เคล็ดลับ ดูแลสวนลำไย นอกฤดูแปลงใหญ่ ที่ให้ผลผลิตสูง ของ “มงคล หมื่นอภัย” ลำพูน

ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง เป็นแหล่งผลิตลำไยที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน โดยชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้หลักจากการผลิตลำไยนอกฤดู ทำให้สามารถกระจายผลผลิตออกสู่ตลาดได้ทั้งปี และขายผลผลิตได้ราคาที่ดี

ศพก. ตำบลน้ำดิบ

ในฉบับนี้ ขอพาท่านผู้อ่านไปเรียนรู้เคล็ดลับการทำสวนลำไยนอกฤดู ของ “คุณมงคล หมื่นอภัย” เจ้าของสวนลำไยปิยะมงคล โทร. 089-851-4730, 085-870-3882 และ 053-529-111 ในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำดิบ และเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตลำไยนอกฤดูแปลงใหญ่ตำบลน้ำดิบ

คุณมงคล หมื่นอภัย เจ้าของสวนลำไยปิยะมงคล

คุณมงคล สะสมประสบการณ์การทำสวนลำไยมานานกว่า 20 ปี และทำธุรกิจลำไยแบบครบวงจร ปัจจุบัน คุณมงคลได้ร่วมมือกับสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน เปิดสวนลำไยปิยะมงคล ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรตำบลน้ำดิบ (ศพก. ตำบลน้ำดิบ) เพื่อสนองนโยบายรัฐบาล ที่ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชนที่เกิดจากปัญหาของชุมชน และสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้

ศพก. ตำบลน้ำดิบ เน้นส่งเสริมให้ผู้สนใจได้เรียนรู้เรื่องการผลิตลำไยนอกฤดูจากเกษตรกรต้นแบบ คือ “คุณมงคล หมื่นอภัย” ที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลำไยนอกฤดู ในประเด็นการเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ตลอดจนยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องตลอดฤดูกาลผลิต

เกษตรกรเยี่ยมชมสวนลำไยนอกฤดู

เกษตรกรที่เข้ามาเยี่ยมชมงานได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณมงคล ซึ่งเป็นเกษตรกรต้นแบบ ในลักษณะของเกษตรกรสอนเกษตรกร ทำให้เกษตรกรที่มาเรียนรู้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเกิดจิตสำนึกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตได้อย่างเหมาะสม

เมื่อเกษตรกรที่เข้ามาเยี่ยมชมงานได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจาก ศพก. ตำบลน้ำดิบ ไปประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ผลิตสินค้าที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม และมีระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

แนะนำ “การลงทุนทำสวนลำไย”

หากใครสนใจลงทุนทำสวนลำไย คุณมงคล ให้คำแนะนำว่า ควร เลือกพื้นที่ให้เหมาะสม เพราะลำไยเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตในดินได้เกือบทุกแบบ แต่พื้นที่ที่จะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย และดินตะกอน ดินที่ใช้ปลูกควรมีค่ากรด-ด่าง อยู่ในช่วง 5.0-7.0 pH และให้ความสำคัญกับเรื่อง “แหล่งน้ำ” เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลำไย ถ้าต้องการลำไยที่มีคุณภาพดี ต้องมีน้ำที่เพียงพอตลอดฤดูกาล

ปัจจัยสำคัญต่อมาคือ สภาพภูมิอากาศ ลำไยสามารถเติบโตได้อยู่ระหว่างอุณหภูมิ 4-30 องศาเซลเซียส แต่ถ้าอุณหภูมินั้นต่ำจะทำให้ต้นลำไยออกดอกได้มาก ประการต่อมาคือ แสง ควรปลูกลำไยในพื้นที่โล่ง มีแสงเพียงพอ และแหล่งที่ปลูกควรมีปริมาณน้ำฝนและความชื้นในอัตราที่เหมาะสม โดยมีปริมาณน้ำฝนอยู่ในช่วง 1,000-2,000 มิลลิเมตร/ปี การกระจายของฝน ประมาณ 100-150 วัน/ปี

แปลงใหญ่ลำไยนอกฤดู

ปัจจุบัน สวนลำไยปิยะมงคล นับเป็นต้นแบบแปลงใหญ่ลำไยนอกฤดูของตำบลน้ำดิบ คุณมงคลได้นำสมาชิกเกษตรกรแปลงใหญ่ตำบลน้ำดิบ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (ลำไย) จัดโดย สำนักงานเกษตรอำเภอป่าซาง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลำพูน สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดลำพูน ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ (เกษตรพื้นที่สูง) มีการสาธิตการใช้โดรนเพื่อการเกษตร การใช้เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก การใช้เครื่องบดสับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ณ สวนลำไยปิยะมงคลแห่งนี้

คุณมงคล บอกว่า การผลิตลำไยผลสีทอง ขนาดใหญ่ เบอร์ AA ใครๆ ก็ทำได้ โดยเลือกใช้ปุ๋ยคุณภาพสูงให้เหมาะกับแต่ละช่วงการเจริญเติบโตและใส่ใจดูแลตัดแต่งกิ่ง เตรียมต้นให้สมบูรณ์หลังเก็บเกี่ยว เลือกใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม ใช้สารกระตุ้นการออกดอกในอัตราที่เหมาะสม ให้น้ำและปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสมกับความต้องการของพืช และควบคุมการคละปนของผลผลิตด้อยคุณภาพ

น้ำ มีความสำคัญต่อการผลิตลำไยอย่างมาก การให้ปุ๋ยหรือฮอร์โมนจะไม่ได้ผล หากไม่มีน้ำและความชื้นสัมพัทธ์ การให้น้ำลำไยนอกฤดู ช่วงเดือนมิถุนายน ระยะราดสารโพแทสเซียมคลอเรต เกษตรกรควรรดน้ำบริเวณราก หรือบริเวณที่หว่านสาร ให้น้ำซึมลึกประมาณ 2 นิ้ว ห่างกัน 3-7 วัน เดือนกรกฎาคม

ระยะช่วงออกดอก ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เดือนสิงหาคม ระยะช่วงผสมเกสร ควรให้น้ำประมาณ 250-350 ลิตร/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เดือนกันยายน-ธันวาคม ช่วงการติดผลและการพัฒนาผล ควรให้น้ำประมาณ 250-350 ลิตร/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง และเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ก่อนการเก็บเกี่ยว ควรให้น้ำประมาณ 250-350 ลิตร/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม

เลือกใช้ปุ๋ยดี ฟันกำไรก้อนโต

ที่ผ่านมา ศพก. ตำบลน้ำดิบ ถูกใช้เป็นจุดที่ให้บริการข้อมูลข่าวสารและบริการด้านการเกษตรต่างๆ กับเกษตรกร และเป็นจุดนัดพบระหว่างนักวิชาการเกษตรกับเกษตรกร และเกษตรกรกับเกษตรกรด้วยกันเองอีกด้วย

ล่าสุด ยารา ปุ๋ยคุณภาพสูงจากประเทศนอร์เวย์ หนึ่งในผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปุ๋ยรายใหญ่ของโลก ดำเนินกิจการปุ๋ยในประเทศไทยมานานกว่า 40 ปี ได้ใช้พื้นที่ ศพก. ตำบลน้ำดิบ แห่งนี้ จัดงานฟิลด์เดย์ (Field Day) กิจกรรมให้ความรู้คู่ความสนุกสนานกับเกษตรกรไทยผู้ปลูกลำไยในพื้นที่จังหวัดลำพูน

ยาราเปิดคลินิกพืชให้ความรู้แก่เกษตรกร
เกษตรกรชาวลำไยที่เข้าร่วมงานยารา ฟิลด์เดย์

ภายในงานได้จัดฐานความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยของยารา เปรียบเทียบกับปุ๋ยที่เกษตรกรใช้อยู่ ฐานความรู้เกี่ยวกับค่า pH ของดิน ที่มีผลต่อความสามารถในการปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับต้นพืช

คุณมงคล กล่าวว่า ปุ๋ยยารา เป็นตัวช่วยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตลำไยสีทอง ขนาดใหญ่ เบอร์ AA ของสวนแห่งนี้ สวนแห่งนี้ใช้ปุ๋ยยารามีร่า วินเนอร์ อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ จำนวน 3 ครั้ง ก่อนการเก็บเกี่ยวลำไย ช่วยเพิ่มผลผลิต 551 กิโลกรัม/ไร่ ช่วยให้ได้ผลผลิตมากกว่าเดิม แม้การใช้ปุ๋ยยารา จะเพิ่มต้นทุนในการใช้ปุ๋ย 230 บาท/ไร่ แต่ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน เพราะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 22% ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 8,816 บาท/ไร่

ตารางเปรียบเทียบแปลงปลูกลำไยที่ใช้ปุ๋ยยารากับปุ๋ยชนิดอื่น

“สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น” เกษตรกรที่เข้าชมงานฟิลด์เดย์ ในครั้งนี้ สามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยยารากับปุ๋ยชนิดอื่นๆ ได้ด้วยสายตาตัวเอง เพราะคุณมงคลได้แบ่งแปลงปลูกลำไยเป็น 2 ฝั่ง ต้นลำไยอายุเท่ากัน ดูแลจัดการแปลงเหมือนกันหมด แต่ใช้ปุ๋ยต่างชนิดกัน แปลงแรก ใช้ปุ๋ยยี่ห้ออื่นที่มีจำหน่ายในท้องตลาด แปลงที่สอง ใช้ปุ๋ยยารา

เปรียบเทียบแปลงปลูกลำไยที่ใช้ปุ๋ยยารากับปุ๋ยชนิดอื่น

สังเกตพบว่า ต้นลำไยที่ใช้ปุ๋ยยาราให้ผลผลิตออกมาดีเยี่ยม ผิวสวย ลูกโต เปลือกหนา ขั้วเหนียว ขยายผลได้เต็มที่ ส่วนต้นลำไยที่ใช้ปุ๋ยยี่ห้ออื่น ผลผลิตได้น้อยกว่า ผิวไม่ค่อยสวยและลูกเล็ก กล่าวได้ว่า “ปุ๋ยยารา” นับเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยรักษาสมดุลธาตุอาหารของต้นลำไย ทำให้เกษตรกรได้ลำไยลูกใหญ่สีทอง เบอร์ AA มากขึ้น และลดปัญหาผลแตกผลร่วงได้อย่างดี

หากใครอยากได้ผลผลิตลำไยคุณภาพดี เหมือนคุณมงคล นักวิชาการของยารา ประเทศไทย แนะนำโปรแกรมการใส่ปุ๋ยสำหรับลำไย ดังนี้
ช่วงตัดแต่งกิ่ง/บำรุงใบ แนะนำให้ใช้ ยารามีร่า 16-16-16 1.2 กิโลกรัม/ต้น ร่วมกับ ยาราลีว่า ไนตราบอร์ 1-2 กิโลกรัม/ต้น และ ยาราวีต้า อมาซิงค์ หรือ ยาราวีต้า แคลแทร็ก 5-10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ทุก 7-14 วัน

ช่วงใบแก่/เร่งดอก ใช้ยารามีร่า ปุ๋ยดอกดก 1-3 กิโลกรัม/ต้น
ช่วงก่อนดอกบาน (ป้องกันดอกร่วง) ใช้ยาราลีว่า ไนตราบอร์ 0.3-0.5 กิโลกรัม/ต้น

แปลงปลูกลำไยที่ใช้ปุ๋ยยาราได้ผลผลิตลำไยสีทองจำนวนมาก

ช่วงติดผลเล็ก (หัวไม้ขีด-เม็ดถั่วเหลือง) ใช้ยารามีร่า วินเนอร์ 1-2 กิโลกรัม/ต้น ร่วมกับยาราลีว่า ไนตราบอร์ 0.5-1กิโลกรัม/ต้น และ ยาราวีต้า แคลแทร็ก 10-15 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร พ่นห่างกัน 10-14 วัน จนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว และช่วงบำรุงผล (5-6 เดือน) ใช้ยารามีร่า วินเนอร์ 1-3 กิโลกรัม/ต้น (ทุกๆ 15 วัน) หากใช้ปุ๋ยยาราตามโปรแกรมนี้ จะช่วยทำให้ลำไยเนื้อแน่น หวาน เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างแน่นอน

ใครอยากรู้เรื่องธาตุอาหารพืช ขอแนะนำแอปพลิเคชั่น “YARA CheckIT” เช็คทุกเรื่องการขาดธาตุอาหารในพืช หมดปัญหาเรื่องการขาดธาตุอาหารในพืช ช่วยให้เกษตรกรรู้ถึงปัญหาต่างๆ ของพืชที่ขาดธาตุอาหาร ได้ด้วยตัวคุณเอง สามารถใช้ได้ทั้ง Android และ iOS วิธีโหลด เพียงแค่ค้นหาชื่อ “Yara CheckIT” กดติดตั้ง เมื่อดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อย สามารถเข้า App Yara CheckIT เพื่อตรวจสอบอาการขาดธาตุอาหารของพืชได้ทันที