เกษตรฯ เตือนโรคแอนแทรคโนสมะม่วงทำลายผลผลิตช่วงร้อนชื้น

กรมส่งเสริมการเกษตรเตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงระวังโรคแอนแทรคโนสบุกทำลายผลผลิตในช่วงร้อนชื้น

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงในทุกภาคของประเทศไทยว่า เนื่องจากในช่วงนี้หลายพื้นที่มีฝนตก สภาพอากาศร้อนชื้น ให้ระวังการเข้าทำลายของโรคแอนแทรคโนสมะม่วง โดยเฉพาะมะม่วงที่อยู่ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวและเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต

ซึ่งการทำลายของโรคเกิดได้กับทุกส่วนของมะม่วงและทุกระยะการเจริญเติบโต สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloesporioides Penz. อาการที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า คือ ที่ใบอ่อนจะเกิดแผลสีน้ำตาล ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม ขนาดแผลไม่แน่นอน เมื่อแผลขยายติดกันจะเกิดอาการไหม้ บิดเบี้ยว

บริเวณต้นอ่อนและกิ่งอ่อน ก้านช่อดอกจะพบจุดแผลหรือ
ขีดขนาดเล็กสีน้ำตาลแดงประปราย ขยายออกตามความยาว แผลบนต้นหรือกิ่งที่อ่อนมาก ๆ จะลุกลามทำให้กิ่งแห้ง เน่าดำทั้งต้น

สำหรับบริเวณด้านบนของก้านช่อดอก จุดแผลมักขยายเชื่อมติดกัน เกิดอาการก้านช่อดำ กลีบดอกและผลอ่อนที่ถูกทำลายจะเป็นสีดำ และหลุดร่วง ผลแก่และผลสุกหลังเก็บเกี่ยวจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลถึงดำ แผลยุบตัวลึกลงไปในเนื้อผลมะม่วง ขนาดแผลไม่แน่นอนและลุกลามอย่างรวดเร็ว บริเวณกลางแผลอาจพบเมือกสีส้ม

วิธีการป้องกันกำจัดนั้น แนะนำให้เกษตรกรหมั่นสำรวจสวนมะม่วงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กำจัดวัชพืชภายในสวนให้สะอาด ตัดแต่งกิ่งมะม่วงให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทไดดี และตัดแต่งกิ่งก้านและใบที่เป็นโรคนำไปฝังหรือเผาทำลาย เพื่อไมให้เป็นแหล่งของเชื้อที่อาจแพรระบาด
ในสวนมะม่วงได้

กรณีจำเป็นต้องใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช สามารถเลือกพ่นสารกำจัดได้สองชนิด ได้แก่ ชนิดดูดซึม เช่น เบนโนมิล, คารเบนดาซิม, อะซอกซี่สะโตรบิน, ไธโอฟาเนท-เมทธิล และโปรคลอราช หรือชนิดที่ไมดูดซึม เชน คอปเปอรออกซีคลอไรด, แมนโคเซบ, โปรพิเนบ และแคปแทน โดยชนิดดูดซึมจะเหมาะสมสำหรับพ่นในช่วงฝนชุกหรือใกล้เก็บเกี่ยว เพราะช่วยลดปัญหาการเกิดผลเน่าได้

ส่วนในระยะอื่นควรพ่นสารสลับกันบ้างทั้งชนิดดูดซึม และชนิดไม่ดูดซึม เพื่อป้องกันการปรับตัวต้านทานสารกำจัดของโรคพืช ทั้งนี้ ให้ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอัตราตามคำแนะนำในฉลาก

รองอธิบดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคแอนแทรคโนสมะม่วง จัดเป็นโรคที่สำคัญในระยะใกล้เก็บเกี่ยว และหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วง ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการส่งผลผลิตไปจำหน่ายทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ

โดยเฉพาะมะม่วงที่ใช้รับประทานแบบผลสุก และเปลือกบางจะถูกเชื้อเข้าทำลายได้ง่าย เช่น พันธุ์น้ำดอกไม้ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากตลาดต่างประเทศ จึงขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจสวนมะม่วงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบอาการของโรค ให้รีบขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อหาทางควบคุมและดำเนินการป้องกันกำจัดทันที