ทำไม? “ในหลวง รัชกาลที่9” ไม่โปรดเสวย “ปลานิล” ถึงขั้นโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปไว้ที่อื่น

ต้องไม่ลืมว่า “ในหลวง” ไม่โปรดเสวย “ปลานิล”…

ทุกครั้งที่มีผู้นำปลานิลไปตั้งเครื่องเสวย จะโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปไว้ที่อื่น โดยไม่รับสั่งอะไรเลย

จนวันหนึ่งมีผู้กล้าหาญชาญชัยกราบบังคมทูลถามว่า “เพราะเหตุใดจึงไม่โปรดเสวยปลานิล” มีกระแสรับสั่งว่า

“ก็เลี้ยงมันมาเหมือนลูก แล้วจะกินมันอย่างไร”

เรื่องนี้มีตำนาน…

เมื่อ พ.ศ.2524 แรกครั้งพระจักรพรรดิอากิฮิโต ยังทรงฐานันดรศักดิ์เป็นมกุฎราชกุมาร ได้ส่งปลานิลทางเครื่องบินจำนวน 100 ตัว มาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในหลวง ปรากฏว่า เมื่อเดินทางมาถึงเมืองไทย ปลาตายเกือบหมด เหลือรอดใกล้ตายเพียง 10 ตัว

Advertisement

ในหลวงทรงเป็นห่วงเป็นใยปลานิลเหล่านี้ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นำไปไว้ในพระที่นั่งและทรงเลี้ยงอย่างประคบประหงม จนปลานิลทั้ง 10 ตัวรอดชีวิต

จนปลานิลทั้ง 10 ตัว ได้สนองพระเดชพระคุณแพร่พันธุ์ไปอีกมากมายตามพระราชประสงค์ เป็นอาหารของคนไทยกว่า 60 ล้านคนมาจนทุกวันนี้

Advertisement
This photo taken on September 25, 1991 shows visiting Japanese Emperor Akihito (2nd R) and Empress Michiko (2nd L) posing with Thai King Bhumibol Adulyadej (R) and Queen Sirikit Kitiyakara (L) at the Grand Palace in Bangkok. (Photo by JAPAN POOL / JIJI PRESS / AFP)

หมายเหตุ : บทความนี้เคยตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ฉบับวันที่ 4 ธันวาคม 2543 โดยนายแถมสิน รัตนพันธ์ุ หรือ “ลัดดา ซุบซิบ” โดยต่อมาได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มเป็นบทหนึ่งในหนังสือ “ใกล้เบื้องพระยุคลบาท กับลัดดาซุบซิบ”