มก. ผุดไอเดีย นำเปลือกหอยเหลือทิ้ง สร้างมูลค่า

หอยแมลงภู่ จัดเป็นสัตว์น้ำ มีราคาถูก รับประทานง่าย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีการประยุกต์ใช้เปลือกหอยแมลงภู่ ความนิยมในการบริโภคหอยแมลงภู่และปริมาณผลผลิตหอยแมลงภู่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า หอยแมลงภู่ เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปริมาณหอยแมลงภู่มีมากขึ้น คือ เปลือกหอยแมลงภู่

เปลือกหอย

วิธีการกำจัดโดยนำซากเปลือกหอยมาเป็นส่วนผสมในการผลิตคอนกรีต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยลดปริมาณขยะ กำจัดขยะอินทรีย์ ลดความต้องการพื้นที่ในการฝังกลบขยะและลดปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ครัวเรือนหรือชุมชนที่มีปริมาณเปลือกหอยเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก นำไปต่อยอดในการทำเป็นอาชีพเสริมให้กับแรงงานที่รับจ้างแกะหอยและยังเพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกหอยอีกด้วย

กระถางต้นไม้

นางสาวรติกร สมิตไมตรี ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาเกษตรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) กิจกรรม : การยกระดับและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรไทยสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ด้วยต้นแบบเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรสมัยใหม่ พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่าว่า โครงการนี้มีที่มาจาก การที่เราเห็นปัญหาหนึ่งจากการทำประมงชายฝั่งทะเล ในพื้นที่ของอ่าวศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่มีการเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่เป็นจำนวนมาก และหอยแมลงภู่จัดเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสำคัญ มีความนิยมในการบริโภคหอยแมลงภู่จำนวนมาก และสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้หลากหลาย ผลกระทบที่เกิดจากการบริโภคและการแปรรูปหอยแมลงภู่ คือ มีเปลือกหอยแมลงภู่ที่เหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก

น้ำ

การกำจัดส่วนใหญ่คือ การนำไปถมที่ แต่เปลือกหอยที่มีเศษเนื้อติดอยู่ก็จะเกิดการเน่าและส่งกลิ่นเหม็นรบกวน คณะผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางใหม่ในการกำจัดซากเปลือกหอย โดยนำเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้งมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตคอนกรีต เป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตต่างๆ เช่น เก้าอี้ กระถางต้นไม้ แผ่นทางเดิน เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณขยะ เป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม สามารถทำได้เองในครัวเรือนหรือชุมชนที่มีปริมาณเปลือกหอยเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก นับเป็นการกำจัดเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้งแบบเบ็ดเสร็จ

ทรายหยาบ

การประยุกต์ใช้โดยนำเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้ง เช่น

  1.  ชุดกรองน้ำ ที่นำเปลือกหอยแมลงภู่มาแทนกรวดเล็ก
  2.  การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ที่ทำเป็นน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกหอยแมลงภู่
  3.  การเพาะเห็ดในถุงขี้เลื่อย ที่นำเปลือกหอยแมลงภู่ป่นมาเพิ่มธาตุอาหารให้ก้อนเชื้อเห็ด
  4.  ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ที่มีส่วนผสมของแมลงภู่บดที่นำมาเป็นส่วนผสมของคอนกรีต ซึ่งเราจะยกตัวอย่าง ชุดกรองน้ำเสียจากเปลือกหอยแมลงภู่ และผลิตภัณฑ์คอนกรีต

ชุดกรองน้ำเสียจากเปลือกหอยแมลงภู่

หิน

เริ่มจากการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ นุ่น หรือสำลี ถ่าน ทรายละเอียด ทรายหยาบเปลือกหอยแมลงภู่ (แทนกรวดเล็ก) กรวดใหญ่ ขวดน้ำ 

เปลือกหอยแมลงภู่บด

วิธีการทำชุดกรองน้ำ

  1.  เตรียมขวดน้ำพลาสติก ขนาด 5 ลิตร ตัดก้นขวด
  2.  วางชั้นกรองตามลำดับ นุ่นหรือสำลีวางไว้ล่างสุด ถ่าน ทรายละเอียด ทรายหยาบเปลือกหอยแมลงภู่ (แทนกรวดเล็ก) กรวดใหญ่
  3. วางภาชนะรับน้ำไว้ด้านล่างนุ่นหรือสำลี

ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสม

ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมจากเปลือกหอยแมลงภู่ ได้แก่

  1. เก้าอี้สนาม
  2. กระถางต้นไม้
  3. อิฐบล็อกรูปทรงต่างๆ
  4. แผ่นทางเดิน

การทำกระถางต้นไม้

สัดส่วนผสมของคอนกรีตขนาดเล็ก

รูปแบบฐาน

งานก่อสร้างขนาดเล็ก มีสัดส่วนผสมโดยปริมาตร คือ

เปลือกหอยแมลงภู่บด      1          ส่วน  (ใช้เปลือกหอยแทนทราย)

ปูนซีเมนต์                      1          ส่วน

หิน                                1          ส่วน

วิธีการผสมคอนกรีต

น็อต

วิธีการผสมด้วยมือ เหมาะกับงานขนาดเล็กที่ไม่เคร่งครัดเรื่องคุณภาพมากนัก มีขั้นตอนดังนี้

  1. ผสมปูนและเปลือกหอยแมลงภู่บดให้เข้ากัน
  2. ใส่หินตามลงไป
  3. ใส่น้ำ (ปริมาณของน้ำที่ใส่พอที่จะทำให้คอนกรีตลื่นไหลเข้าแบบได้ หากใส่น้ำมากไปจะทำให้คอนกรีตเหลว กำลังอัดจะลดต่ำลง) จากนั้นปล่อยให้น้ำซึมเข้าส่วนผสมขณะหนึ่งแล้วผสมจนเข้ากัน
  4. ตักนำไปใช้งาน

ผลิตภัณฑ์คอนกรีต (เก้าอี้สนาม)

วัสดุและสัดส่วน

ประกอบฐาน

เปลือกหอยแมลงภู่บด      3          ส่วน

ทรายหยาบ                    3          ส่วน

ปูนซีเมนต์                      2          ส่วน

หิน                                1          ส่วน

น้ำ                                1          ส่วน

วิธีการผสมคอนกรีต

ลวด
  1. นำส่วนผสมทั้งหมด (ยกเว้นน้ำ) มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  2. ใส่น้ำและทิ้งไว้ ประมาณ 20-30 นาที หลังจากนั้น ผสมให้เข้ากัน
  3. สังเกตดูส่วนผสมว่าข้นหรือเหนียวเกินไปหรือไม่ ถ้าเหนียวเกินไปสามารถเติมน้ำลงไปได้เล็กน้อย
  4. นำคอนกรีตที่ได้ไปใช้งาน ขึ้นรูปในแบบต่างๆ ทิ้งไว้ 1-2 วัน จึงแกะแบบได้

    

ส่วนผสมที่เทน้ำ
ส่วนผสมที่เทหิน
คลุกเคล้าให้เข้ากัน
เทส่วนผสมลงในรูปแบบฐาน
เกลี่ยให้เท่ากัน
เช็ดทำความสะอาด
เก้าอี้สมบูรณ์

 …………………………….

เผยแพร่ในระบบออนไลน์เป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563