“ไข้เลือดออก” โรคอันตรายถึงชีวิต รู้เท่าทันก่อนสาย

ศ.พญ.ศรีวิชา ครุฑสูตร

ศ.พญ.ศรีวิชา ครุฑสูตร รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายถึงโรคไข้เลือดออกเบื้องต้นว่า ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า (Dengue virus) เชื้อโรคนี้ปกติจะไม่ติดต่อจากคนไปสู่คนแต่จะติดต่อจากคนโดยมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อ ไข้เลือดออกจะมีระยะฟักตัวอยู่ในตัวยุงประมาณ 5-8 วัน เมื่อยุงไปกัดคนก็จะถ่ายทอดเชื้อโรคนี้ให้กับผู้ที่ถูกกัดทำให้ผู้ที่ถูกยุงกัดเป็นไข้เลือดออก ถือเป็นการแพร่เชื้อได้รวดเร็วมาก ฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือลดการแพร่กระจายของเชื้อให้ได้เร็วที่สุด

โรคไข้เลือดออก พบมากในฤดูฝน ยุงเป็นเหมือนกันแทบทุกชนิดถ้าฝนตกหนักมีพายุลูกน้ำจะหายไปหมดทั้งลูกน้ำที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออก แต่ถ้าฝนตกพรำๆ อากาศกำลังดีน่านอนลูกน้ำยุงลายจะเจริญเติบโตได้ดี ตอนนี้จะเป็นโอกาสแพร่เชื้อได้ง่ายมาก

ยุงลายมักพบมากในแหล่งชุมชน อาศัยอยู่ในน้ำนิ่งๆ สะอาดๆ ทางกรมควบคุมโรคจึงพยายามชักชวนให้ประชาชนลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย รณรงค์ให้คว่ำขันคว่ำภาชนะกันทุกสัปดาห์ เนื่องจากลูกน้ำยุงลายสามารถอยู่ได้นานเป็นปีโดยไม่ต้องมีน้ำ ทางที่ดีควรล้างภาชนะและเช็ดถูให้สะอาด ทั้งในแจกัน ถ้วยชาม หรือยางรถยนต์ ถ้าไม่ทำเช่นนี้ลูกน้ำยุงลายก็จะติดอยู่อย่างนั้นถ้ามีน้ำมาอีกทีจะกลายเป็นตัวได้ใหม่

ลักษณะของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค

ลักษณะของยุงลาย คือ ลำตัวมีสีดำและสีขาว ขาเป็นปล้องสีดำและสีขาวสลับกันอย่างเห็นได้ชัด หรือถ้าท่านใดสนใจอยากจะสังเกตยุงลายแบบชัดๆ ขอเชิญท่านมาที่งาน Healthcare เรียนรู้ สู้โรค 2019 ระหว่างวันที่ วันที่ 27 – 30 มิถุนายน 2562 ณ ฮอลล์ 5 อิมแพคเมืองทองธานี ที่บูธคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มียุงลายของจริงไปให้ชม รับรองว่าปลอดภัยเพราะใส่กล่องปิดมิดชิด เพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาหาความรู้เบื้องต้นเพื่อการเฝ้าระวัง

(Photo by Inti Ocon / AFP)

อาการของผู้ที่ติดเชื้อไข้เลือดออก

ลักษณะทั่วไปของโรคไข้เลือดออกจะแยกไม่ออกจากไข้หวัดธรรมดานอกจากมีการตรวจเลือด ในคนปกติถ้ามีไข้ช่วง 2-3 วันแรกท่านจะไม่สามารถแยกออกจากไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ ไข้มาลาเรีย หรือไข้เลือดออก เด็กกับผู้ใหญ่มีอาการต่างกัน เด็กจะมีไข้ประมาณ 4-5 วัน แล้วหลังจากนั้นไข้จะลง ช่วงที่อันตรายคือช่วงที่ไข้ลงซึ่งจะมีไข้หรือเลือดออกก็ช่วงนี้ วิธีสังเกตในเด็กคือปกติทั่วไปถ้าไข้ลดเด็กจะสบายตัวมากขึ้น กลับมาสดใสร่าเริงตามปกติ แต่ถ้าเด็กคนไหนไข้ลงแต่ยังมีอาการซึม ปวดท้อง อันนี้ถือเป็นสัญญาณว่าอาจจะติดเชื้อไข้เลือดออกให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีเพื่อวินิจฉัยแยกโรคและรักษาได้ถูกวิธี

โดยการตรวจแยกโรคแต่ละชนิด จะมีเทคนิคที่แตกต่างกันออกไป เช่น ไข้มาลาเรียจะตรวจง่ายหน่อยคือใช้กล้องจุลทรรศ์ตรวจใช้เวลาไม่นานก็รู้ผล ส่วนไข้เลือดออกกับไข้หวัดใหญ่ลักษณะอาการคล้ายคลึงกันเทคนิคการตรวจก็จะต่างกันออกไป โดยการตรวจเลือดจะมีเทคนิคต่างๆ ซึ่งจะมีอาจารย์อีกท่านที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้โดยเฉพาะมาให้ความรู้

ผศ.ดร.พรสวรรค์ เหลืองวุฒิวงษ์ (ภาพจาก http://www.tm.mahidol.ac.th)

ผศ.ดร.พรสวรรค์ เหลืองวุฒิวงษ์ หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายถึงเทคนิคการตรวจเลือดหาโรคไข้เลือดออกเบื้องต้นว่า เนื่องจากผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลจะมีอาการใกล้เคียงกันหมดเพราะฉะนั้นแพทย์จะพิจารณาการตรวจแบบเบื้องต้น ในปัจจุบันทางโรงพยาบาลจะมีชุดตรวจแบบรวดเร็วที่เรียกว่า แรพิด เทสต์ (Rapid test) โดยการใช้เลือดจากผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายมาตรวจหาเชื้อลักษณะคล้ายกับอุปกรณ์ตรวจการตั้งครรภ์หยดเลือดลงบนชุดตรวจแล้วทราบผล อันนี้จะเป็นการตรวจเบื้องต้นแบบง่ายๆ จะบอกได้ว่าติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ และอย่างที่ทราบว่าไข้เลือดออกมี 4 ชนิด คือไข้เลือดออกชนิดที่ 1 2 3 หรือ 4 ซึ่งสามารถทราบได้จากการตรวจหารสารพันธุกรรมของเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งเป็นวิธีที่บอกได้แน่ชัดว่าติดเชื้อไข้เลือดออกหรือไม่ และยังทำให้ทราบว่าเป็นชนิดใดอีกด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังถ้าเป็นไข้เลือดออกชนิดที่มีความรุนแรง ซึ่งแพทย์อาจจะต้องดูแลใส่ใจผู้ป่วยมากขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้าหากมาโรงพยาบาลช้าคือหลังจากมีไข้แล้วประมาณ 7 วัน ก้อาจจะตรวจหาเชื้อตัวนี้ไม่เจอแล้ว จะต้องใช้วิธีตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไข้เลือดออกแทน

(Photo by ORLANDO SIERRA / AFP)

ข้อห้ามสำหรับผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก

ข้อห้ามสำหรับผู้ป่ายที่เป็นไข้เลือดออก อาการของผู้ที่เป็นไข้เลือดออกคือเกล็ดเลือดจะต่ำ มีเลือดออกได้ง่าย สิ่งที่ควรระวังโดยทั่วไปคือเรื่องยาลดไข้ ยาลดไข้ให้รับประทานได้แค่ ยาพาราเซตามอลเพียงอย่างเดียว ส่วนยาในกลุ่มอื่นๆ เช่นแอสไพรินไม่ควรรับประทานเพราะจะทำให้คนไข้เลือดออกได้มากขึ้น ก็ต้องเรียนให้ทราบว่าถ้าเลือดออกโอกาสเสียชีวิตก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นแนะนำให้พบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อได้รับการดูแลตั้งแต่ต้นโอกาสเสียชีวิตจะน้อยลง ไข้เลือดออกนับเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิตถ้ามาถึงโรงพยาบาลช้าโอกาสเสียชีวิตก็สูงขึ้น

สำหรับการรักษายังไม่มียารักษาโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะ มีเพียงวัคซีนในการป้องกันมีประสิทธิผลที่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งในขณะนี้กำลังมีการวิจัยวัคซีนอีกชนิดขึ้นมา ดูเหมือนว่าจะได้ผลดีแต่ว่ายังไม่ได้นำออกมาขายในตลาดอาจต้องรอดูกันต่อไป การป้องกันที่ง่ายที่สุดคือพยายามอยู่ห่างจากสถานที่สุ่มเสี่ยง ทำความสะอาดที่พักอาศัยให้ปลอดภัยจากการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

สำหรับท่านที่สนใจที่จะเรียนรู้เท่าทันโรคไข้เลือดออกกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานมหกรรมสุขภาพสุดยิ่งใหญ่แห่งปี เฮลท์แคร์ (Healthcare) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 ภายใต้แนวคิด “เรียนรู้ สู้โรค 2019” ระหว่าง วันที่ 27 – 30 มิถุนายน 2562 ณ ฮอลล์ 5 อิมแพคเมืองทองธานี ที่รวบรวมบุคลากรทางการแพทย์ทั้งจากโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนกว่า 30 แห่ง พร้อมใจยกทัพมาตรวจสุขภาพฟรี และให้บริการทางการแพทย์อีกมากมาย

7 กลุ่มเสี่ยง มาฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ฟรี! ได้ที่งาน Healthcare เรียนรู้ สู้โรค 2019

27 – 30 มิถุนายนนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร จัดเตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อฉีด”ฟรี”ให้กับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่

1. หญิงมีครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
2. เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี
3. ผู้มีโรคเรื้อรังประจำตัว ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจ หืด ไตวาย หลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน
4. ผู้สูงอายุที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
6. โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ
7. โรคอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
คลิกลงทะเบียน http://bkkapp.nhso.go.th/public/vaccine01
หรือ สแกน QR Code ด้านล่าง เพื่อลงทะเบียนได้เลย