ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์และต้นแบบเกษตรแผนใหม่ จังหวัดสกลนคร

วันนี้ ได้รับเชิญจาก คุณชาวิช จันทร์เกษ ประธานสหกรณ์การเกษตรผสมผสานสกลนคร จำกัด ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเครือข่าย มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนครร่วมกันขับเคลื่อนโครงการเกษตรเพื่ออาหารและการท่องเที่ยว โดยมีเกษตรกรรุ่นใหม่ young smart farmer เป็นแกนนำเนื่องจากเป็นคนหนุ่มไฟแรงมีแนวความคิดหัวก้าวหน้าทันต่อโลกในสถานการปัจจุบัน ให้มาร่วมงานเปิด สถาบันพัฒนาเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) ที่ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือกลุ่มผสมผสานและเทคโนโลยี กลุ่ม Young Smart Farmer สกลนคร โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นของ คุณสิทธิ์ศักดิ์ พุ้ยมอม อยู่ที่บ้านดอนเชียงบาน หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

วันเปิดงาน

อาศัยติดรถร่วมกับ ว่าที่ ร.ต. ประสิทธิชัย บุระเนตร รักษาการสหกรณ์จังหวัดสกลนคร มารับ และออกจากตัวเมืองสกลนคร มุ่งหน้าไปตามถนนสายสกลนคร-นครพนม ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หรือราว 30 กม. ผ่านทางเข้า เข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเลยไปอีกราว 3 กม. ก็ถึงบ้านดอนเชียงบาน เป็นสามแยก ไปทางอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เลี้ยวซ้ายไปตามถนนดอนเชียงบาน-นาหว้า ราว 2 กม. ก็จะพบกับพื้นที่ของการเปิดงาน “สถาบันพัฒนาเกษตรกร”

เกษตรกรเข้าร่วมงาน

วันนี้ทราบจากคณะมาร่วมเดินทางว่า ได้มีการเชิญกลุ่มเครือข่าย ตลอดจนผู้ที่ต้องการศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม มาร่วมฟังด้วย โดยมี พล.อ. วิบูลย์พงษ์ กลั่นเสนาะ ผู้บริหารโรงแรมอิมพิเรียล เข้าเชื่อมโยงด้านการตลาดรับซื้อผลิตภัณฑ์จากเครือข่าย (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) ผอ.อดิศร เชื้อไทย ตัวแทนเกษตรจังหวัดสกลนคร ร่วมพิธีเปิดสถาบันพัฒนาเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) ว่าที่ ร.ต. ประสิทธิชัย บุระเนตร รักษาการสหกรณ์จังหวัดสกลนครร่วมพิธีเปิดสถาบันเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ ผอ.สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประธานเปิดสถาบันพัฒนาเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) เข้าร่วมเป็นวิทยากรและให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมด้วย

ก่อนที่จะมาเป็น มหาวิทยาลัยชาวนา

คุณสิทธิศักดิ์ พุ้ยมอม อายุ 43 ปี อยู่ที่ 282 หมู่ที่ 3 บ้านดอนเชียงบาน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เล่าว่า หลังจากเข้าเรียนและได้รับประกาศนียบัตรบุณฑิตวิชาชีพครูก็ไปเรียนต่อจนจบปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนงเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม แล้วออกมาหาประสบการณ์ชีวิต

คุณสิทธิศักดิ์ พุ้ยมอม

ประวัติการทำงานในบริษัทอุตสาหกรรม ปี 2528-2539 อยู่บริษัท เกษตรรุ่งเรือง ปี 2539-2540 บริษัท ซับไมครอน จำกัด มหาชน ปี 2540-2553 บริษัท ฮานาเซมิคอนดักเตอร์ จำกัด (มหาชน) ปี 2553-2557 บริษัท ฟาบริเนท จำกัด (มหาชน)

ปี 2557จนถึงปัจจุบัน ได้หันกลับมาทำการเกษตร โดยการพัฒนาในแนวคิดที่นำเทคโนโลยีมาพัฒนา เป็นโครงการวิศวกรรมการเกษตร สกลนคร ทำการเกษตรในพื้นที่ 12 ไร่ ซึ่งที่ดินดังกล่าวคุณแม่ทิ้งไว้ให้ แบ่งเป็น 2 เฟส…เฟส 1 ทำการปลูกป่าแบบผสมผสาน ระหว่างต้นไม้ยืนต้น และพืชผักผลไม้ เฟส 2 ทำการเกษตรปลูกกล้วยน้ำว้า ผสมผสาน ข่า ตะไคร้ และพืชผักสวนครัว

กล้วยอินทรีย์

แนวคิดหรือแรงบันดาลใจที่ทำให้หันกลับมาทำการเกษตร  

คุณสิทธิศักดิ์ บอกว่า อันนี้คงมาจาก ได้มองเห็นครอบครัว ชีวิตเกษตรกรในชุมชนของตนเองและพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนที่เคยไปเยี่ยมชมมาหลายสถานที่ที่ทำการเกษตรมีความยากลำบาก ในเรื่องของการจัดการระบบการให้น้ำ ระบบการจัดการเรื่องบำรุงดิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตร ที่ผ่านมาคนในชุมชนส่วนใหญ่ให้น้ำต้นไม้ใช้สายยางรดน้ำต้นไม้และให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในการบำรุงต้นพืช เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป

จึงเป็นมูลเหตุทำให้ตัดสินใจอยากนำความสามารถและความรู้ที่ตัวเองมีอยู่นำมาประดิษฐ์และพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทำการเกษตร ให้เข้าถึงและใช้งานง่าย สิ่งสำคัญของเกษตรกร

จุดถ่ายภาพ

ทำการเกษตรแล้วได้อะไร

เจ้าของบอกว่า

ได้แหล่งปัจจัย 4 ของครอบครัว อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับสมาชิกในครอบครัว สามารถต่อยอดได้ในวัยที่เกษียณอายุ หรือโดนเลิกจ้างงาน

สร้างความรัก ความสามัคคีในครอบครัว ครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวอย่างยั่งยืน

เป็นตัวอย่างและส่งเสริมให้กับเกษตรกรในชุมชน ได้มีความรู้และทำการเกษตรอย่างเข้าใจ

สามารถรวบรวมสินค้าการเกษตรของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีตลาดและมีรายได้ สามารถประกอบประกอบกิจการเป็นธุรกิจส่งขายภายในแประเทศและต่างประเทศได้

ทำได้จริง

อะไรที่โดดเด่นที่สุดในการทำการเกษตรที่ฟาร์ม

การนำพลังงานทดแทนมาใช้ในฟาร์ม โดยยึดหลักการที่ว่า สร้างและประดิษฐ์เอง ซ่อมบำรุง ดูแลเองได้ เช่น ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบให้น้ำพืชแบบอัตโนมัติ เปิด-ปิดตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ทำการเกษตรแบบปลอดภัย (ปลูกผักอินทรีย์)

ปุ๋ยหมักชีวภาพ

เกษตรกรในชุมชนได้อะไรบ้าง

เกษตรกรจะได้ความรู้ จากการทำเป็นตัวอย่างของฟาร์มเราโดยไม่ต้องลองผิดลองถูกให้เสียต้นทุน

เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่เรามอบให้ ไปใช้ได้อย่างยั่งยืน และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

เกษตรกรสามารถสร้างรายได้

ผลผลิต

ปัญหาอุปสรรคในการทำการเกษตร

ขาดแหล่งความรู้บางอย่างและการช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ

คุณสิทธิศักดิ์ บอกอีกว่า จากประสบการณ์ต่างๆ จึงได้จัดตั้งจัดสร้างโครงการวิศวกรรมเพื่อการเกษตร นำเทคโนโลยีมาพัฒนาใช้เกี่ยวกับการเกษตร Agriculture Engineering Project โครงการวิศวกรรมเพื่อการเกษตร โดยบริษัท อเดคนิค เอ็นเจียเนียริ่ง โซลูชั่น (AEP) จำกัด ตั้งอยู่ที่ 282 หมู่ที่ 3 บ้านดอนเชียงบาน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

แผงควบคุม
แผงโซลาร์เซลล์

แผนยุทธศาสตร์ของ AEP คือ 1. สร้างแลนด์มาร์ค จุดเยี่ยมชม “สวนเกษตรผสมผสาน ธรรมชาติและเทคโนโลยี” เป้าหมายเป็นจุดท่องเที่ยวติด 1 ใน 10 สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2. สร้างจุดเด่นและสร้างสรรค์ อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่สงเสริมการทำเกษตรว่าด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพผลิตด้วยเทคโนโลยีและการจัดการ 3. มุ่งเน้นหรือแสดงศักยภาพว่าด้วยการทำเกษตรแบบผสมผสาน,เกษตรอินทรีย์ ก็สามารถเข้ากันกับเทคโนโลยี (มีความลงตัว ไม่บ้าเทคโนโลยีมาก ไม่เกษตรอินดี้จ๋า) ซึ่งทำได้จริงและเห็นผลจริง

“หลักปรัชญาของ AEP (Agriculture Engineering Project : โครงการวิศวกรรมเพื่อการเกษตร) คือ คัดสรรและคิดค้นสร้างสินค้าที่เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การทำเกษตร 4.0 โดยนวัตกรรมคนไทยเพื่อเกษตรไทยให้ยั่งยืนและสู่สากล” คุณสิทธิศักดิ์ บอก

ให้ความรู้

กิจกรรมเด่นของ โครงการวิศวกรรมเพื่อการเกษตร

Solar Inverter Pump (อุปกรณ์แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า)

– ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ปศุสัตว์สกลนคร

– วาว์ลอัตโนมัติ โรงสีพลังงานแสงอาทิตย์

ตัวควบคุม ระยะไกลตัวขับปั๊มน้ำระบบพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Smart Solar Pump Inverter Monitoring มีให้เลือกใช้ 2 แบบ ได้แก่ NB-IoT GateWay และ WiFi/EtherNet

ด้วยการใช้ AI เฝ้าตรวจสอบระบบสูบน้ำ และการจัดการจ่ายน้ำ ทำให้การบำรุงรักษาเป็นไปด้วยง่ายและประหยัด ในด้านการป้องกัน ความเสียหายสินค้านี้เหมาะกับโครงการประปาหมู่บ้าน หรือหอน้ำบาดาลขนาดใหญ่ ทั้งสวนฟาร์มและสถานที่ที่ใช้น้ำเยอะๆ

เออีพี

ความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม

น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้การดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

ได้ทำงานอยู่กับครอบครัวและสร้างรากฐานรายได้ที่มั่นคงไว้ให้ญาติพี่น้อง

เป็นจุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ young smart farmer และเป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรของจังหวัดสกลนคร

คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีให้เหมาะสมและนำมาใช้ในการทำเกษตร ซึ่งเกิดจากเราทำเองและใช้เอง

เป็น  young smart farmer ต้นแบบของจังหวัดสกลนคร

“เศรษฐกิจพอเพียง” จึงไม่ใช่แนวคิดลอยๆ ตามกระแสสังคมเท่านั้น หากแต่สามารถนำมาปรับใช้ และแปลงแนวคิดไปสู่การปฏิบัติได้เป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ

สำหรับหน่วยงานท่านที่สนใจ อยากชม และศึกษา สามารถติดต่อได้ที่ คุณสิทธิศักดิ์ พุ้ยมอม เลขที่ 282 หมู่ที่ 3 บ้านดอนเชียงบาน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000 โทร. (089) 688-3319