สกว.หนุนวิจัยนวัตกรรมสังคมเน้นสูงวัย แก้ปัญหามาตรฐาน อย.-พัฒนายาใหม่

คุณเจน

บอร์ดงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม สกว. พร้อมสนับสนุนงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์สังคม โดยเฉพาะสังคมสูงวัย พร้อมจับมือภาคีแก้ลดปัญหาการรับรองมาตรฐาน อย. นำร่องด้วยเครื่องมือแพทย์ และแนวทางการพัฒนายาใหม่

27 มีนาคม 2562 คุณเจน นำชัยศิริ เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ณ ห้องประชุม สกว. เพื่อติดตามความก้าวหน้าการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ (Thailand Med Tech Excellence Fund: TMTE) และแนวทางการทำงานของฝ่ายอุตสาหกรรม รวมถึงโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ของ สกว.ด้วย

ศ.ดร. ไพศาล กิตติศุภกร รักษาการผู้อำนวยการ พวอ. ระบุว่า ในปีงบประมาณ 2562 ได้สนับสนุนทุนวิจัยทั้งในระดับปริญญาโท-เอก และระดับอุตสาหกรรมไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 120 ทุน โดยมีเงินสมทบจากภาคเอกชนและหน่วยงานภายนอก 13.76 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14 ของงบวิจัยทั้งหมด ซึ่งปัญหาความล่าช้าของงานวิจัยส่วนใหญ่เกิดในระดับปริญญาเอกที่ต้องทำงานตอบสนองความต้องการแก้ปัญหาของภาคเอกชน แต่อาจจะไม่ลึกซึ้งพอที่จะสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการนานาชาติได้ ทำให้ต้องใช้เวลาในการทำงานวิชาการเพิ่มเติม ซึ่งเป็นประเด็นที่จะต้องเจรจากับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ต่อไป

ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางฯ กำชับว่า อยากให้ พวอ.สนับสนุนงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคม ตอบโจทย์ได้เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรม เพราะไทยและอีกหลายประเทศ เช่น จีน กำลังก้าวสู่สังคมสูงวัย ปัจจุบันประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น เป็นโจทย์สังคมที่สำคัญของประเทศในยุคที่คนรุ่นใหม่เกิดไม่ทัน หากมีนวัตกรรม เช่น ช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุที่เดินไม่ได้ ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก

ด้าน รศ.ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม กล่าวว่า เครือข่ายความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งประเทศไทย (Medical Products Consortium of Thailand: MPCT) เป็นการทำงานภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 29 หน่วยงาน เพื่อดำเนินงานใน 3 โครงการ ได้แก่ “โครงการทุนบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Thailand MedTech Excellent Fund: TMTE)” ซึ่งสนับสนุนตามบันได 3 ขั้น คือ 1. ปรับปรุงต้นแบบ โดยผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกจะเข้าสู่ขั้นตอนการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อดูความเป็นไปได้ของตลาดและเข้ารับการอบรม หากผ่านจะได้รับทุนวิจัยและสร้างต้นแบบจาก สกว. 2. ทดสอบต้นแบบ การทดลองในสัตว์และในคน พร้อมกับจดสิทธิบัตรฟรีโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา 3. พร้อมจำหน่ายสู่ตลาด เมื่อผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะได้เข้าบัญชีนวัตกรรมอัตโนมัติ จากนั้นผลิตภัณฑ์จะถูกนำไปทดสอบตลาดโดยมีโรงพยาบาลรัฐสนับสนุนด้านการจัดซื้อ ส่วนเอกชนที่จัดซื้อจะได้สิทธิประโยชน์ที่ต้องมีการผลักดันต่อไป เช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นต้น

ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทางฯ กำชับว่าอยากให้ พวอ.สนับสนุนงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคม ตอบโจทย์ได้เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรม เพราะไทยและอีกหลายประเทศ เช่น จีน กำลังก้าวสู่สังคมสูงวัย ปัจจุบัน ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น เป็นโจทย์สังคมที่สำคัญของประเทศในยุคที่คนรุ่นใหม่เกิดไม่ทัน หากมีนวัตกรรม เช่น ช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุที่เดินไม่ได้ ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก

ด้าน รศ.ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม กล่าวว่า เครือข่ายความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งประเทศไทย (Medical Products Consortium of Thailand: MPCT) เป็นการทำงานภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 29 หน่วยงาน เพื่อดำเนินงานใน 3 โครงการ ได้แก่ “โครงการทุนบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Thailand MedTech Excellent Fund: TMTE)” ซึ่งสนับสนุนตามบันได 3 ขั้น คือ 1. ปรับปรุงต้นแบบ โดยผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกจะเข้าสู่ขั้นตอนการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อดูความเป็นไปได้ของตลาดและเข้ารับการอบรม หากผ่านจะได้รับทุนวิจัยและสร้างต้นแบบจาก สกว. 2. ทดสอบต้นแบบ การทดลองในสัตว์และในคน พร้อมกับจดสิทธิบัตรฟรีโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา 3. พร้อมจำหน่ายสู่ตลาด เมื่อผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะได้เข้าบัญชีนวัตกรรมอัตโนมัติ จากนั้นผลิตภัณฑ์จะถูกนำไปทดสอบตลาดโดยมีโรงพยาบาลรัฐสนับสนุนด้านการจัดซื้อ ส่วนเอกชนที่จัดซื้อจะได้สิทธิประโยชน์ที่ต้องมีการผลักดันต่อไป เช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นต้น

Advertisement

นอกจากนี้ ยังมีโครงการ “เครือข่ายความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งประเทศไทย” ภายใต้ อย. ซึ่ง สกว.และเครือข่ายจากหน่วยงานต่างๆ จะร่วมกันสร้างผู้เชี่ยวชาญให้มีกระบวนการรับรองมาตรฐาน เพราะเป็นอุปสรรคสำคัญ โดยให้คำปรึกษาเพื่อดูความเสี่ยงในการทดสอบวิจัยให้ผ่านมาตรฐาน มีกรรมการช่วยตรวจสอบรายละเอียดและทดสอบวิจัยให้ผ่านมาตรฐาน โดยจะเริ่มนำร่องจากเครื่องมือแพทย์ก่อน หากประสบความสำเร็จจะขยายผลสู่การรับรองมาตรฐานในอาหารและยาต่อไป

ขณะที่ “โครงการพัฒนาคู่มือเพื่อการศึกษาวิจัยและการขึ้นทะเบียนยาใหม่พัฒนาจากตัวยาสำคัญเคมีเดิมที่ได้รับการอนุมัติมาก่อน” ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนายาใหม่เพื่อเพิ่มความสะดวกและความร่วมมือนการรักษาผู้ป่วย โดยร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักยา อย. ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบต่างๆ ทั้งการเปลี่ยนโดส การพัฒนาระบบนำส่ง การพัฒนารูปแบบการใช้ เช่น จากยารับประทานเป็นยาทา ข้อบ่งใช้ สูตรผสมยาชนิดใหม่เพื่อรักษาบางโรค และเพิ่มความแรงของตัวยา ซึ่งแนวทางดังกล่าวมีใช้กันในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

Advertisement