5 ตำรับสมุนไพร เยียวยา ‘โรคกระเพาะอาหาร’

เคยรู้สึกไม่สบายท้อง รับประทานอะไรเข้าไปก็แน่นท้อง เป็นๆ หายๆ บ้างไหม?

ทราบหรือไม่ว่าอาการดังกล่าว คือ อาการหนึ่งของโรคกระเพาะอาหาร!

ที่หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าโรคกระเพาะอาหาร คือ โรคที่เกิดจากกระเพาะโดนน้ำย่อยกัดจนเป็นแผล แต่ความจริงแล้วมีผู้ป่วย 60-90% เป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล พบเพียงการอักเสบเล็กน้อยของกระเพาะอาหารเท่านั้น

แต่ไม่ว่าจะเป็นโรคกระเพาะอาหารแบบมีแผลหรือไม่มีแผล อาการของโรคก็มีความคล้ายคลึงกัน คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ หรือบริเวณเหนือสะดือ ท้องอืด อาการมักเป็นๆ หายๆ มักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว อาการปวดหรือแน่นท้องจะดีขึ้นหลังทานอาหาร หรือได้รับยาลดกรด บางรายจะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้องหรือรู้สึกไม่สบายในท้อง มีลมมากในท้อง ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น หรืออาจมีคลื่นไส้อาเจียน หรืออาการแสบร้อนยอดอกร่วมด้วย

เเล้วรู้หรือไม่ว่าโรคกระเพาะอาหารเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ?

เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร มีการหลั่งกรดในกระเพาะมากเกินไป หรืออาจเกิดจากความเครียด การทานอาหารรสจัด การดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

หรือพฤติกรรมบางอย่างก็สามารถส่งเสริมให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้ เช่น การสูบบุหรี่ ทำให้อัตราการเป็นแผลกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น แผลหายช้า เป็นใหม่ได้ง่าย ทำให้การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาได้ผลไม่ดี การทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือการทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น ibuprofen, diclofenac, piroxicam เป็นต้น ที่มีผลในการระคายเคืองกระเพาะอาหารบ่อยๆ ก็อาจจะทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารได้เช่นกัน

สำหรับการรักษานั้น อันดับแรกก็ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น ลดการทานอาหารรสจัด ทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่ซื้อยาแก้ปวดทานเองโดยไม่จำเป็น

ในส่วนของยารักษาแผนปัจจุบันก็มีหลายกลุ่มยาที่แพทย์อาจสั่งใช้ร่วมกัน คือ ยาลดการหลั่งกรด เป็นกลุ่มยารักษาหลัก ออกฤทธิ์โดยไปยับยั้งเซลล์ที่หลั่งกรดโดยตรง เช่น cimetidine, omeprazole และยาลดกรดชนิดที่ออกฤทธิ์โดยการสะเทิน (neutralize) กรดที่หลั่งออกมา ซึ่งมักมีส่วนประกอบของ aluminium hydroxide และ magnesium hydroxide ตัวอย่างยา เช่น antacid

นอกจากนี้ ยังอาจมีกลุ่มยาช่วยย่อยและยาขับลม เสริมประสิทธิภาพในการรักษาให้ดีขึ้น ส่วนกรณีติดเชื้อแบคทีเรีย ก็จะมีการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย การรักษาโรคกระเพาะอาหารโดยทั่วไปจะใช้เวลารับประทานยารักษาประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยต้องทานยาให้สม่ำเสมอ ครบตามจำนวนและระยะเวลาที่แพทย์สั่ง

ในส่วนของสมุนไพรไทยนั้น ก็มีตำรับยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างได้ผลอยู่หลายตำรับ เช่น

1. ขมิ้นชัน แน่นอนว่า เมื่อมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ถ้าอยากหายแบบไม่พึ่งยาลดกรด ก็ต้องนึกถึงเจ้าสมุนไพรชนิดนี้ เป็นอย่างแรก โดยจะนิยมนําขมิ้นชันสดบริเวณแง่งมาล้าง ให้สะอาด แล้วนั่นบางๆ จากนั้นนําไปตากแดดให้แห้ง และ นํามาตําให้ละเอียดเป็นผงผสมกับน้ำรับประทาน ซึ่งปัจจุบันมี วางจําหน่ายเป็นชนิดแคปซูลสะดวกต่อการพกพามากยิ่งขึ้น และน้ำมันหอมละเหยในขมิ้นชันนั่นเอง ที่มีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขับลม และช่วยสมานแผล ในกระเพาะอาหาร

2. กล้วยน้ำว้า แต่ต้องเป็นกล้วยน้ำว้าดิบเท่านั้น เนื่องจาก มีสารที่ชื่อว่า “แทนนิน” ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ แบคทีเรีย ปกป้องผนังกระเพาะลําไส้จากเชื้อโรคและของ รสเผ็ดจัด โดยวิธีการใช้ก็คล้ายๆ กับขมิ้นชัน คือนําผลกล้วยดิบ มาล้างให้สะอาด ฝานเป็นแผ่นบางๆ จากนั้นนําไปตากแห้งหรือ อบ แล้วนํามาบดเป็นผงชงกับน้ำดื่มและยังช่วยเร่งการสมานแผลของกระเพาะอาหาร ทั้งยังช่วย ลดการอักเสบเฉียบพลันของกระเพาะอาหารเนื่องจากฤทธิ์ของ แอลกอฮอล์อีกด้วย

3. ลูกยอ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายหลากชนิด จัดเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันอย่าง ช่วยในการป้องกันหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน ช่วยเร่งการสมานแผลของกระเพาะอาหารในหนูทดลอง และลดการอักเสบของกะเพราะอาหารเฉียบพลันจากแอลกอฮอล์ ลดการหลั่งกรดได้ดีเทียบเท่ากับยารานิทิดีนและแลนโซพราโซล และยังช่วยเพิ่มการบีบตัวของทางเดินอาหารได้ดีกว่ายาซิสซาพรายด์

4. ว่านหางจระเข้ ใบอวบๆ ที่เต็มไปด้วยหุ้นของว่านหางจระเข้ เป็นอะไรที่ดีต่อกระเพาะอาหารเป็นอย่างยิ่ง ช่วยรักษาแผลใน กระเพาะอาหารได้ดี โดยให้นําใบแก่ของว่านหางจระเข้ นํามา ล้างน้ําให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก เอาแต่ส่วนที่เป็นวุ้นใส มารับประทานหรืออาจจะดัดแปลงนําไปแช่น้ําเชื่อม หรือทําเป็น วันเพื่อให้รับประทานง่ายยิ่งขึ้น เป็นของทานเล่นที่อร่อย แถมช่วย เคลือบกระเพาะอาหาร ป้องกันโรคกระเพาะไปในตัว

5. มะตูม พืชสมุนไพรที่คนไทยเรารู้จักเป็นอย่างดี คนสมัย ก่อนนิยมนําเอาลูกมะตูมมาฝานบางๆ แล้วเอาไปตากแดดจนแห้งดี จากนั้นนําไปย่างให้หอมแล้วนําไปต้มกับน้ําร้อน เติมน้ําตาล สักหน่อย ก็จะได้น้ํามะตูมที่รสชาติหวานหอม ไม่เพียงช่วยดับ กระหาย ชุ่มคอ แต่ยังช่วยขับลมจุกเสียดในช่องท้อง รักษา โรคกระเพาะ ลดอาการบิดของโรคลําไส้ และมีฤทธิ์เป็นยาระบาย อ่อนๆ ไม่เพียงเท่านั้นมะตูมยังถูกจัดให้เป็นไม้มงคลอีกด้วย มักนิยมปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคลของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย