“ยันม่าร์” เครื่องจักรกลเกษตรแถวหน้าจากญี่ปุ่น มองอนาคตอีก 100 ปีข้างหน้า พัฒนาสร้างสรรค์สิ่งดีๆ อย่างไม่หยุดยั้ง

เมื่อเร็วๆ นี้ยันม่าร์นำสื่อมวลชนไทยมาเยี่ยมชมธุรกิจในญี่ปุ่น บริษัทฯ ได้นำชมอาคาร Flying-Y ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของยันม่าร์ที่สร้างขึ้นบนพื้นที่เดิมเมื่อเริ่มก่อตั้งบริษัทฯ ในปี 2455 ตัวอาคารสร้างขึ้นจากเทคโนโลยีล่าสุดจากธุรกิจต่างๆ ของยันม่าร์ นับเป็นอาคารที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการสื่อสารนวัตกรรมโซลูชั่นของยันม่าร์ไปยังตลาดโลก

อาคาร Flying-Y ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของยันม่าร์

ซึ่งนอกจากแนวคิดที่ทันสมัยแล้วยันม่าร์ยังมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกลมองไปยังอนาคตในอีก 100 ปีข้างหน้าตามวิสัยทัศน์ “A Sustainable Future” หรืออนาคตที่ยั่งยืน จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลกเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์

เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้อย ยันม่าร์จึงอยากทำพลังงานทุกหยดให้มีค่าที่สุด พยายามนำเสนอเทคโนโลยีที่สร้างผลผลิตได้อย่างสูงสุดโดยใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด  เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด และสร้างชีวิตที่ดีเพื่ออนาคตของทุกคน ซึ่งยันม่าร์มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ระแนงรอบอาคารปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร

ปี 2476 ยันม่าร์ได้เป็นบริษัทแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่เหมาะกับการใช้งานในตลาด นับแต่นั้นยันม่าร์ได้ขยายจากเครื่องยนต์ดีเซลที่เป็นหัวใจหลักของบริษัท ไปยังผลิตภัณฑ์ บริการ และความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆ เพื่อนำเสนอโซลูชั่นที่ครบวงจรในฐานะผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม โดยโซลูชั่นที่โดดเด่นของยันม่าร์ อาทิ

  • การคิดค้นเครื่องยนต์ 2LB และ เครื่องยนต์ SS สำหรับเรือประมงในปี 2490 ซึ่งเป็นช่วงหลังเกิดวิกฤตขาดแคลนอาหารหลังสงครามโลก
  • แทรกเตอร์พลังแรงรุ่น Y ซีรี่ส์ ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ที่เหมาะสำหรับการไถโดยเฉพาะ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ขายดีอันดับหนึ่งในปี 2509
  • รถไถเดินตามรุ่น HD5 เปิดตัวในปี 2508 ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลเครื่องแรกของญี่ปุ่นที่สามารถพรวนดินได้ นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้อุตสาหกรรมการการเกษตรและตอบโจทย์ปัญหาขาดแคลนแรงงาน
  • รถขุด YB600C ที่เปิดตัวในปี 2515 สามารถขุดได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ในจุดที่แคบ
  • Smart Assist Remote ในปี 2556 ที่เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีไอซีทีเพื่อการเกษตรหลักของยันม่าร์

และ นวัตกรรมล่าสุดจากยันม่าร์ คือ “โรบอทแทรกเตอร์” ที่ทำงานแบบไร้คนขับหรือสามารถทำงานแบบมีคนขับก็ได้ โดยตั้งค่าการทำงานจากแท็บแล็ต ซึ่งจะเข้ามาช่วยเกษตรกรทำงานเกษตรให้เป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น ทั้งช่วยในด้านการเพิ่มผลผลิตและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร

แทรกเตอร์ต้นแบบ ในพิพิธภัณฑ์ยันม่าร์

ซึ่งผลประกอบการในปีที่ผ่านมายันม่าร์มียอดขายเป็นที่น่าพอใจ มีแนวโน้มของการเติบโตของยอดขายสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อ้างอิงจากกราฟแสดงยอดขายของยันม่าร์กรุ๊ปตั้งแต่ปี 2014-2019 ที่มีกราฟเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยประเทศไทยเป็นแชมป์ที่มียอดขายสูงเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และยันม่าร์ก็สัญญาว่าจะพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของพี่น้องเกษตรกรทุกคน

สายการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล ในโรงงานบิวะ ของยันม่าร์

และนอกจากความเป็นผู้นำด้านเครื่องจักรกลการเกษตรแล้วยันม่าร์ยังเชื่อในความสำคัญของกีฬาที่จะเป็นพลังและสร้างความตื่นตัวในสังคม บริษัทฯ จึงให้การสนับสนุนกีฬาฟุตบอลมาอย่างยาวนาน โดยยันม่าร์เป็นพันธมิตรหลักของสโมสรฟุตบอลอาชีพในเจลีกอย่างเซเรโซ โอซาก้า(Cerezo Osaka) ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี 2500 จากชมรมฟุตบอล Yanmar Diesel Soccer Club ที่มีพนักงาน 14 คนเป็นสมาชิก

ในประเทศไทย ยันม่าร์มุ่งสนับสนุนเยาวชนที่มีความฝันด้านกีฬาฟุตบอลผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา กลุ่มยันม่าร์ได้ร่วมกับกลุ่มบางกอกกล๊าซ สโมสรบีจีปทุมยูไนเต็ด (ซึ่งยันม่าร์เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ) และเซเรโซ โอซาก้า ในการก่อตั้งยามาโอกะ ฮานาซากะ อคาเดมี (Yamaoka Hanasaka Academy หรือ YHA) โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะกีฬาฟุตบอลให้กับเยาวชนไทย และสร้างโอกาสให้กับเยาวชนที่ขาดแคลนให้สามารถทำตามความฝันในการเป็นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ

ผู้บริหารถ่ายภาพกับเยาวชนไทยที่ได้รับโอกาสทำตามความฝันในการเป็นนักฟุตบอลอาชีพ
นายฮิโรอากิ โมริชิมา ประธานสโมรสรเซเรโซ โอซาก้า
นายมาโกกิชิ ยามาโอกะ ผู้ก่อตั้งยันม่าร์
อาคาร Flying-Y ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของยันม่าร์
เครื่องยนต์ดีเซลยันม่าร์ที่ผลิตเสร็จสิ้น รอการตรวจเช็คในขั้นตอนสุดท้าย
เครื่องยนต์ดีเซลยันม่าร์ที่ผลิตเสร็จสิ้น รอการตรวจเช็คในขั้นตอนสุดท้าย
สายการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล ในโรงงานบิวะ ของยันม่าร์