เผยแพร่ |
---|
ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2557
สมาชิกแรกตั้ง 36 ราย
สมาชิกปัจจุบัน 200 ราย
ประธานกรรมการ นายนัธวัฒน์ โชติกิตติเสถียร
ที่ทำการกลุ่ม โรงสีข้าวชุมชนบ้านเขียบ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ (088) 795-0217
ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ ได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวหอมมะลิดีเด่นระดับประเทศ
ผลงานดีเด่นและความคิดริเริ่ม
- การแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี
– ได้มีการเริ่มรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีและกระจายเมล็ดพันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน รวมทั้งลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้น
- การเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวทั้งพันธุ์ข้าวคุณภาพดีและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ภายใต้รูปแบบต่างๆ ในชื่อ “เขียบนคร” ทางศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบได้มีการออกบู๊ธจำหน่ายตามงานของทางพาณิชย์ จังหวัดมหาสารคาม และจำหน่ายในช่องทางต่างๆ
- การสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงการตลาด และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศูนย์ ดังนี้
3.1 สร้างเครือข่ายในการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง
– ทำข้อตกลงการรับซื้อข้าว (MOU) กับโรงสีข้าวตามที่พาณิชย์จังหวัดมหาสารคามจัดหาให้
– ทำข้อตกลงการรับซื้อข้าว (MOU) กับมหาวิทยาลัยมหาสารคามและโรงพยาบาลกันทรวิชัย
– ได้ปรึกษาเรื่องการใช้อุปกรณ์การผลิตร่วมกับกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนและกลุ่มนาแปลงใหญ่ของจังหวัดมหาสารคามเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
– ออกบู๊ธจำหน่ายภายในงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
3.2 การประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางเพจประจำกลุ่มบนสื่อโซเชียลเฟซบุ๊กให้เป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอกในชื่อ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ www.facebook.com/ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ
3.3 การพัฒนาศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ
– จัดตั้งกลุ่มการบริหารจัดการและการดำเนินงานของศูนย์ให้บริการสมาชิกตามความจำเป็น
– จัดตั้งกลุ่มการบริหารจัดการรถเกี่ยวข้าวบ้านเขียบ
– จัดตั้งกลุ่มการใช้รถอัดฟางศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ
– จัดตั้งกลุ่มการใช้รถไถนา ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ/นาแปลงใหญ่
– จัดตั้งกลุ่มการบริหารจัดการฉางข้าวชุมชนบ้านเขียบ/ นาแปลงใหญ่
ความสามารถในการบริหารและจัดการสถาบัน
- การบริหารจัดการศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ
1.1 มีสมาชิกเริ่มแรกเมื่อจัดตั้งศูนย์ข้าวชุมชน จำนวน 36 ราย ปัจจุบันมีสมาชิก 200 ราย และได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ของกรมการข้าว ในปี พ.ศ. 2559 พื้นที่เพาะปลูก 3,000 ไร่
1.2 มีคณะกรรมการด้านต่างๆ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารศูนย์ข้าวชุมชน คณะกรรมการตรวจแปลงและคณะกรรมการดูแลเครื่องจักรกล
1.3 จัดทำโครงสร้างการบริหารงาน (ICS) ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบเพื่อสร้างกลไกควบคุมการปฏิบัติและการควบคุมคุณภาพผลผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิก
1.4 มีคณะกรรมการในการตรวจสอบแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของสมาชิก
1.5 กำหนดบทบาทและหน้าที่คณะกรรมการอย่างชัดเจน
1.6 จัดทำระเบียบข้อบังคับศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ
1.7 มีการประชุมคณะกรรมการอย่างต่อเนื่องและกำหนดให้มีการประชุมใหญ่สามัญสมาชิก ปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนของทุกปี
- ผลการดำเนินงาน
2.1 การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
ปริมาณผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ตลอดทั้งปีมีผลผลิต 1,600 ตัน เป็นเมล็ดพันธุ์ จำนวน 150 ตัน
2.2 การกระจายเมล็ดพันธุ์มีแผนผลิตและกระจายให้สมาชิก
– มีการวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
ผลผลิตเมล็ดพันธุ์
ฤดูการผลิต | ปริมาณผลผลิต (ตัน) | การกระจายผลผลิตให้สมาชิก (ไร่) |
ฤดูการผลิต 2559 | 100 | 5,000 |
ฤดูการผลิต 2560 | 100 | 5,000 |
ฤดูการผลิต 2561 | 150 | 7,500 |
2.3 คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว
– การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวดำเนินการในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมแก่การปลูกข้าวหอมมะลิ ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการควบคุมคุณภาพการปะปนพันธุ์ของข้าวหอมมะลิ
– ใช้เมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยายจากกรมการข้าว
– มีการบริหารจัดการแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ และมีขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และการจัดการในด้านต่างๆ ได้แก่ การวางแผนการผลิตการจัดหาปัจจัยการผลิต การปลูกข้าวที่ถูกวิธี การตรวจแปลงการตัดข้าวพันธุ์ปนในระยะต่างๆ การดูแลแปลงนา การเก็บเกี่ยว การนวดข้าว การทำความสะอาดเมล็ด การตากลดความชื้นการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ การบรรจุและการเก็บรักษา การกระจายพันธุ์และการจำหน่าย
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี
3.1 จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง
3.2 จัดกิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 3 ครั้ง
ตลอดช่วงระยะเวลาของการผลิตข้าว
3.3 จัดอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ตามระบบนาแปลงใหญ่
3.4 เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีและการบริหารจัดการองค์กร โดยประธานศูนย์ข้าวชุมชนและสมาชิกร่วมเป็นวิทยากรบรรยายความรู้ในด้านต่างๆ ให้แก่เกษตรกรทั่วไป นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ
3.5 ส่งสมาชิกไปอบรมและศึกษาดูงานองค์ความรู้ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและข้าวคุณภาพดี รวมทั้งการพัฒนาชาวนาของกรมการข้าวและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน
- จัดการประชุมใหญ่สามัญสมาชิกปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนของทุกปี
- สมาชิกมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการด้านต่างๆ และกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ทำให้การบริหารกิจกรรมของกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารศูนย์ข้าวชุมชน คณะกรรมการตรวจแปลง และคณะกรรมการดูแลเครื่องจักรกล
- คณะกรรมการแต่ละชุด ได้มีการกำหนดวาระการประชุมอย่างสม่ำเสมอตามที่ศูนย์ฯ กำหนด
- สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศูนย์ โดยร่วมพิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการชุดต่างๆ ของศูนย์
ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน
- มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ทำหน้าที่บริหารกองทุนภายใต้ระเบียบศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ
- มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับการใช้จ่ายเงินทุนที่อยู่ในระเบียบศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ หมวดที่ 4 เรื่อง รายได้และการเงินของศูนย์ข้าวชุมชน
- มีกองทุนหมุนเวียน จำนวน 300,000 บาท ประกอบด้วย เงินจากหุ้นของสมาชิก จำนวน 162,800 บาท และเงินที่ได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ ได้แก่ การรับจ้างรถเกี่ยวอัดฟาง ขายฟาง จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 137,200 บาท
- การใช้ประโยชน์ของเงินกองทุนจะเป็นไปตามมติและข้อตกลงของศูนย์ข้าวชุมชนที่จะให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้ ให้สมาชิกกู้ยืมสำหรับนำไปจัดซื้อปัจจัยการผลิตข้าวค่าตอบแทนกรรมการค่าปันผลให้แก่สมาชิก ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงานของศูนย์ ค่าวัสดุอุปกรณ์ เบี้ยประชุมสมทบทุนและนำไปใช้เกี่ยวกับสาธารณประโยชน์ของชุมชน ทั้งนี้ รายได้จากการดำเนินงานกิจกรรมของศูนย์ ประกอบด้วย การบริหารจัดการรถเกี่ยวข้าว การใช้รถอัดฟางข้าว รถไถนา ฉางข้าวชุมชน บ้านเขียบจะมีการบริหารจัดการให้แก่สมาชิก ผู้ถือหุ้น ในเรื่องของค่าบริการ การจัดการรายได้ และการปันผลของแต่ละกิจกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการนำแนวคิดของการบริหารจัดการเครื่องจักรกลเกษตรเพื่อทดแทนแรงงานที่มีประสิทธิภาพ (Motor Pool) ตามนโยบายรัฐบาล
- การมีทรัพย์สินของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบ ประกอบด้วย โรงสีข้าว ลานตาก รถเกี่ยวข้าวขนาดกลาง รถเกี่ยวข้าวขนาดใหญ่ เครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว รถไถ ฉางข้าว เครื่องอัดฟาง เครื่องแพ็คข้าวสุญญากาศ และเครื่องหยอดข้าว 4 แถว ซึ่งทรัพย์สินที่ได้มาจากงบพัฒนาจังหวัด การสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ เอกชน และเงินกองทุนของศูนย์ข้าวชุมชน ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดสัญญายืมใช้ครุภัณฑ์การเกษตรอย่างชัดเจนรวมทั้งมีระเบียบอย่างชัดเจนในเรื่องของการบริการ การเก็บค่าใช้จ่ายของสมาชิกบุคคลภายนอก การบำรุงรักษา และการนำรายได้ที่ได้ไปใช้ตามมติของศูนย์ข้าวชุมชน
การทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.กิจกรรมสาธารณประโยชน์
– คณะกรรมการและสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนช่วยกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และพัฒนาชุมชนร่วมกัน เช่น การทำความสะอาดรอบหมู่บ้าน การปลูกต้นไม้ พัฒนาในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันแม่แห่งชาติ และวันพ่อแห่งชาติ
– รายได้ของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเขียบส่วนหนึ่งจะนำไปสมทบทุนอาหารกลางวันให้ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านเขียบ
- กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
– สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนทุกคนจะปลูกปอเทืองหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อทำปุ๋ยพืชสดบำรุงดิน และรณรงค์ให้คนอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกเห็นประโยชน์และปลูกปอเทืองเพื่อเป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมี และลดต้นทุนในการปรับปรุงสภาพดินให้มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกข้าว
– มีการใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มจากฟางข้าว โดยส่งผลให้มีการลดการเผาฟางและตอซัง ทั้งนี้ ได้นำอัดฟางก้อนไปใช้เลี้ยงสัตว์และจำหน่ายเป็นการสร้างรายได้ให้กับสมาชิกและกลุ่ม โดยศูนย์มีเครื่องอัดฟางเป็นของตนเอง
– สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนได้ร่วมกันทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร เพื่อใช้ในกลุ่มโดยรวบรวมสะสมขยะเศษอาหารจากสมาชิกและในชุมชน
– มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกันเพื่อจำหน่ายและนำไปใช้ที่แปลงนาของสมาชิก
ขอบคุณ ข้อมูลจากกรมการข้าว