เผยแพร่ |
---|
ในปัจจุบันการเพาะเห็ดสำหรับการค้าขายนั้นเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยเห็ดสายพันธุ์ที่มักเพาะเลี้ยงในประเทศไทยคือ เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรม เห็ดขอนขาว-ขอนดำ เห็ดบด เห็ดโคนญี่ปุ่น หรือเห็ดหูหนู เป็นต้น ซึ่งจะนิยมเพาะเลี้ยงเห็ดในถุงพลาสติก เนื่องจากสามารถใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จำพวกขี้เลื่อยและฟางข้าวมาประกอบการเพาะเลี้ยงเพื่อลดต้นทุนการบำรุงพันธุ์ และมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อน แต่ก่อนที่จะเริ่มทำการเพาะเห็ดชนิดใดๆ เทคโนโลยีชาวบ้านชวนมาศึกษาโรคในเห็ด เพื่อให้การ เพาะเลี้ยงนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด และป้องกันการสูญเสียจากการบุกรุกของโรคต่างๆ โดยปัญหาที่พบนั้นมี ที่มาจากหลายสาเหตุ อาทิ ถุงพลาสติกในการเพาะเลี้ยง ศัตรูพืช และสาเหตุอื่นๆ เช่น การแปรปรวนของสภาพอากาศ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือสภาพภายในโรงเรือนมีความไม่เหมาะสม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นต้นตอในการเกิดโรคต่างๆ ในเห็ดได้ ซึ่งปัญหาที่อาจพบได้ในการกระบวนการเพาะเห็ดคือ การติดเชื้อรา โรคราสนิม โรคดอกหงิก และโรคเกิดที่จากเชื้อแบคทีเรีย
- การติดเชื้อรา คือ การที่เชื้อราเข้ามาทำให้การเจริญเติบโตของเห็ดชนิดต่างๆ นั้นหยุดชะงักหรือชะลอการเจริญเติบโตลง ผ่านกระบวนการแย่งอาหารของเห็ด โดยอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระยะหัวเชื้อหรือปะปนมากับหัวบัวบรรจุในถุงพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราในกลุ่มแอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus) หรือ ราดำ ซึ่งจะพบ ได้ที่บริเวณส่วนบนของปากถุงพลาสติกบรรจุเห็ด โดยสามารถสังเกตได้จากขี้เลื่อยในถุงของเห็ดที่จะมีลักษณะ สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ และจะขยายเป็นวงกว้างเมื่อทิ้งไว้เป็นเวลานาน อีกกลุ่มหนึ่งคือเชื้อรากลุ่มสีเขียว หรือ Green Mould (Trichoderma. Gilocladium) ที่สามารถสังเกตได้จากหย่อมสีเขียวที่เกิดจากการรวมตัวของ สปอร์เชื้อบริเวณถุงเห็ด
- โรคราสนิม มักเกิดขึ้นในการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ โดยมีอาการเกิดสีน้ำตาลคล้ายสนิมบริเวณดอกและโคนของเห็ด ซึ่งอาจลุกลามจนขึ้นเป็นสีน้ำตาลทั่วทั้งดอก อันมีสาเหตุมาจากการเกิดของดอกรุ่นแรกและสภาพ ภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง
- โรคดอกหงิก โรคดอกหงิกมักเกิดขึ้นกับเห็ดในตระกูลนางรมและเห็ดนางฟ้า ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการที่เห็ดมีดอกไม่สมบูรณ์ มีอาการหงิกหรืองอ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากอากาศที่ถ่ายเทได้ไม่ดี ทำให้ อากาศนั้นเข้ามาไม่ถึงบริเวณที่เห็ดตั้งอยู่ หรือเกิดจากที่แมลงหวี่เข้ามาเจาะท่อน้ำเลี้ยงของดอกเห็ด ส่งผลให้น้ำ ขึ้นไปเลี้ยงดอกเห็ดไม่เพียงพอ จึงทำให้ดอกเห็ดนั้นมีลักษณะหงิกงอในที่สุด อีกทั้งอากาศที่เย็นจัดก็ยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ดอกเห็ดไม่สมบูรณ์ เนื่องจากอากาศที่เย็นมากๆ จะทำให้ความชื้นในอากาศต่ำจนทำให้ ดอกเห็ดขาดน้ำนั่นเอง
- โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยโรคที่เกิดจากเชื้อบักเตรีนั้นสามารถพบได้ทั้ง โรคเน่าสีน้ำตาลของเห็ดภูฐาน ที่จะมีจุดสีเหลืองอ่อนขึ้นบริเวณหมวกเห็ด และลุกลามขยายวงกว้างออกเป็นสีน้ำตาล ในขณะที่ก้าน ดอกจะมีลักษณะเป็นรอยเปื้อนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลแดง ซึ่งจะส่งผลให้ดอกเล็กนั้นมีขนาดเล็กและผิวหมวกของเห็ดเกิดอาการช้ำได้ง่าย และโรคเน่าเหลืองของเห็ดสกุลนางรม ที่สามารถสังเกตอาการได้จากการที่ดอก เห็ดที่โผล่พ้นบริเวณปากคอขวดมีลักษณะเล็กกว่าปกติ มีอาการม้วนงอ หรือดอกเหี่ยวเหลือง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในการเพาะเห็ดต่างๆ จะสามารถพบโรคในเห็ดที่อาจสร้างความสูญเสียทางมูลค่ากับผลผลิตได้ แต่การป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ผ่านการหมั่นดูแลและตรวจสอบถุงเห็ดอยู่เสมอ อีกทั้งการป้องกันยังสามารถทำได้ตั้งแต่การสร้างโรงเรือน ที่ไม่ควรสร้างในขนาดที่ใหญ่จนเกินไป และหากมีความต้องการที่จะสร้างโรงเรือนติดกัน ก็ควรที่จะสร้างโรงเรือนให้มีระยะห่าง 1-2 เมตร โดยโรงเรือน ที่มีลักษณะที่ดีนั้นจะต้องสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี เก็บความชื้นได้ ปราศจากศัตรูเห็ด มีแสงสว่างที่เพียงพอ และตั้งอยู่ในทิศทางเดียวกับลม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20161208141403_file.pdf https://www.eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herb_gar/mushroom4.pdf https://www.bassbio.com/index.php?option=com_content&view=article&id=12&Itemid
=113
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.715359321935658.1073741836.515794298558 829&type=3&paipv=0&eav=AfYrPLw9wc2u791lsODoH-
kZ_kKRdO1WhMctWiivx6Zddg4BiVJEJKaN5CRwKgDmUgk&_rdr
https://baansuanubon.wordpress.com/2013/09/03/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B 8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82
%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0
%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8
%AD/