

ขอบคุณภาพจาก : hellokhunmor.com
ขอบคุณภาพจาก : hellokhunmor.com

5. ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 

ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีลักษณะเรียวยาว ผิวมันวาว เป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้มคล้ายกับลูกเบอร์รี่ที่มีสีม่วงเข้มเมื่อสุก เป็นข้าวเจ้าพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการคัดเลือก และพัฒนาพันธุ์ขึ้นโดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง ข้าวเจ้าหอมนิล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พันธุ์พ่อ) กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากสถาบันวิจัยข้าว (พันธุ์แม่) โดยเริ่มผสมพันธุ์เมื่อ ปี พ.ศ. 2545 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  

วิธีหุงข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ให้นุ่ม อร่อย ได้ประโยชน์

1. ตวงข้าว โดยใช้ข้าว 2 ถ้วย

2. ซาวข้าว หรือน้ำข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่มาล้างน้ำ 2 รอบ

3. จากนั้นเติมน้ำลงไป อัตราส่วนที่จะทำให้ข้าวกล้องไม่แข็ง นุ่ม อร่อย ได้ประโยชน์ คือ ข้าวกล้อง 1 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน เช่น วันนี้หุงข้าว 2 ถ้วย ต้องใส่น้ำ 4 ถ้วย

4. เคล็ดลับที่จะทำให้ข้าวกล้องนุ่มฟู อร่อย คือใส่น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวลงไป 1 ช้อนชา การใส่น้ำส้มสายชูลงไปยังช่วยไม่ให้ข้าวบูดไวอีกด้วย

5. เคล็ดลับอีกข้อคือ แช่ข้าวทิ้งไว้ 30 นาที เพื่อให้ข้าวดูดซับน้ำ ข้าวกล้องจะได้นุ่ม อร่อย จากนั้นกดหุงข้าวตามปกติ เมื่อข้าวสุกแล้วให้ปิดฝาทิ้งไว้อีก 10 นาที ความร้อนระอุจะทำให้ข้าวยิ่งนุ่มอร่อย

ขอบคุณภาพจาก : รักษ์ข้าว
ขอบคุณภาพจาก : รักษ์ข้าว

6. ข้าวเหนียว

กินคู่กับอาหารคาวก็ดี นำมาทำขนมก็อร่อย คุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ และปัญหาวุ้นในตาเสื่อม

ข้าวเหนียว เป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้ว ยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียว เพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว “ข้าวเหนียว” มีหลากหลายสายพันธ์ุในประเทศไทย เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวสันป่าตอง ข้าวเล้าแตก (ให้ผลผลิตมาก) ข้าวแลกหลาน ข้าวเหนียวแดงใหญ่ ข้าวก่ำล้านนา ข้าวไร่ลืมผัว

วิธีหุงข้าวเหนียว โดยใช้หม้อหุงข้าว

1. นำข้าวเหนียวไปล้างทำความสะอาด 2-3 น้ำ จากนั้นนำมาใส่ในตะแกรงเพื่อให้สะเด็ดน้ำ

2. นำผ้าขาวบางชุบน้ำ บิดออกให้พอหมาด นำไปรองในก้นหม้อหุงข้าวเพื่อเป็นฐาน

3. เทข้าวเหนียวที่พักไว้จนสะเด็ดน้ำลงไปในหม้อหุงข้าวที่มีผ้าขาวบางรองไว้ เทน้ำใส่ลงไป ในสัดส่วนเท่ากับที่ตวงข้าว 1/1 เกลี่ยให้ข้าวเรียบเสมอกัน ปิดฝากดหุงตามปกติ

4. เมื่อหุงจนไฟตัดแล้ว ให้เราเปิดฝา นำทัพพีมาคนข้าวเหนียวขึ้นมาให้ทั่ว เพื่อให้สุกเสมอกัน

5. จากนั้นปิดฝาอีกครั้ง ทิ้งให้อยู่ในโหมดวอร์มเป็นเวลา 20-30 นาที เปิดฝา เป็นอันเสร็จ

ข้าวญี่ปุ่น 'โรงสีข้าวจิราภรณ์' ความอร่อยเกรดพรีเมียม เปี่ยมคุณภาพ - เทคโนโลยีชาวบ้าน

7. ข้าวญี่ปุ่น 

ข้าวญี่ปุ่นเป็นข้าวเมล็ดสั้น จัดอยู่ในกลุ่มจาโปนิกา (Japonica rice) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น ทำการปลูกและทานกันมากในประเทศจีน ไต้หวัน เกาหลี และญี่ปุ่น ลักษณะของข้าวญี่ปุ่นโดยทั่วไป ได้แก่ ต้นเตี้ย แตกกอมาก เมล็ดสั้นป้อม หุงแล้วมีความเหนียวมากโดยให้ผลผลิตสูงเฉลี่ยประมาณ 750-850 กิโลกรัมต่อไร่ และสามารถให้ผลผลิตได้สูงสุดถึง 1,350 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวญี่ปุ่นเป็นข้าวที่ไม่ไวต่อแสงปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและฤดูนาปรัง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศในประเทศไทยได้ดีให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี

วิธีหุงข้าวญี่ปุ่น โดยใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
1. เทข้าวญี่ปุ่นลงในชามผสม ตามปริมาณที่ต้องการ จากนั้น ใส่น้ำลงในหม้อ ซาวข้าวเบาๆ แล้วเทน้ำออก
2. ใช้มือขัดเมล็ดข้าว อย่างน้อย 10 ครั้ง แล้วใส่น้ำ ล้างยางข้าวออก ทำอย่างนี้ อีก 2-3 รอบ หรือจนกว่าน้ำล้างข้าวจะขาวใส ไม่ขุ่น
3. ใส่ข้าวสารในหม้อหุงข้าว เติมน้ำสะอาดลงไป โดยปริมาณน้ำควรอยู่ที่ประมาณ 1.2-1.4 เท่าของข้าวสาร เช่น หากหุงข้าวสาร 200 กรัม ก็ควรเติมน้ำ 240-280 กรัม

4. จากนั้น ให้แช่ข้าวทิ้งไว้ในหม้อประมาณ 15-30 นาที เพื่อให้เม็ดขาวดูดซึมน้ำจนเม็ดฟูอิ่มน้ำ

5. หลังจากนั้น กดโหมดหุงข้าว จนกว่าข้าวจะสุก เป็นอันเสร็จ

“ข้าว” จัดว่ามีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านเราไม่ว่าใครๆ ก็จะทานข้าวเป็นอาหารหลัก เพราะเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานและความอบอุ่น นอกจากนี้ ยังใช้ทำเป็นขนมหวานต่างๆ ทำปุ๋ย ของใช้ ของเล่นต่างๆ เครื่องประดับ และใช้เป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย

ขอบคุณอ้างอิงจาก : กรมการข้าว / trueID / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

————————————————————————————————————–

มาแน่! #มหัศจรรย์ข้าวไทย2024 🍚 งานที่มัดรวมข้าว GI สุดแสนหายากจากทุกสารทิศทั่วไทยมาไว้ในงานเดียว พร้อมเดินทัวร์ให้รู้ว่าข้าวไทยทำถึง กับนิทรรศการข้าวสุดอลัง ฟังเสวนาที่ครบรสทั้งความรู้และความบันเทิง

จัดเต็มกับเวิร์กช็อป และการสาธิตสารพัดเมนูจากข้าวทั้งคาว-หวานครบรส #ข้าวไทย ก็ทำได้จริง แถมได้ช้อปปิ้งสินค้าเกี่ยวกับข้าวที่หลากหลายกันให้หนำใจ

มาชิมให้รู้ มาชมให้เห็นกับตาว่า #ข้าวไทยอร่อยที่สุดในโลก 📅 เตรียมตัวพบกันวันที่ 31 พฤษภาคม ถึง 2 มิถุนายน นี้ 🏬ที่ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เดินทางสะดวกด้วยรถโดยสารสาธารณะ, รถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีสามย่าน ทางออกที่ 2 เข้าฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย