เครือซีพีตอกย้ำนโยบายสนับสนุนด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาบ้านเกิด ภูมิใจกับบัณฑิตรุ่นแรก ทุนการศึกษา “คนน่านไม่ทิ้งกัน”

เครือซีพีตอกย้ำนโยบายสนับสนุนและพัฒนาด้านการศึกษา ชูมิติการศึกษาเพื่อพัฒนาบ้านเกิด สุดภาคภูมิใจกับบัณฑิตรุ่นแรก โครงการทุนการศึกษา “คนน่านไม่ทิ้งกัน” ก้าวแรกสู่ความสำเร็จของลูกหลานเกษตรกรน่าน พลังแห่งความมุ่งมั่น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

เมื่อเร็วๆนี้ ณ สำนักงานด้านความยั่งยืนเเละพัฒนาชุมชน เครือเจริญโภคภัณฑ์ จ.น่าน – นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วย นายจิระศักดิ์ เสงี่ยมกิตติกุล ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด ดร.นริศ ธรรมเกื้อกูล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล เครือเจริญโภคภัณฑ์ ดร.มนตรี คงตระกูล คณบดีคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตโครงการทุนการศึกษา “คนน่านไม่ทิ้งกัน” รุ่นที่ 1 ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ที่คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวน 10 คน ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ มุ่งสนับสนุนด้านการศึกษาแก่ลูกหลานเกษตรกรในครอบครัวที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน พร้อมส่งเสริมให้นำองค์ความรู้ที่ได้รับกลับมาพัฒนาบ้านเกิดต่อไปในอนาคต

ดร.มนตรี คงตระกูล คณบดีคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า เครือซีพี ร่วมกับจังหวัดน่าน เริ่มดำเนินโครงการทุนการศึกษา“คนน่านไม่ทิ้งกัน”ในปีการศึกษา 2559 โดยสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปีพร้อมที่พักและค่าครองชีพ ที่คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปีละ 10 ทุน ปัจจุบันมีจำนวน 2 รุ่น

โดยเยาวชนผู้ได้รับทุนจะได้เรียนรู้วิชาการเกษตร เทคโนโลยี การจัดการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จริยธรรมในการทำธุรกิจ พร้อมฝึกปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรชั้นนำระดับโลก ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบ Work based Learning ได้รับการถ่ายทอดเรื่องนวัตกรรมด้านพืชหลากชนิด และเป็นพืชที่มีศักยภาพด้านการตลาด การเรียนรู้การผลิตในฟาร์มเพื่อเพิ่มศักยภาพ ตลอดจนการบริหารจัดการในการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อนำองค์ความรู้กลับไปช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตด้านการเกษตรของ จ.น่านต่อไปในอนาคต

Advertisement

ด้าน นายชัยชนะ แซ่โซ้ง หรือ น้องชัย บัณฑิตในโครงการทุนการศึกษา “คนน่านไม่ทิ้งกัน” รุ่นที่ 1 เปิดเผยว่า โครงการนี้ส่งเสริมให้ได้ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติควบคู่กัน ทำให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่หลากหลาย ซึ่งในช่วงปีที่ 1- ปีที่ 3 ได้เลือกฝึกปฏิบัติงานตามความสนใจของตัวเอง เพื่อให้ได้เรียนรู้ความต้องการของตัวเองมากขึ้น และในปีที่ 4 ได้ฝึกปฏิบัติงานที่ บริษัท เจียไต๋ จำกัด จ.ศรีสะเกษ โดยรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพริกปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนประสบความสำเร็จ

ทั้งนี้ หลังจบการศึกษาแล้ว จะนำทักษะต่างๆที่ได้เรียนรู้มาตลอด 4 ปี กลับไปพัฒนาบ้านเกิดและสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชาวบ้านในชุมชนเกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยใช้แนวคิดการตลาดนำการผลิต ที่เป็นการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบใหม่ ที่จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างปริมาณการผลิตและความต้องการสินค้าเกษตร ซึ่งให้ผลดีกว่าการปลูกข้าวโพดหรือพืชเชิงเดี่ยวที่ทำลายป่าเหมือนที่ผ่านมา

Advertisement

น.ส.นิชธาวัลย์ มีอาจ หรือ น้องบิว หนึ่งในบัณฑิตในโครงการทุนการศึกษา “คนน่านไม่ทิ้งกัน” รุ่นที่ 1 กล่าวว่า การได้รับทุนในครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิต นอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว แล้ว ยังสามารถนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนด้านการเกษตรแทน ซึ่งการเรียนการสอนตามหลักสูตรของโครงการนี้ มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่เน้นเรื่องการจัดการด้านธุรกิจเกษตร ทำให้ระหว่างเรียนมีโอกาสได้ทำงานและมีรายได้ดูแลตัวเองได้

โดยในชั้นปีที่ 3 ได้เลือกไปฝึกปฏิบัติงานที่บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ จำกัด เกี่ยวกับการปลูกกาแฟเบื้องต้นและทักษะการชิมกาแฟ หรือที่เรียกว่า Q-Grader นักประเมินคุณภาพกาแฟ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต