ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง โมเดลชุมชนต้นแบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร

เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ได้รับเชิญจากทางสยามคูโบต้า เพื่อเปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า แห่งที่ 5 โดยร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา เลขที่ 146 หมู่ที่ 1 ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67210 สร้างชุมชนต้นแบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ชูการเพาะปลูกด้วยระบบ KUBOTA (Agri) Solutions เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต สร้างชุมชนเกษตรที่ยั่งยืน

พิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง โดย คุณสาคร รุ่งเรือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในพิธี (ที่ 3 จากซ้าย)

คุณพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า หนึ่งในนโยบายที่สำคัญของสยามคูโบต้า คือการตอบแทนสังคมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ จึงได้จัดทำ “โครงการชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า” หรือ SIAM KUBOTA Community Enterprise (SKCE) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โดยคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรที่มีการบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ มีการทำงานร่วมกันระหว่างสยามคูโบต้ากับกลุ่มเกษตรกร เพื่อช่วยเกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและส่งเสริมให้ชุมชนมีความอยู่ดีกินดี

“จากความสำเร็จของศูนย์ที่ผ่านมาทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในจังหวัดศรีสะเกษ 2 แห่ง และจังหวัดอุดรธานี 1 แห่ง และภาคเหนือที่เพิ่งเปิดไปเมื่อเร็วๆ นี้ ในจังหวัดแพร่อีก 1 แห่ง สยามคูโบต้าได้ส่งเสริมความรู้ทางการเกษตรแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ผ่านกิจกรรม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเกษตร ด้านการตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต รวมถึงแก้ปัญหาด้านการเกษตรได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ในการเป็นชุมชนต้นแบบถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงและสามารถขยายจำนวนกลุ่มสมาชิกให้เพิ่มขึ้น” คุณพิษณุ กล่าว

เกษตรกร
ป้ายคูโบต้า-กลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา

สำหรับศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง มีจุดเด่นในการเป็นชุมชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงการนำองค์ความรู้การทำการเกษตรแบบครบวงจร KUBOTA (Agri) Solutions มาใช้ในชุมชน ส่งเสริมระบบการปลูกพืชหมุนเวียน ข้าว-ถั่วเขียว-ข้าวโพดสัตว์เลี้ยง วางแผนการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบด้วยการขุดสระน้ำสำหรับเป็นแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและน้ำแล้งในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือได้ว่าเป็นโมเดลการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นาเพื่อการเกษตรของภาคเหนือ เกษตรกรภายในกลุ่มมีความสามัคคี เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

“สยามคูโบต้ามีแผนที่จะพัฒนาชุมชนต้นแบบ “ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า” ในภาคกลางและภาคใต้ เพื่อขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียง และคาดว่าจะดำเนินการเปิดศูนย์ได้อย่างครบถ้วนตามเป้าหมายในปี พ.ศ. 2566” คุณพิษณุ กล่าว

ถั่วเขียว
ต้นข้าว

คุณสาคร รุ่งเรือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ประธานในพิธี เปิดเผยว่า “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา ได้มุ่งมั่นพัฒนาตนเองจนกลายเป็นชุมชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ช่วยพลิกฟื้นผืนดินของเพชรบูรณ์ให้มีความอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นตัวอย่างของชุมชนที่มีการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลง ด้วยการเลือกปลูกพืชหมุนเวียนที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ด้วยการพัฒนาศักยภาพของคนรุ่นใหม่ให้สามารถต่อยอดความสำเร็จในการพัฒนาชุมชน

คุณบุญเลิศ ปราบภัย

คุณบุญเลิศ ปราบภัย ประธานกลุ่มหนองผักบุ้ง เปิดเผยว่า “กลุ่มหนองผักบุ้งของเรา เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว โดยนำเทคโนโลยีและแนวทางการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย มาปรับปรุงการปลูกพืชหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเรียนรู้ระบบจัดการน้ำและสร้างแหล่งเก็บกักน้ำในชุมชนเพื่อทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเองได้ ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้ให้กับสมาชิกตลอดทั้งปี และพวกเรามีความพร้อมที่จะส่งต่อองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนอื่นๆ ที่มีความตั้งใจที่จะพัฒนากลุ่มของตนเองเพื่อสร้างความยั่งยืนเช่นกัน”

รถขุดคูโบต้า
สระน้ำ

นต้นแบบทางการเกษตรที่มีความเข้มแข็ง รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจได้ศึกษาวิธีการทำเกษตรที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายให้เกษตรกรในชุมชนมีความอยู่ดีกินดี และประยุกต์เครือข่ายอาชีพในชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน เกิดการพัฒนาทั้งชุมชน และเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป