เทคโนฯ เกษตร ก้าวที่ดีของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านทับนา แหล่งพันธุ์ข้าวคุณภาพ ชัยนาท FacebookTwitterGoogle+LINE ผู้เขียนชัด ขำเอี่ยมเผยแพร่วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2561 จากการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตข้าวของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ส่งผลให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์ข้าวที่ดีมีผลต่อการผลิตข้าวให้มีคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก เพราะต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ดีจะมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ให้ผลผลิตสูง กรรมการตรวจรับของกลุ่มฯ ติดตามการติดตั้งเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือพันธุ์ข้าวที่ทางราชการผลิตไม่เพียงพอแก่ความต้องการของเกษตรกร จึงเกิดนโยบายให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการผลิตพันธุ์ข้าวโดยส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักวิธีการผลิตพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองและขยายผลไปสู่เพื่อนเกษตรกร โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้เริ่มก่อตั้งกลุ่มผู้จัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ชื่อว่า ศูนย์ข้าวชุมชน เริ่มจากนำเกษตรกรที่มีแนวคิดเดียวกันมาร่วมเป็นกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวระดับเกษตรกร และทำหน้าที่เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทางด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งเป็นอีกหนึ่งของการลดรายจ่าย สร้างเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ในการนี้นับเป็นโอกาสดีของเกษตรกร “ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านทับนา” ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา เป็นเกษตรกรกลุ่มย่อย ชุมชนที่ 1 ของตำบลบ้านเชี่ยน เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่คว้าโอกาสที่ดี เมื่อรัฐบาลให้การสนับสนุนตามโครงการเสริมสร้างรายได้เพื่อเกษตรกรรายย่อย ด้วยการจัดหาเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อจะได้ไม่ต้องไปจ้างเอกชนคัดเมล็ดพันธุ์ ซึ่งต้องเสียเงินจำนวนไม่น้อย กรรมการตรวจรับของกลุ่มฯ คุณสมคเน เผือกเพ็ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านทับนา ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา เล่าว่า ตำบลบ้านเชี่ยน แบ่งออกเป็น 2 ชุมชน ในชุมชนที่ 1 เกษตรกรกลุ่มย่อยให้ความสนใจในการรวมกลุ่มและจัดทำโครงการมาก จึงมี 2 โครงการ คือจัดหาเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว และโรงสีข้าวชุมชน ในส่วนของกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว มีสมาชิกประกอบด้วย เกษตรกรหมู่ที่ 1 บ้านบึงฉวาก หมู่ที่ 5, 6 บ้านดอนกอก หมู่ที่ 7 บ้านไร่สวนลาว หมู่ที่ 8 บ้านดอนโก และหมู่ที่ 11 บ้านหนองทาระกู มีพื้นที่ทำนา ประมาณ 8,000 ไร่ ส่งผลให้มีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวนมาก ก่อนทำโครงการได้จัดทำเวทีประชาคมชี้แจงการจัดทำโครงการ วิเคราะห์ศักยภาพ ระดมปัญหา และวิธีแก้ปัญหา เกษตรกรจะตากข้าวเพื่อลดความชื้นก่อนส่งเข้าเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ สมาชิกจากศูนย์ข้าวชุมชนซึ่งปัจจุบันมีแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 840 ไร่ ได้เสนอปัญหาการจัดทำเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี แต่ขาดเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว จำเป็นต้องจ้างเอกชนคัดเมล็ดพันธุ์ให้ด้วยราคาไม่น้อย หรือบางครั้งจำเป็นต้องจำหน่ายให้เอกชนทั้งแปลงในราคาที่สูงกว่าแปลงข้าวทั่วไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงชักชวนเกษตรกรทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมรวมสมาชิกเริ่มแรก จำนวน 28 คน ช่วยคิดและเขียนโครงการเสนอต่อคณะกรรมการระดับตำบล และอำเภอ ตามลำดับ วัตถุประสงค์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับใช้ในชุมชน และจำหน่ายต่อไป โดยไม่ต้องไปจ้างเอกชนคัดเมล็ดพันธุ์ที่อื่น คุณสมคเน เผือกเพ็ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลบ้านเชี่ยน เย็บกระสอบพันธุ์ข้าวของสมาชิกที่ส่งคัดเมล็ดพันธุ์จนหมดแล้ว ก่อนให้สมาชิกมารับกลับไป คุณสมคเน กล่าวถึงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ว่า การทำพันธุ์ข้าวนั้นไม่ได้ยุ่งยากไปกว่าการปลูกข้าวปกติเท่าใดนัก หลังจากซื้อพันธุ์ข้าว สำหรับผลิตพันธุ์ข้าว จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท กรมการข้าว แล้วดำเนินการดังนี้ เลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ การเตรียมแปลง ต้องกำจัดข้าวเรื้อในนาออกให้หมด โดยการไถพรวน แล้วไขน้ำเข้าให้ข้าวเรื้องอก หลังจากข้าวงอก กำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ ทำทั้งหมดทุกระยะการเจริญเติบโต อย่างน้อย 4 ครั้ง คือ – ระยะต้นอ่อน ดูสีของต้นว่าจะมีสีตรงตามลักษณะพันธุ์หรือไม่ และผิดแปลกไปจากต้นอื่นๆ หรือไม่ สิ่งที่สังเกตง่ายๆ คือ ลักษณะการเจริญเติบโตของต้น ได้แก่ ทรงกอ ความสูงใบ ขนาดของใบ ลักษณะการชูใบ บางพันธุ์ใบตั้ง บางพันธุ์ใบแผ่ บางพันธุ์ใบตก – ระยะเจริญเติบโตหรือระยะแตกกอ ดูลักษณะทรงกอ การแตกกอ ความสูง สีต้นกาบใบและใบ เครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ที่กลุ่มได้รับงบประมาณจัดซื้อตามที่เสนอขอรับการสนับสนุน ตามโครงการเสริมสร้างรายได้เพื่อเกษตรกรรายย่อย ปี 2561 – ระยะออกดอก กำจัดต้นที่ออกดอกไม่พร้อมกับต้นข้าวส่วนใหญ่ – ระยะข้าวแก่ ดูลักษณะเมล็ด สีของเปลือกให้ตรงตามพันธุ์ ลักษณะต่างๆ ของต้นในการพิจารณาข้าวปนหรือข้าวกลายพันธุ์ ข้าวพันธุ์เดียวกันควรมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันออกดอกพร้อมกัน ไม่ควรแตกต่างกันมากเกินกว่า 7 วัน…เมล็ดที่มีหางมักจะปรากฏเสมอในต้นข้าวกลายพันธุ์รวง ลักษณะของรวงข้าวแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน ความสั้นยาวของรวง ความถี่ นอกจากนี้ ข้าวเจ้าบางพันธุ์ จะมีท้องไข่ ก่อนการเก็บเกี่ยวตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีต้นข้าวบางต้นยังมีลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติ ให้เกี่ยวออกต่างหาก เมื่อเห็นว่าต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีจะเกี่ยวนวดทันที ด้วยเครื่องนวดที่ทำความสะอาดอย่างดี ไม่มีเมล็ดข้าวอื่นตกค้างอยู่ นำไปตากและเข้าเครื่องแยกสิ่งเจือปน แล้วนำมาตากแดด 1-2 แดด ฝัดให้สะอาดแล้วบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่แห้งร่มเย็น มีอากาศถ่ายเท พร้อมที่จะจำหน่าย นำข้าวที่บรรจุในกระสอบเทลงกระบะ เพื่อระบายเข้าเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์กำจัดสิ่งปลอมปน และเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ออก คุณสมคเน กล่าวเสริมอีกว่า โครงการเสริมสร้างรายได้เพื่อเกษตรกรรายย่อย เป็นโครงการที่ดี ตอบโจทย์แก้ปัญหาของเกษตรกรได้อย่างแท้จริง อีกทั้งเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เลือกซื้อวัสดุด้วยกลุ่มของเกษตรกร โดยมี ท่านดงพล รุจิธรรมธัช นายอำเภอหันคา และทีมงานคณะกรรมการเป็นที่ปรึกษากลุ่มเกษตรกร ส่งให้ผลที่ได้รับออกมาเป็นที่ถูกใจของเกษตรกร ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวสมาชิกเกษตรกรกลุ่มย่อยทุกคนตระหนักดีว่า ถ้ากลุ่มดำเนินการผลิตอย่างดี รักษาไว้ซึ่งคุณภาพทุกขั้นตอน เพื่อรักษาคุณภาพไม่เพียงรักษาลูกค้าไว้เท่านั้นยังคงช่วยเหลือเพื่อนเกษตรกร ประเทศชาติในการผลิตพืชอาหารที่มีคุณภาพ เพราะพันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ให้ผลผลิตที่ดี ลดต้นทุนการผลิตเพราะทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช เป็นปัจจัยพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการผลิตพืชอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชน สร้างหนุนให้ประเทศไทยก้าวไกลสู่ครัวโลก น่านำไปใช้ในการผลิตพันธุ์ข้าว หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป เมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิกรอการคัดเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพดี แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่คือ มีลานตากเพียง 1 แห่ง ไม่เพียงพอแก่ความต้องการตากพันธุ์ข้าวของสมาชิก และเครื่องมืออีกหลายอย่าง ถ้ารัฐบาลมีโครงการดีๆ เช่นนี้ กลุ่มก็ขอน้อมรับเพื่อพัฒนาต่อไป และขอขอบพระคุณรัฐบาลที่ได้เสนอโครงการดีๆ ให้แก่เกษตรกร เมล็ดพันธุ์ข้าวที่คัดออกมาคุณภาพดี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอหันคา โทร. (056) 451-031 และ (081) 379-7338