เตรียมรับมือโรคราแป้งในถั่วลันเตา

ระยะนี้จะมีอากาศเย็น และมีน้ำค้างในตอนเช้า กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลันเตาให้ เฝ้าสังเกตการระบาดของโรคราแป้ง สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของถั่วลันเตา มักพบอาการของโรคได้กับทุกส่วนของพืช

อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่างติดโคนต้นก่อน โดยมีลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดกระจายเป็นหย่อมๆ ทั้งบนใบและใต้ใบ หากอาการรุนแรง จะเห็นต้นถั่วลันเตาขาวโพลนทั้ งต้น ทำให้ใบและส่วนต่างๆ บิดเบี้ยวเสียรูปทรง ใบจะเหลือง ไหม้ และร่วงก่อนกำหนด กรณีเกิดโรคในระยะออกดอก จะทำให้ต้นแคระแกร็น ติดฝักน้อย ฝักบิดเบี้ยว หรือฝักและเมล็ดลีบเล็กลง

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูก กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก และบริเวณใกล้เคียงนำไปเผาทำลาย นอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้น ลดแหล่งสะสมเชื้อราสาเหตุโรค ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่ อการระบาดของโรค หากเริ่มพบต้นที่เป็นโรค ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารซัลเฟอร์ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนแคป 19.5% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

หรือสารคอปเปอร์ซัลเฟต 30% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 12.5-25 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเฮกซะโคนาโซล 5% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน หลีกเลี่ยงการพ่นสารซัลเฟอร์ในส ภาพอากาศร้อน หรือมีแดดจัด เพราะอาจจะทำให้ใบไหม้ได้

สำหรับในแปลงที่ พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากต้นถั่วลันเตาไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค การปลูกในฤดูถัดไป ไม่ควรปลูกพืชแน่นจนเกินไป ควรปรับระยะปลูกให้มี ความเหมาะสม อากาศถ่ายเทสะดวก และมีแสงแดดส่องผ่านแปลงปลูกได้ อย่างทั่วถึง เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค

ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มี การระบาดแล้ว เกษตรกรควรนำเครื่องมือมาทำความ สะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้ แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุ กครั้ง