“ศรแดง” หนุนเกษตรกรเปลี่ยนผืนนา เป็นแปลงพืชน้ำน้อย สร้างรายได้ทั้งปี ที่บ้านโนนเขวา ขอนแก่น

พื้นที่บ้านโนนเขวา ต.ดอนหัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น เดิมทีกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่นี้เคยทำนาเป็นอาชีพหลัก แต่ปัญหาใหญ่ที่พบเป็นประจำทุกปีคือ เรื่องน้ำที่มีไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน ชาวบ้านเลยหันมาปลูกพืชน้ำน้อยแทน โดยรวมกลุ่มกัน ในนาม “กลุ่มปลูกผักปลอดภัยบ้านโนนเขวา” กลุ่มนี้เน้นปลูกผักกลุ่มผักใบ เพราะใช้น้ำน้อยกว่า เก็บเกี่ยวได้ไวกว่า ปลูกได้ทั้งปี มีตลาดรองรับ

นายคำปั่น โยแก้ว เกษตรกรตัวอย่างจากกลุ่มปลูกผักปลอดภัยบ้านโนนเขวา อ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้กล่าวว่า  ในพื้นที่บริเวณของกลุ่มบ้านโนนเขวา จะไม่มีชาวบ้านทำนาเลย เพราะว่าทำนาต้องใช้น้ำมาก ถ้าทำนาบ้านเดียว อีกสิบบ้านก็ไม่มีน้ำทำการเกษตรกัน ชาวบ้านเลยหันมาปลูกพืชน้ำน้อยเป็นทางเลือก

คำปั่น โยแก้ว

“ เมื่อปี 2561 ผมได้ทำนาบนเนื้อที่ 5 ไร่ ลงทุนไปประมาณ 12,000 บาท แต่เนื่องจากนาข้าวต้องใช้น้ำเยอะ และการดูแลอย่างทั่วถึง ประกอบกับภาวะอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ผลผลิตที่ออกมาไม่ดี เมล็ดข้าวลีบ ไม่ได้น้ำหนัก ก็ขาดทุนไปครับ ส่วนอีกแปลงหนึ่ง บนเนื้อที่ 4 ไร่ ผมปลูกพืชน้ำน้อยในกลุ่มผักใบมีทั้ง คะน้า ผักบุ้ง ผักกาดหอม ผักชี กวางตุ้ง สลับกันไป ตลาดผักของผม 80% จะเป็นห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ และอีก 20% ขายในตลาดสด พืชน้ำน้อยสามารถสร้างรายได้ให้ผมได้เกือบเดือนละ 30,000 บาท และผมสามารถปลูกได้ทั้งปี สร้างรายได้ให้ผมทั้งปี ผิดกับการทำนาที่ปีหนึ่งผมได้เงินรอบเดียว แถมยังต้องเสี่ยงกับภาวะน้ำน้อยอีก” นายคำปั่น กล่าว

“อีสท์ เวสท์ ซีด” ผู้นำตลาดเมล็ดพันธุ์ผักเบอร์ 1 ในไทยโชว์ 7 พืชน้ำน้อยที่เหมาะสมในช่วงฤดูแล้ง ใช้น้ำน้อยกว่าการทำนา 2 เท่า สร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกช่วงภัยแล้ง

คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด

คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพ ตรา “ศรแดง” กล่าวว่า จากประกาศของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) เรื่องการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากอ่างเก็บน้ำโดยรวมทั้งประเทศ จำนวน 412 แห่ง มีจำนวน 89 แห่ง ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ และน้ำที่ไหลลงเขื่อนในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในระดับต่ำมาก รวมทั้งเขื่อนขนาดกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึง 13 เขื่อน ที่ไม่มีน้ำเหลือแล้ว

เขื่อนอุบลรัตน์

สอดคล้องกับประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่คาดว่าจากปรากฏการณ์เอลนีโญ อุณหภูมิในปีนี้จะสูงกว่าปีที่ผ่านมา 1-2 องศาเซลเซียส ส่งผลให้สภาพอากาศร้อนแล้งยาวนานกว่าทุกปี สถานการณ์น้ำทั่วประเทศไทยยังน่าเป็นห่วง จะมีน้ำสำหรับทำการเกษตรน้อยลงมาก สิ่งที่ทางเกษตรกรจะทำได้คือ การปรับตัว หรือการเลือกพืชน้ำน้อยมาปลูก ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย ใช้น้ำน้อย เก็บเกี่ยวไว สร้างรายได้เร็ว พืชน้ำน้อยนี้จะใช้ปริมาณน้ำน้อยกว่าการทำนาถึง 2 เท่า แต่ให้รายได้มากกว่าการทำนาถึง 5 เท่า

อีสท์ เวสท์ ซีด เราเป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์ที่เล็งเห็นถึงปัญหาใหญ่ของเกษตรกรนี้ จึงได้มีโครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ช่วงภัยแล้ง” โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2559 ที่เราเคยมีโครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย” มาแล้ว ซึ่งโครงการนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมทั้งเกษตรกรผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง

 

“เราเห็นว่าพืชน้ำน้อยจะมีประโยชน์กับเกษตรกรอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้ำที่ใช้น้อยกว่าการทำนาถึง 2 เท่า เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไว ภายใน 2 เดือน ก็สามารถสร้างรายได้แล้ว เทียบกับการทำนาที่ต้องใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน และเกษตรกรไม่ต้องเสี่ยงกับการทำนาที่เราก็รู้อยู่แล้วว่าสถานการณ์น้ำในปีนี้น้อยขนาดไหน” คุณวิชัย กล่าว

โดยพืชน้ำน้อยที่เราแนะนำทั้งหมด 7 ชนิด ด้วยกัน ได้แก่

  1. ข้าวโพด  เช่น ข้าวโพดหวานลูกผสม พันธุ์จัมโบ้สวีท ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 70 วัน  สร้างรายได้ 16,000 บาท ต่อไร่
  1. แฟง เช่น แฟงไส้ตันลูกผสม พันธุ์ปิ่นแก้ว ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 60-65 วัน สร้างรายได้ 40,000 บาทต่อไร่
  1. แตงโม เช่น แตงโมลูกผสม พันธุ์จอมขวัญ ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 55-60 วัน สร้างรายได้ 35,000 บาท ต่อไร่
  1. ฟักทอง เช่น ฟักทองลูกผสม พันธุ์ข้าวตอก 573 ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 75 วัน สร้างรายได้ 24,000 บาท ต่อไร่
  1. แตงกวา แตงร้าน เช่น แตงกวาลูกผสม พันธุ์ธันเดอร์กรีน ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 30-32 วัน สร้างรายได้ 39,000 บาท ต่อไร่
  1. ถั่วฝักยาว เช่น ถั่วฝักยาว พันธุ์ลำน้ำพอง ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 55-60 วัน สร้างรายได้  60,000 ต่อไร่
  1. กลุ่มผักใบ เช่น ผักบุ้ง พันธุ์ยอดไผ่ 9 ระยะเวลาเริ่มเก็บเกี่ยว 20-21 วัน สร้างรายได้ 43,200 บาท ต่อไร่
ผักบุ้ง

สำหรับ โครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ช่วงภัยแล้ง” ในปีนี้ทางศรแดงได้จัดเตรียมทีมงานถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer) ซึ่งเป็นทีมงานที่พร้อมจะมอบองค์ความรู้ด้านการปลูกพืชน้ำน้อย ตั้งแต่การหยอดเมล็ด การใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยวที่ให้เกษตรกรสามารถไปปฏิบัติได้จริง และในปัจจุบัน ทางทีมถ่ายทอดความรู้ได้นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้การสื่อสาร และให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หากสนใจโครงการ “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ช่วงภัยแล้ง” ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ช่องทางการสื่อสารต่างของบริษัท เช่น Facebook เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง, Line (@sorndaengseed) และ Website https://growhow.eastwestseed.com/th/th