ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ลดโรคสำคัญในมันสำปะหลัง

“…คนที่ไปดูก็เห็นว่า เริ่มต้นไม่มีอะไรเลย แต่ต่อมาภายในวันเดียว ทุกคนที่อยู่ในท้องที่นั้น ก็เข้าใจว่าต้องช่วยกัน และยิ่งในสมัยนี้ ในระยะนี้ เราต้องร่วมมือกันทำ เพราะว่าถ้าไม่มีการร่วมมือกัน ก็ไม่ก้าวหน้า ฉะนั้นการที่ท่านได้ทำแล้วมีความก้าวหน้านี้เป็นสิ่งที่ดีมาก หลักการก็อยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกันเสียสละ เพื่อให้กิจการในท้องที่ก้าวหน้าไปด้วยดี ก้าวหน้าได้อย่างไร ก็ด้วยการช่วยเหลือกัน แต่ก่อนนั้นเคยเห็นว่ากิจการที่ทำมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งทำแล้วก็ทำให้ก้าวหน้า แต่อันนี้มันไม่ใช่กลุ่มหนึ่ง มันทั้งหมดร่วมกันทำ และก็มีความก้าวหน้าแน่นอน อันนี้ก็เป็นสิ่งมหัศจรรย์ และเป็นสิ่งที่ทำให้มีความหวัง มีความหวังว่าประเทศชาติจะก้าวหน้า ประเทศชาติจะมีความสำเร็จ…” พระราชดำรัส 21 สิงหาคม 2552 โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ

%e0%b8%9c%e0%b8%a8-%e0%b8%94%e0%b8%a3-%e0%b8%94%e0%b8%b8%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%95-684x1024

จากความเอาพระทัยใส่ต่อเกษตรกรในการที่จะพัฒนาส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้ประสบความสำเร็จ สามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน จึงมีพระราชดำริให้จัดหาที่ดินเพื่อทำโครงการด้านการเกษตร เป็นศูนย์รวมพืชเศรษฐกิจโดยเลือกพืชพันธุ์ท้องถิ่นที่ดีที่สุดเข้ามาปลูก แล้วให้ภาครัฐและชาวบ้านร่วมกันดูแลและบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชน

%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%ad%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b9%81%e0%b8%8b%e0%b8%84%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b9%84

“มันสำปะหลัง” เป็นพืชหัวที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 5 ของโลก สำหรับในประเทศไทยนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญรองจากข้าว ยางพารา และอ้อย แต่ระบบการผลิตมันสำปะหลังในปัจจุบันยังคงพบกับปัญหาโรคระบาด โดยเฉพาะโรครากหรือหัวเน่าที่เกิดจากเชื้อราหลายชนิด ส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของมันสำปะหลัง วิธีการหนึ่งในหลักการเกษตรยั่งยืนที่ใช้ควบคุมโรคดังกล่าว คือ การใช้ชีววิธี ซึ่งมีรายงานว่าเชื้อปฏิปักษ์ Pseudomonas fluorescens สายพันธุ์ SP007s มีประสิทธิภาพกระตุ้นให้พืชเศรษฐกิจหลายชนิดรวมทั้งมันสำปะหลัง ผลิตสารต่าง ๆ ในระบบภูมิต้านทานที่ใช้ยับยั้งการเข้าทำลายของโรคหลายชนิด

%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%ad%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b9%81%e0%b8%8b%e0%b8%84

โครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่ ผศ. ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายศตรรฆ ใจซื่อ นักศึกษาปริญญาโท ในโครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากสารพอลิแซคคาไรด์ของเชื้อ Pseudomonas fluorescens เพื่อควบคุมโรครากหรือหัวเน่า และเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์” ร่วมกับบริษัท บ้านเกษตรรุ่งเรือง จำกัด เพื่อศึกษาผลของการใช้สารพอลิแซคคาไรด์ของเชื้อปฏิปักษ์ SP007s ในการยับยั้งเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคดังกล่าว และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพสารพอลิแซคคาไรด์พร้อมใช้ชนิดน้ำ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคของมันสำปะหลัง รวมถึงเป็นต้นแบบของภาคอุตสาหกรรมต่อไป

%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b9%80

หลังจากคณะนักวิจัยศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสารพอลิแซคคาไรด์แล้ว ได้นำไปทดสอบประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง และการควบคุมโรครากหรือหัวเน่าเปรียบเทียบกับสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราแคปแทนและสารสังเคราะห์ที่เกษตรกรนิยมใช้ในสภาพเรือนปลูกพืชทดลองและสภาพไร่ พบว่าการแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกและพ่นใบมันสำปะหลังด้วยสารพอลิแซคคาไรด์ของเชื้อปฏิปักษ์ SP007s สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตมันสำปะหลังได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นให้มันสำปะหลังสะสมฮอร์โมนพืชและสารต่าง ๆ ในระบบภูมิต้านทานได้อย่างรวดเร็วหลังพ่นใบ ส่งผลให้มันสำปะหลังต้านทานโรคได้ดี ช่วยลดการระบาดของโรคได้ร้อยละ 65-77

%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a2%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b9%80

ทั้งนี้สภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสารพอลิแซคคาไรด์ของเชื้อปฏิปักษ์ SP007s คือ เติมน้ำตาลกลูโคส 7.5 กรัม/ลิตร ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยสารพอลิแซคคาไรด์ที่ความเข้มข้น 200-1,000 ppm มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้มันสำปะหลังสะสมฮอร์โมนพืชและสารต่าง ๆ ในระบบภูมิต้านทานสำหรับใช้ยับยั้งการเข้าทำลายของเชื้อโรคหลายชนิด จึงมีความเป็นไปได้ในการใช้สารพอลิแซคคาไรด์ร่วมในระบบการผลิตมันสำปะหลัง เพื่อลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราที่เกษตรกรนิยมใช้และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%8d%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%9a%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b2

นับเป็นอีกหนึ่งงานวิจัยของ สกว. ที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาของภาคการเกษตร โดยความร่วมมือของภาควิชาการและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผลิตภัณฑ์ชีวภาพดังกล่าวจะช่วยให้มันสำปะหลังรอดพ้นจากสภาวะความเครียดต่าง ๆ โดยเฉพาะการเข้าทำลายของเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากหรือหัวเน่า ซึ่งเป็นโรคสำคัญและมีผลกระทบต่อการผลิตมันสำปะหลังของประเทศไทยในวงกว้าง อีกทั้งยังช่วยปลูกจิตสำนึกแก่เกษตรกรและผู้ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคณะนักวิจัยและผู้ประกอบการกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาสูตรทางการค้า

คาดว่าต้นปี 2560 จึงจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์เพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกรทั้งระบบเกษตรอินทรีย์และระบบอื่น ๆ เชิงการค้า

polysaccharides-product-1-768x768