10 เทคโนโลยี การบริหารต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตลำไยแบบมืออาชีพ

ตัดแต่งผลให้เหลือที่ช่อ ประมาณ 50-70 ผล/ช่อ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ ทำให้เพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ 4,500 บาท/ไร่

ในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ ตาก แพร่ และน่าน เป็นแหล่งผลิตลำไยที่สำคัญของประเทศ มีเกษตรกรผู้ปลูก 156,596 ราย พื้นที่ปลูก 854,371 ไร่ ลำไยที่ให้ผล 831,866 ไร่ ปริมาณผลผลิต 673,850 ตัน และตลาดมีความต้องการ 367,337 ตัน ดังนั้น จึงเกิดปัญหาราคาตกต่ำ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน และภาครัฐต้องให้การช่วยเหลือทุกปี ตั้งแต่ ปี 2547-2557 ทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสในการส่งออก โดยลำไยในฤดู มีปัญหาด้านการตลาด เพราะผลผลิตออกพร้อมกัน ล้นตลาด ราคาตกต่ำ และในส่วนของลำไยนอกฤดูนั้น มีปัญหาด้านการผลิต เนื่องจากการบังคับให้ลำไยออกดอก ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แนวทางการแก้ไขที่ยั่งยืนจำเป็นต้องมีการบริหารต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตเข้ามาดำเนินการ เพื่อทำให้เกษตรกรชาวสวนลำไยได้รับผลตอบแทนที่ดียิ่งขึ้น

 

เทคโนโลยีการบริหารต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไย

ว่าที่ร้อยตรี ดร. สมสวย ปัญญาสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่กล่าวว่า การทำให้เกษตรกรชาวสวนลำไย ได้รับผลตอบแทนที่ดียิ่งขึ้นนั้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตลำไยโดยใช้เทคโนโลยีการบริหารต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไย ดังนี้

  1. การทำลำไยนอกฤดูแบบปีเว้นปี…เพื่อไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน และเป็นการบังคับลำไยให้ออกดอกได้ดี โดยผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 3,000 กิโลกรัม/ไร่ ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 9,950 บาท/ไร่
  2. การแบ่งสวนแบ่งส่วนทำ…เป็นการลดความเสี่ยงด้านการผลิต การตลาด เป็นการทยอยการลงทุน ซึ่งใช้ต้นทุนไม่มาก และเป็นการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ถึง 7,500 บาท/ไร่ โดยแบ่งเป็น 3 แปลง

แปลงที่ 1 ทำช่วงตรุษจีน ใส่สาร 20 พฤษภาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่าย 20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์

แปลงที่ 2 ทำก่อนฤดูกาล ใส่สาร 15 กันยายน-5 ตุลาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายเดือนมิถุนายน

แปลงที่ 3 ทำในฤดูก่อนล้นตลาด ใส่สาร 1-10 ธันวาคม เก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่าย 1-15 กรกฎาคม

  1. การทำผลผลิตในฤดูให้ผลโตและมีคุณภาพ…เพื่อแก้ไขปัญหาลำไยผลเล็ก ผลแตกและผลร่วง โดยใช้เทคโนโลยี ดังนี้

– ตัดแต่งช่อผลทิ้งบางส่วน ประมาณ 10-25% และตัดแต่งผลให้เหลือที่ช่อ ประมาณ 50-70 ผล/ช่อ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ ทำให้เพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ 4,500 บาท/ไร่

– ในช่วงที่ผลผลิตลำไยล้นตลาด เกษตรกรควรเลือกเก็บผลผลิต โดยคัดผลที่มีขนาดโตออกจำหน่าย ประมาณ 20-30% สามารถเพิ่มมูลค่าได้ 3,000 บาท/ไร่

  1. การจัดและควบคุมทรงพุ่มไม่ให้สูงเกิน 4 เมตร…เพราะทรงพุ่มลำไยที่ต่ำจะทำให้การพ่นปุ๋ยทางใบและการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ผลดีมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน อีกทั้งการเก็บเกี่ยวทำได้ง่าย และง่ายต่อการตัดแต่งช่อ ตัดแต่งผลทิ้ง ทำให้ผลมีขนาดโตสม่ำเสมอ สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้ 4,500 บาท/ไร่

    การจัดและควบคุมทรงพุ่มไม่ให้สูงเกิน 4 เมตร ทำให้ผลมีขนาดโตสม่ำเสมอ สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้ 4,500 บาท/ไร่
    การจัดและควบคุมทรงพุ่มไม่ให้สูงเกิน 4 เมตร ทำให้ผลมีขนาดโตสม่ำเสมอ สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้ 4,500 บาท/ไร่
  2. การตัดแต่งกิ่งเพื่อลดปริมาณไม้ค้ำ…ไม้ค้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตลำไย โดยเฉพาะลำไยต้นสูง หากไม่ใช้จะทำให้กิ่งที่ติดผลฉีกหักหรือลำต้นโค่นล้ม เมื่อตัดแต่งกิ่งให้ลำไยติดผลเป็นกลุ่มๆ จะทำให้ลดต้นทุนค่าไม้ค้ำได้ 2,500 บาท/ไร่

    การตัดแต่งกิ่ง ทำให้ลดต้นทุนค่าไม้ค้ำได้ 2,500 บาท/ไร่
    การตัดแต่งกิ่ง ทำให้ลดต้นทุนค่าไม้ค้ำได้ 2,500 บาท/ไร่
  3. การทำปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไยโดยใช้ใบลำไย…โดยใบลำไยใน 1 ต้น สามารถทำปุ๋ยหมักได้ ประมาณ 100 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 500 บาท/ต้น หรือ 12,500 บาท/ไร่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนลำไย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นลำไยสมบูรณ์ให้ผลผลิตดีและลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีลงได้ประมาณ 400 บาท/ไร่ นอกจากนี้แล้ว เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการเผาที่สร้างมลพิษทางอากาศ

    การใช้ใบลำไยทำเป็นปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นลำไยสมบูรณ์ให้ผลผลิตดีและลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีลงได้ ประมาณ 400 บาท/ไร่ นอกจากนี้แล้ว เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการเผาที่สร้างมลพิษทางอากาศ
    การใช้ใบลำไยทำเป็นปุ๋ยหมักใต้ต้นลำไย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นลำไยสมบูรณ์ให้ผลผลิตดีและลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีลงได้ ประมาณ 400 บาท/ไร่ นอกจากนี้แล้ว เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการเผาที่สร้างมลพิษทางอากาศ
  4. การให้น้ำแบบรู้คุณค่าและเหมาะสม…โดยใช้ระบบสปริงเกลอร์ มีวาล์วปิด-เปิด บังคับการให้น้ำ สามารถประหยัดน้ำ ลดแรงงานและลดค่าใช้จ่ายได้ ไร่ละ 1,500 บาท/ปี
  5. การให้น้ำโดยใช้ระบบสปริงเกลอร์ มีวาล์วปิด-เปิด บังคับการให้น้ำ สามารถประหยัดน้ำ ลดแรงงาน และลดค่าใช้จ่ายได้ ไร่ละ 1,500 บาท/ปี
    การให้น้ำโดยใช้ระบบสปริงเกลอร์ มีวาล์วปิด-เปิด บังคับการให้น้ำ สามารถประหยัดน้ำ ลดแรงงาน และลดค่าใช้จ่ายได้ ไร่ละ 1,500 บาท/ปี
  6. การใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อลดหรือทดแทนการใช้สารเคมี…โดยใช้เชื้อราบิวเวอเรียป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น เพลี้ยและแมลง ศัตรูพืชช่วงใบอ่อน สามารถลดต้นทุนลง ไร่ละ 300 บาท/ปี อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรมีความปลอดภัยและผู้บริโภคมีความมั่นใจ
  7. การผสมปุ๋ยใช้เอง…โดยนำปุ๋ย สูตร 46-0-0 ผสมกับ ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1:1 จะได้สูตรใกล้เคียง 25-7-7 (กระสอบ 1,200 บาท) ที่ใช้เพื่อการแตกใบอ่อนและรักษาช่อผล ทำให้ลดต้นทุนได้ 200 บาท/กระสอบ
  8. การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน…เพื่อให้ปริมาณการใช้และจำนวนครั้งในการใช้เป็นไปตามความต้องการของพืชในแต่ละช่วงเวลา สามารถลดต้นทุนได้ ประมาณ 200 บาท/ไร่/ปี ซึ่งโดยปกติเกษตรกรไม่ได้เก็บดินวิเคราะห์

 

เกษตรกรที่สนใจ การทำลำไยแบบมืออาชีพ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยดังกล่าว สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 908-666 ต่อ 650