เกษตรแปลงใหญ่แบบอเมริกาใต้ พัฒนากันไปถึงไหนแล้ว

ดูเหมือนชีวิตดิจิทัลจะเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะว่า… มันสะดวกกว่ามากกกกกก

ถ้าคุณเคยเดินเล่นตลาดนัด เดี๋ยวนี้ คนขายบอกว่า โอนมาเลยนะคะ ทั้ง E banking หรือ กระเป๋าเงินออนไลน์ เพราะการขายที่ไม่จำกัดสถานที่ เวลา ทำให้รายเล็กมีโอกาสโต ขายได้ ไม่ต่างจากค้าปลีกรายใหญ่ เมื่อค้าปลีก สามารถใช้เทคโนโลยีทำให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่าย “พฤติกรรม” ปรับไปเอง ไม่ต้องบังคับ คนค้าขายซึ่งส่วนใหญ่คือคนเมืองก็ดีขึ้น เศรษฐกิจในเขตเมืองก็คึกคัก

หันมาที่คนส่วนใหญ่คือ 60% ของประเทศอยู่ในภาคการเกษตร คนชนบท ยังไม่มีเทคโนโลยีใช้ ยังไม่ซื้อสะดวกขายคล่อง และเลยยิ่งทำ ยิ่งจน งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า เกษตรกรไทยใช้เวลาในไร่นา นานกว่าเกษตรกรชาติอื่นๆ เพราะเรายังไม่ยอมก้าวไป 4.0 วันนี้รัฐผลักดัน นาแปลงใหญ่ หวังเพื่อแก้จน

แต่เคยสงสัยหรือไม่ ว่า จริงๆ แปลงใหญ่ คืออะไร

ถ้าในโลกนี้ มีประเทศอื่น ที่ค่อนข้างไกลจากเรา อย่าง บราซิล และสหรัฐฯ สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจ เหมือนที่เรามี และปลูกได้ถูกกว่า มีราคาขายที่ถูกกว่า เพราะแปลงของเขาใหญ่ขนาดหลักพันไร่ ถึงแสนไร่

เทคโนโลยีใหม่ ช่วยให้ทำเกษตรได้ง่ายขึ้น

โดยที่ดินทั้งหมด “ต้อง” ผสานเป็นหนึ่งเดียว ไร้รอยต่อ การหยอดเมล็ดพันธุ์ ให้ธาตุอาหาร ให้น้ำ ควบคุมผ่านเทคโนโลยี โดย คนไม่ถึง 10

ต้นทุนต่อไร่ ลดลง และผลิตผล ก็สูงมากกกกก

เมื่อได้เข้าไปแล้ว คุณอาจหาทางออกไม่เจอ

นี่แหละคือ สาเหตุที่ การทำไร่ ทำนาแปลงใหญ่

แต่แปลงใหญ่ที่กำลังทำอยู่ในประเทศไทย อาจจะระยะแรกเริ่ม กระมังค่ะ แต่ละแปลงเลย ต่างคนต่างอยู่ กระจัดกระจาย แต่ที่รวมกันแน่ๆ คือ รวมกันซื้อปัจจัยผลิตและรวมกันขาย

ในขณะที่ แปลงใหญ่ original เป็นผืนเดียวไร้รอยต่อ ต้นทุนการเพาะ เลยต่ำมาก

อยากจะขอหยิบยกเรื่องการลดต้นทุนขึ้นมาพูดสักหน่อยว่า ต้องต่ำระดับไหน จึงจะเรียกว่าดี ต่ำกว่าที่เคยเป็นมา หรือ  ต่ำเมื่อเปรียบเทียบ ต้นทุนและราคาขายในระดับโลก

เพื่อกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าแปลงใหญ่ทำไปเพื่ออะไร ถึงจะรู้ว่า แปลงของเราควรใหญ่แบบไหน

จะใหญ่แบบออริจินัลที่ทวีปอเมริกา หรือจะใหญ่กระจัดกระจายแบบไทยๆ

ถ้าพืชเศรษฐกิจที่ต้องแข่งกับราคาโลก ก็แบบออริจินัล

เพราะการทำงานมันแตกต่างกันมาก นาแปลงใหญ่ออริจินัล เราต้องทำงานหนักแต่คุ้มค่า คือผสานแปลง-เกลี่ยพื้นดิน-เลี้ยงดิน-จัดรูปที่ดิน

ซึ่งส่วนใหญ่ก็พบว่า เกษตรกรก็กลัวเสียที่ดินไป เพราะหลักหมุดหมาย ดังนั้น ต้องขนาบด้วยข้อแม้ว่า เจ้าของที่ดินยังคงเป็นเจ้าของต่อไป และต้องมีการลงทุนให้ภาคเอกชนรับความเสี่ยง

ต้องอาศัยการทำความเข้าใจกับเกษตรกร และการวาง inventive สูงพอ

 

อุปกรณ์เก็บเกี่ยวแบบทันสมัย

ไม่อยากให้ช้าไปกว่านี้ รีบกระตุ้นเกษตรกรผู้ปลูก พืชเศรษฐกิจ ให้เกิดการปรับตัวครั้งสำคัญ เพราะท่านกำลังสู้กับเกษตรกรในต่างประเทศ

มันค่อนข้างต่างจากเกษตรกรที่ปลูกพืช ผัก ผลไม้ ที่มีตลาดในประเทศ ที่ต้องลดต้นทุน ให้เกษตรกรมีรายได้คุ้มค่าครองชีพ

พูดกันเยอะ ทำกันเยอะ แต่ไม่แน่ใจว่าเข้าใจความหมายของมันจริงรึป่าว

การเกษตรยังมีอนาคตอีกไกล แต่เราต้องช่วยเขาเปลี่ยนให้ทัน

สำคัญที่สุดคือ ต้องมีใครสักคนที่ช่วยกันบอก เตือนว่าตลาดมีความต้องการเท่านี้ อย่าแห่กันปลูก เพราะข้างบ้าน เขาปลูกแล้วได้ดี

ความสำเร็จที่การสร้างเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ในภูมิภาคของเรา รัฐบาลไทยอย่าช้า เปลี่ยนทั้งที่ต้องสร้างปรากฏการ

ประเทศมาเลเซีย ประเทศแรกในเอเชีย ที่อังกฤษในยุคล่าอาณานิคมได้นำพันธุ์ยางพาราจากบราซิลมาส่งเสริมปลูก

แต่วันนี้ ยางพาราไม่ใช่พืชเศรษฐกิจหลักของเขาอีกต่อไป

มาเลเซียผลักดันให้งดการปลูกยางพารา ผลจากยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนที่คมชัด ปฏิบัติง่าย แก้ปัญหาความยากจนอย่างเด็ดขาด เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น GDP พุ่ง

 

แต่ประเทศไทย ภาพที่เห็นในปัจจุบัน ทุกปี ทุกไซเคิล (cycle) ผลผลิต ที่ปลูกพร้อมกัน เก็บเกี่ยวพร้อม มารู้ตัวอีกทีคือ ตอนที่ทุกคนขนผลผลิตมารวมพร้อมๆ กัน

เมื่อถึงเวลานั้น มันก็สายไปเสียแล้ว กลายเป็นปัญหาระดับชาติ

ทำไม เราต้องรอให้ถึงวันนั้น วันที่ผีถึงป่าช้า

วันที่ข้าราชการต้องแห่กันไประบายสินค้า ยิ่งระบาย ราคายิ่งตก เกษตรกรยิ่งจนซ้ำซาก

แต่ เกิดซ้ำๆ กันทุกปี

นี่คือ Supply Management ที่มาเลเซียทำมาแล้ว ช่วยเพิ่มพลัง และเม็ดเงินในกระเป๋าของเกษตรกร

อุปกรณ์ให้น้ำระบบแปลงใหญ่

ยิ่งดินทั่วไทย ยังมีธาตุอาหารดีพอที่จะปลูกพืชตัวอื่นที่สร้างรายได้มากกว่า ถือเป็นทรัพย์สมบัติที่สร้างความร่ำรวยให้เกษตรกรได้ ถ้ามีคนชี้ทางให้ชัด ส่งเสริมให้ถูกพืช

และเมื่อส่งเสริมแล้ว ต้องมี แตะเบรกในบางเวลา

ว่าแล้ว คำว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ก็ลอยเข้ามา ขออภัยผู้เขียนมิได้พาดพิงในการทำหน้าที่ แต่อยากเสนอว่า เปลี่ยนชื่อเป็น กรมฯ “งด” ส่งเสริมการเกษตรจะดีมั้ย

หรือ กรมที่ทำหน้าที่ บริหารการเกษตร อะไร ที่ควรปลูก อะไรไม่ควรปลูก

และที่สำคัญทำชีวิตเกษตรกรให้เขาทำงานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ไม่ต้องเผชิญหน้ากับความผันผวน เพราะมองอนาคตไม่เห็นว่าสิ่งที่ปลูกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

และนี่คือ ชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับเกษตรกรที่ ควรจะง่ายขึ้น