สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง คิดพัฒนาสินค้าอย่างไร ให้มีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง จํากัด จัดตั้งเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2539 สมาชิกแรกตั้ง 40 คน สมาชิกปัจจุบัน 4,357 คน ประธานกรรมการ นายบุญชอบ ผ่องอําไพ ที่ทําการสหกรณ์ เลขที่ 44  หมู่ที่ 7 ตําบลหนองกระเจ็ด อําเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม

  1. โครงการตลาดออนไลน์ (บ้านซ่องพลาซ่า)

สหกรณ์จัดทําช่องทางการตลาด Online ใน Facebook ของสหกรณ์ โดยการตั้งกลุ่มที่มีชื่อว่า “บ้านซ่องพลาซ่า” เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจําหน่าย การซื้อขายให้กับสมาชิก โดยได้เปิดโอกาสให้สมาชิก สามารถใช้สื่อ Social Media ในการประชาสัมพันธ์ สามารถซื้อขายสินค้าด้วยตนเอง และสหกรณ์สามารถประชาสัมพันธ์สินค้าและร้านค้าให้กับสมาชิก อาทิ อาหารปรุงสําเร็จ ขนมพื้นบ้าน ผลไม้ตามฤดูกาล ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมถึงเครื่องมือ เครื่องใช้ในการเกษตรต่างๆ ปัจจุบันมีสมาชิกสหกรณ์ขายสินค้าผ่านช่องทางนี้ 716 ราย

  1. โครงการส่งเสริมอาชีพเสริมรายได้ของสมาชิก

สหกรณ์จัดทําโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคขุน มีกิจกรรม คือ จัดอบรมให้ความรู้ และจัดหาตลาดในการจําหน่ายสินค้า โดยเชื่อมโยงกับบริษัทเอกชนในด้านปัจจัยการผลิตและการจัดซื้อโคเนื้อ เช่น จากบริษัท SIAM BREEF และพ่อค้ารายใหญ่ รวมทั้งสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโดยสหกรณ์ได้สนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี (ปกติเงินกู้สามัญ ดอกเบี้ยร้อยละ 9 ต่อปี) ทําให้สมาชิกสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ปีละประมาณ 200 คน เป็นเงิน 1,500,000 บาท หรือ คิดเป็น 7,500 บาท ต่อราย

  1. โครงการพัฒนาคณะกรรมการกลุ่มย่อย

สมาชิกด้วยความเข้มแข็งเพื่อพัฒนาสหกรณ์ (ผู้นํากลุ่ม เพิ่มขึ้น สมาชิก)

สหกรณ์จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการกลุ่มย่อย ซึ่งสหกรณ์ได้จัดตั้งไว้    จํานวน 25 กลุ่ม เพื่อพัฒนาให้กลุ่มย่อยมีความเข้มแข็ง และสามารถถ่ายทอดนโยบายหรือข่าวสารต่างๆ จากสหกรณ์ไปยังสมาชิกภายในกลุ่มย่อย เป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิกกับคณะกรรมการกลุ่มย่อย เน้นความร่วมมือในการประชุมกลุ่มสมาชิก การติดตามหนี้ค้างชําระของสมาชิกภายในกลุ่ม รวมถึงการตรวจสอบการใช้เงินกู้ของสมาชิกผ่านคณะกรรมการกลุ่มย่อย ผลลัพธ์ที่ได้คือ สหกรณ์มีหนี้สินลดลงจากการช่วย บริหารงานของคณะกรรมการกลุ่มย่อย ทําให้เกิดการพัฒนาในด้านกระบวนการทํางานของสหกรณ์ และสมาชิกเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของสหกรณ์เพิ่มขึ้น

 

ความสามารถในการบริหาร
และการจัดการของสถาบัน

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง จํากัด มีคณะกรรมการดําเนินการ จํานวน 15 คน มีเจ้าหน้าที่ สหกรณ์ จํานวน 15 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ จํานวน 5 คน และที่ปรึกษาสหกรณ์ จํานวน 5 คน สหกรณ์มีการ   ดําเนินงานตามแผนงานหลักและแผนกลยุทธ์ที่ได้จัดทําไว้ มีอัตราการเติบโตของทุนสํารองต่อเนื่อง ในรอบปีบัญชีล่าสุดสหกรณ์มีปริมาณธุรกิจ 537,967,547.00 บาท และมีกําไรสุทธิ 6,437,178.57 บาท เงินปันผล 3,377,746.00 บาท และเงินเฉลี่ยคืน 830,906.00 บาท รวมทั้ง ได้รับการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายในของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์อยู่ในระดับดีมาก

บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิก
ต่อสถาบัน

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง จํากัด เน้นการ สร้างจิตสํานึกการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในองค์กร คือ สมาชิก คณะกรรมการดําเนินการ ฝ่ายจัดการ และ ชผู้ตรวจสอบกิจการ ผ่านการเข้าร่วมการประชุม และการร่วมทําธุรกิจ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 3 ปี (ปี 2559-2561) ดังนี้ สมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่ เฉลี่ยร้อยละ 43.21 กรรมการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ เฉลี่ยร้อยละ 90.79 คณะอนุกรรมการ/คณะทํางานอื่นเข้าร่วมประชุม เฉลี่ยร้อยละ 44.65 และสมาชิกร่วมทําธุรกิจกับสหกรณ์ เฉลี่ยร้อยละ 100 นอกจากนี้ สมาชิกยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ กับสหกรณ์ เฉลี่ยร้อยละ 21.17

ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจ ของสถาบัน

ผลการดําเนินงาน 3 ปีที่ผ่านมา สหกรณ์มีความมั่นคงและมีฐานะทางเศรษฐกิจดี สามารถดําเนินงานและประสบความสําเร็จ สหกรณ์มีทุนของสหกรณ์ทุนสํารอง และกําไรสุทธิเพิ่มขึ้นทุกปี อัตราส่วนทุนสํารองต่อสินทรัพย์มีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่สูงขึ้น อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนและอัตราการเติบโตของหนี้มีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ลดลง ทั้งนี้ ในรอบปีบัญชีล่าสุด สหกรณ์มีทุน ดําเนินงาน 384,476,251.50 บาท ทุนเรือนหุ้น 119,250.50 บาท ทุนสํารอง 7,713,544.45 บาท ปริมาณธุรกิจ 537,967,547.00 บาท

การทํากิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์
และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์ (ให้แก่สมาชิก/ครอบครัวสมาชิก กรรมการและพนักงาน) สหกรณ์จะเน้นการจัดสวัสดิการที่หลากหลายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิกและครอบครัว สร้างขวัญกําลังใจในการทํางานให้แก่บุคลากรของสหกรณ์ ได้แก่ สวัสดิการว่าด้วยเงินทุนการศึกษาบุตรสมาชิก/พนักงาน สวัสดิการเยี่ยมไข้สมาชิก สวัสดิการเอื้ออาทรผู้สูงอายุ สวัสดิการร่วมจัดงานศพสมาชิก สวัสดิการเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลของสมาชิก สวัสดิการเพื่อประกันชีวิตกลุ่ม และสวัสดิการแบบฟอร์มกรรมการเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษา และผู้นํากลุ่ม

กิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมและชุมชน (ให้แก่บุคคล/ชุมชนภายนอก) สหกรณ์ได้จัดสรรทุนสาธารณประโยชน์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ด้านการศึกษา ด้านกีฬา ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการช่วยเหลือ/ป้องกัน/บรรเทาภัยธรรมชาติ/ภัยพิบัติ ด้านความจงรักภักดี และด้านอื่นๆ เพื่อสังคมชุมชน เช่น บริจาคเงินเพื่อการกุศล ทําบุญ กฐิน ผ้าป่า ร่วมกิจกรรมวันเด็ก บริจาคอุปกรณ์การกีฬา บริจาคซื้อเครื่องมือแพทย์ บริจาคโลหิตในวันสหกรณ์แห่งชาติ บริจาคน้ำท่วมภาคใต้ บริจาคช่วยเหลือเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า กิจกรรมทําดีเพื่อพ่อ กิจกรรมทําดีเพื่อแม่ โครงการร้อยดวงใจถวายความอาลัยและถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 และกิจกรรมร่วมโครงการสหกรณ์รวมใจภักดิ์พัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อมน้อมนําพระราชปณิธานความดีเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธี บรมราชาภิเษกทําความสะอาดแผ่นดินราชา ณ หุบกะพง

กิจกรรมด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สหกรณ์ได้ทํากิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีมาตรการประหยัดไฟฟ้า ด้านการบําบัดและฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมาชิกร่วมปลูกต้นไม้คืนพื้นที่สีเขียวเนื่องในวันแม่แห่งชาติ ด้าน   การนํากลับมาใช้ซ้ำ การใช้กระดาษสองหน้า การคัดแยกขยะในชุมชน ด้านการลดใช้สารเคมีหรือใช้สิ่งอื่นทดแทน สหกรณ์มีการจัดอบรมและประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ด้านการรักษาสภาพแวดล้อมแหล่งน้ำและชุมชน สมาชิกร่วมกันขุดลอกคูคลองในวันพ่อวันแม่ ด้านอื่นๆ สหกรณ์ร่วมกับ อสม. กําจัดยุงลายโดยโรยทรายอะเบท และการพ่นควัน

…………….

เผยแพร่ในระบบออนไลน์เป็นครั้งแรก เมื่อวันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


สำหรับแฟนๆ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน หากต้องการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านรายปักษ์ ส่งตรงถึงบ้าน รวดเร็วทันใจอ่านได้ในทุกๆ 15 วัน สามารถสมัครสมาชิกได้ที่ คลิกลิ้ง https://shorturl.asia/0zJwQ 📲- Line: @matichonbook หรือ สำนักพิมพ์มติชน เลขที่ 12 ถนนเทศบาลนฤมาล หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ติดต่อฝ่ายขาย 02-589-0020 ต่อ 3354