ผู้เขียน | วีรสุทธิ์ โฮสูงเนิน /รายงาน |
---|---|
เผยแพร่ |
นายชนะ ไชยฮ้อย เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า เนื่องจากเข้าสู่ฤดูแล้งสภาพดังกล่าวเหมาะกับการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง โดยจะทำลายมันสำปะหลังด้วยการดูดน้ำเลี้ยง แล้วปล่อยน้ำหวานทำให้เกิดราดำ ทำให้มันสำปะหลังลดการสังเคราะห์แสง เจริญเติบโตไม่เต็มที่ และในน้ำลายของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ มีสารพิษที่ทำให้ลำต้นมันสำปะหลังมีข้อถี่ ยอดหงิกเป็นพุ่มและแห้งตาย ไม่สร้างหัว หรือสร้างหัวน้อยลง หรืออาจทำให้ต้นมันสำปะหลังตายได้ การแพร่กระจายเพลี้ยแป้งสีชมพูชนิดนี้ ส่วนใหญ่ติดไปกับท่อนพันธุ์ ซึ่งจะทำให้การแพร่ระบาดรวดเร็วขึ้น โดยได้ให้แนวทางในการควบคุมเพลี้ยแป้ง ดังนี้
แนวทางของการป้องกันเพลี้ยแป้ง
1.พื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง ห้ามเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์เพื่อไปปลูกแหล่งปลูกอื่น
2.เกษตรกรที่จะปลูกมันสำปะหลังให้เลือกท่อนพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง
3.ก่อนปลูกแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีไทอะมีโทแซม 25%WG อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 10 นาที
- 4. ควรปลูกต้นฤดูฝน เพื่อให้มันสำปะหลัง
5.ก่อนปลูกควรไถและพรวนดินหลายครั้ง และตากดินอย่างน้อย 14 วัน
แนวทางของการเฝ้าระวัง
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกมันสำปะหลังทุกสัปดาห์
2.หากพบการระบาดเพียงเล็กน้อยให้เด็ดยอดที่มีการทำลายของเพลี้ยแป้งใส่ถุงดำนำไปเผาทำลาย
- ฉีดพ่นด้วยเชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
แนวทางการกำจัดในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง
1.พบการระบาดรุนแรงในมันสำปะหลังอายุ 1-4 เดือน ยอดมันสำปะหลังจะหงิกเป็นกระจุก ให้ถอนทิ้งใส่ถุงดำมัดปากหรือนำไปเผา
2.พบการระบาดรุนแรงในมันสำปะหลังอายุ5-8 เดือน ให้ตัดยอดที่หงิกเป็นกระจุกใส่ถุงดำทำลาแล้วฉีด
พ่นด้วยสารเคมีไทอะมิโท 25%WG 8 กรัม ผสมกับไวท์ออยล์ 67% EC 200 ซี.ซี.ผสมกับน้ำ 80 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่
3.สำหรับมันสำปะหลังที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไปให้รีบทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตทันที นำต้นทั้งหมดไปเผา
ทำลายและทำความสะอาดแปลง ไถตากดินทิ้งไว้ 14 วัน ก่อนปลูกใหม่
หากมีข้อสงสัยหรือมีปัญหา ปรึกษาได้ที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู
โทร.0-4231- ๖๗๘๘ หรือสำนักงานเกษตรอำเภอที่ใกล้บ้านท่าน