อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคง อย่างยั่งยืน

ประเทศไทย จัดเป็นประเทศที่คนส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตรเป็นสำคัญ เพราะจะเห็นได้จากสินค้าหลายชนิดที่ไทยเป็นผู้นำทางด้านการส่งออกไปยังต่างประเทศ และเลี้ยงคนภายในชาติมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเกษตรกรรมเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของชาติที่กล่าวกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต

การเกษตรจะสำเร็จและมีผลผลิตที่ดีได้นั้น นอกจากปัจจัยในเรื่องการดูแลตลอดไปจนถึงเรื่องสายพันธุ์พืชแล้ว น้ำก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันในการทำเกษตรกรรมของเกษตรกรไทย จึงทำให้ทุกภูมิภาคหรือทุกจังหวัดของไทยสามารถทำการเกษตรได้อย่างเต็มที่เต็มกำลังในการผลิตอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงคนทั้งชาติและเพื่อการส่งออก จึงทำให้ไทยมีแม่แบบหรือโครงการพัฒนาการจัดการน้ำมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

เหมือนเช่น อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่อยู่ในจังหวัดอุดรธานี เป็นอีกหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ได้มีโครงการจากพระราชดำรินับพันแห่ง ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ในสมัยก่อนนั้น ชาวบ้านโคกล่ามและบ้านแสงอร่าม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตรและสำหรับอุปโภคบริโภค จึงทำให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในย่านนี้ ไม่สามารถทำการเกษตรหรือมีน้ำใช้ได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ลูกหลานหรือคนในชุมชนต้องออกไปทำงานยังต่างจังหวัดหรือบางรายถึงกับต้องเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ เพื่อให้ได้ซึ่งรายได้มาสำหรับเลี้ยงครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ต่อมาจึงได้มีการแก้ไขปัญหาในเรื่องน้ำขาดแคลน โดยมูลนิธิชัยพัฒนา จึงเสนอข้อมูลต่อมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ให้มีการพิจารณาในเรื่องอ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบน้ำในพื้นที่ เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดการบริหารในเรื่องของระบบน้ำให้ขึ้นเป็นวาระระดับจังหวัด พร้อมทั้งเพื่อสามารถพัฒนาต่อยอดในเรื่องของการพัฒนาระบบน้ำให้ครอบคลุมทั้ง 20 อำเภอ ต่อไป

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ให้ข้อมูลว่า อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีความจุ 692,500 ลูกบาศก์เมตร รับน้ำเต็มศักยภาพเฉพาะหน้าฝนได้ 800 ไร่ หน้าแล้งได้ 500 ไร่

“น้ำที่เก็บไว้ภายในอ่างเก็บน้ำ เมื่อมีการระบายน้ำทางน้ำล้น (สปิลเวย์) ลงไปสู่คลองธรรมชาติเพื่อให้เกษตรกรหรือชาวบ้านได้ใช้ น้ำกลับไม่ถึงที่นาของชาวบ้าน จึงทำให้ชาวบ้านหรือเกษตรกรจำเป็นต้องมีการนำเครื่องสูบน้ำเข้ามาช่วยในการสูบน้ำเข้าพื้นที่นา จึงส่งผลการทำเกษตรของชาวบ้านให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อฤดูแล้งมาถึงชาวบ้านสามารถนำน้ำมาใช้ได้เพียง 200 ไร่ เท่านั้น ทำให้ผลผลิตไม่ได้ปริมาณและเต็มประสิทธิภาพ เกิดความสูญเสียรายได้ทั้งพืชก่อนนาและหลังนา จึงทำให้เกษตรกรมีปัญหาหนี้สินตามมา และที่สำคัญประชากรบางส่วนทิ้งถิ่นฐานไปทำงานนอกพื้นที่มากขึ้น เมื่อมีการเข้ามาทำงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ มีการนำองค์ความรู้และรูปแบบการร่วมคิด ร่วมทำ ระหว่างหน่วยงาน และชาวบ้านได้เป็นอย่างดี และสามารถกำหนดทิศทางต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จไปในทิศทางเดียวกันได้ง่ายขึ้น” นายวัฒนา กล่าว

ซึ่งมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จึงเปรียบเสมือนเป็นสิ่งเชื่อมโดยระหว่างหน่วยงานของรัฐ และประชาชนในพื้นที่ให้มีความเข้าใจในองค์ความรู้ และข้อมูลต่างๆ ตามความเป็นจริง เช่น ความทุกข์ หรือเรื่องเดือดร้อนต่างๆ ในทุกปัญหาของชาวบ้านทุกคนได้อย่างตรงจุด และสามารถนำองค์ความรู้ต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาในเรื่องของการทำเกษตรกรรมในสาขาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ประชาชนบางส่วนที่ทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดไปทำงานในถิ่นฐานอื่นกลับมาประกอบอาชีพในบ้านเกิด และดูแลคนที่รักในครอบครัวโดยไม่ต้องไปทำงานที่ไกลๆ

จึงทำให้จังหวัดอุดรธานีมีการสนับสนุนงบประมาณบางส่วน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีมีการสนับสนุนเครื่องจักรกลทางการเกษตร และองค์การบริหารส่วนตำบลกุดหมากไปสนับสนุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาช่วยอีกด้วย

ด้วยผลของการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการจัดการน้ำ สามารถทำให้อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถกักเก็บน้ำเพิ่มได้มากขึ้น จากเดิมที่กักเก็บน้ำได้ 692,500 ลูกบาศก์เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้นเป็น  838,000 ลูกบาศก์เมตร และสิ่งที่ตามมาเป็นลำดับคือ ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว สามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบก่อนเริ่มโครงการพัฒนาระบบน้ำนั้น ได้ผลผลิตข้าวเพียง 350 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อมีการจัดการระบบน้ำที่ดีมากขึ้น สามารถทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มเป็น 600 กิโลกรัม ต่อไร่

นอกจากนี้ ยังส่งผลให้การทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำเกษตรผสมผสาน หรือการทำเกษตรอินทรีย์ สามารถขยายพื้นที่จาก 2 แปลง ขยายออกไปเป็น 49 แปลง ในพื้นที่โครงการ และที่สำคัญประชาชนบางรายที่เคยออกไปทำงานยังต่างถิ่นสามารถกลับมาทำอาชีพทางการเกษตรในพื้นที่ของตนเองภายในหมู่บ้าน ปี 2560 จำนวน 147 ครัวเรือน

จึงนับได้ว่า มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดริ ได้มุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดริ โดยน้อมนหลักการทรงงาน และแนวพระราชดริหรือศาสตร์พระราชา แปรสู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนให้แก่ชุมชน ร่วมกับภาคีทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน โดยมีแนวทางหลักในการทงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาตามแนวพระราชดริ ที่สอดคล้องกับภูมิสังคม ให้ชุมชนร่วมคิด ร่วมท และเป็นเจ้าของ เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาได้ด้วยตัวเอง โดยมีเป้าหมายคือ ความมั่นคง ยั่งยืน อย่างแท้จริง