ไทยแลนด์ 4.0 ที่ไม่ใช่ 0.4 กรณี Farmer Shop เพื่อผู้ประกอบการรายย่อยไม่เสียเปรียบรายใหญ่

หนึ่งในแนวคิดและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลที่พยายามผลักดันให้เป็นวาระของชาติ คือ การสามารถนำผลวิจัยทางวิชาการมาปรับใช้ให้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งเป็นโมเดลที่หลายประเทศนำมาใช้จนประสบความสำเร็จมาแล้ว กับการนำงานวิจัยดีๆมาทำให้เป็นผลรูปธรรมกับชุมชน-ท้องถิ่น ซึ่งญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในต้นแบบสำคัญในเรื่องนี้

เรามาดูแนวคิด Farmer Shop กัน ซึ่งแนวคิดนี้มาจากการที่เกษตรกร และผู้ประกอบการรายย่อยต้องเสียเงินมากถึง 35 เปอร์เซ็นต์ของราคาขายเพื่อนำสินค้าไปวางขายในห้างร้านต่างๆ

กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยเช่นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าOTOPประสบปัญหาเรื่องช่องทางการขายสินค้าเพราะห้างร้านต่างๆเก็บเงินค่าวางสินค้าสูงถึง35เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้าและผู้ประกอบการรายย่อยต้องยอมรับเงื่อนไขที่ว่าหากยอดขายไม่ถึงเป้าห้างร้านจะถอดสินค้าออกทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยเสียเปรียบผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีแหล่งเงินทุนสูงกว่า



นักวิจัยจึงพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสร้างความเป็นธรรมและเอื้อประโยชน์ต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและผลผลิตจากงานวิจัยนี้ก็คือFarmerShopซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าด้วยกันผู้ผลิตสามารถนำสินค้ามาวางขายได้โดยไม่โดนบวกราคาอย่างไม่เป็นธรรมและผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้าคุณภาพในราคาคุ้มค่าโดยในปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดความรู้ในการทำFarmerShopสู่ชุมชนต่างๆทั้งในและต่างประเทศ

ที่มา งานวิจัยการขับเคลื่อนการพัฒนาการสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรมระยะที่ 6 โดย รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท
ข้อมูล : หนังสือ WHAT R U DOING? โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์เรียบเรียง