“บริหารจัดการน้ำ” โจทย์ใหญ่ของนักวิจัย ทำอย่างไร “น้ำ” สู่ภาคเกษตรกรรมได้ทั่วถึง

“การบริหารจัดการน้ำ” เป็นโจทย์สำคัญและโจทย์ใหญ่ที่ทำให้ แต่ละปีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จะจัดเวทีสาธารณะขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่ให้หลายภาคส่วนในประเทศไทย และ นักวิจัยในไทย ได้มีโอกาสใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น และ บอกเล่าเรื่องราวสู่กันทั้งในด้านวิชาการของการบริหารจัดการน้ำในแง่มุมต่างๆ รวมไปถึงความคืบหน้าในการนำผลงานวิจัยออกไปปฏิบัติใช้อย่างเป็นรูปธรรม

จากบรรยากาศเวทีสาธารณะนโยบายน้ำครั้งนี้ ไฮไลต์อยู่ที่ รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ และ คณะ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับ “มุมมองสถานการณ์น้ำในมิติเศรษฐกิจสังคม” โดยมี  “น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งมีการข้อมูลในหัวข้อ “การสนับสนุนการวางแผนน้ำและเกษตรเชิงพื้นที่” โดยนับว่าเป็นการเปิดเผยข้อมูลครั้งสำคัญ ผ่านเวทีสาธารณะนโยบายน้ำ สกว. ครั้งที่ 8 เรื่องการวางแผนด้านน้ำในบริบทการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบูรณาการเชิงพื้นที่ เมื่อวันพฤหัสบดี 23 มีนาคม ที่ผ่านมา

ข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจคือ ทีมวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เสนอแนวทางเพิ่มเติมให้กับนโยบายภาครัฐในการบริหารจัดการเรื่องน้ำ ซึ่งเป็นโครงการแผนบูรณาการข้อที่ 20 ของแผนบูรณาการ 25 โครงการที่ภาครัฐจะต้องเร่งดำเนินการในปี 2560

 

วิศว จุฬาฯ เสริมทีมวิจัยสกว.แนะทางออก การบริหารจัดการน้ำในปี 2560

ข้อเสนอแนะของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ต้องการให้มีการทำโครงการนำร่อง  ซึ่งหากยังบุณราการไม่ได้ควรเลือกการทำงานของกรม/กอง ในกระทรวงเดียวกัน เพราะมีเรื่องงบประมาณผูกพันเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะหากมีการข้ามหน่วยงานเกิดขึ้น จะเกิดความยากในการจัดการทำงบประมาณเรื่องน้ำ และ ควรมีตัวชี้วัดทางด้านการเกษตรมาใช้ เนื่องจากมีความทันสมัยกว่า รวมทั้งแต่ละจังหวัดมีพืชเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ควรเลือกพืชที่สนใจมาศึกษา โดยเชื่อมโยงกับทรัพยากรน้ำ ในฐานะปัจจัยการผลิตหลัก

นอกจากนี้ ควรกำหนดบทบาท และ ความสำคัญของพืชเศรษฐกิจ เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญเป้าหมายการทำแผนแบบแบบบูรณาการ และ พัฒนาตัวชี้วัดที่เหมาะสม รวมถึงผลที่จะได้รับ ทั้งเชิงเศรษกิจ และ สังคม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้เสนอแนวทางออกเรื่อง “แนวคิดงบประมาณ” ในการบริหารจัดการน้ำ จากเดิมงบประมาณจะเป็นตัวหนึ่งที่ครอบยุทธศาสตร์ประเทศ และ นำมาสู่เป้าหมาย,ตัวชี้วัด และ นำไปสู่การใช้เงินจริงไปยังกระทรวงและทบวงต่างๆ แต่ข้อเสนอระบบแผน งบประมาณรูปแบบใหม่ ให้เริ่มจากยุทศาสตร์ประเทศ ไปสู่ยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัด , นำมาสู่เป้าหมายและตัวชี้วัด จากนั้นนำเงินงบประมาณลงไปสู่กระทรวงและกรมต่างๆ

ที่สำคัญในการพัฒนางบประมาณทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร จะต้องดำเนินไปแบบเชื่อมโยงสู่การบูรณาการ เริ่มจากระบบของ “น้ำ” ที่ประกอบไปด้วย แหล่งน้ำ , ระบบชลประทาน,การรักษานิเวศ, ป้องกันน้ำท่วม และ ผลักดันน้ำเค็ม โดยวิธีการบริหารจัดการน้ำในระบบเหล่านี้ จะต้องเชื่อมโยงและสู่การบูรณาการไปยังภาคการเกษตร ซึ่งประกอบไปด้วย ข้าว, พืชไร่ , พืชสวน ,ปศุสัตว์ และ สัตว์น้ำ

เหตุผลที่นำข้อเสนอแนะของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นมาเป็นหัวข้อแรก เนื่องจากหากพูดถึงการบริหารจัดการน้ำนั้น ทุกคนก็จะนึกถึงเรื่องของเขื่อน และ การชลประทาน แต่ในส่วนเชิงนโยบายของภาครัฐนั้น เรื่องการบริหารจัดการน้ำกลายเป็นเรื่องนามธรรมไป เนื่องจากที่ผ่านมาหลักในการบริหารและจัดสรรงบประมาณต่างๆนั้น ในภาคเกษตรกรรมแทบจะไม่ได้รับรู้ความเคลื่อนไหวเหล่านี้เท่าใดนัก เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องนำข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาให้เห็นชัดเจนนั่นเอง

 

“น้ำ” คือ ชีวิต เชื่อมโยงพัฒนาเศรษฐกิจ  สังคม และ ภาคการเกษตรได้

          น้ำ คือ ชีวิต นี่คือคำสโลแกนที่เรารู้กันอย่างทั่วถึง นั่นหมายความว่า น้ำ มีความสำคัญกับทุกชีวิต เป็นผู้ให้ชีวิตแก่เราในการดำรงอยู่ แต่การบริหารจัดการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ การรัมมือกับปัญหาน้ำที่น้อยเกินไปจนเกิดภัยแล้ง และ น้ำที่มากเกินไป จนเกิดภัยน้ำท่วม ยังเป็นโจทย์ที่นักวิจัยในเมืองไทยต้องค้นคว้าหาคำตอบ ผ่านการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รวบรวมมา

รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ นักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังระบุว่า ความเชื่อมโยงของน้ำและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยนั้น ประกอบด้วยความเชื่อมโยงของน้ำและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ,น้ำเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย และ ภัยพิบัติด้านน้ำกับความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

สำหรับ “น้ำ” เพื่อการพัฒนาเศรษ๘กิจและสังคมของประเทศไทยมีความสำคัญอย่างไร ทาง รศ.ดร.สุจริต ได้แยกย่อยข้อมูลออกมาอย่างชัดเจนว่า รายได้มวลรวมของประเทศไทย (GDP) ปี 2559 มี 11,054,927 ล้านบาท แบ่งเป็นจีดดีพีที่มาจากภาคการเกษตรมากที่สุด 62% รองลงมา คือ จีดีที่มาจากภาคบริการ 56% และ จีดีพีที่มาจากภาคอุตสาหกรรม 25% ขณะที่ย้อนไปเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ผลกระทบจากภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ส่งผลให้จีดีพีของประเทศไทย หายไป 30% หรือมีจำนวนเงินที่จะนำมาใช้พัฒนาประเทศหายไปราว 1.4 ล้านล้านบาท

เพราะฉะนั้น งานวิจัยที่ รศ.ดร.สุจริต และ คณะวิศวกรรม จุฬาฯทำการวิจัยอยู่นั้นสะท้อนให้เห็นว่า สภาพน้ำมีผลต่อการเติบโตและความเสียหายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ รวมไปถึงโครงการการใช้น้ำมีแนวโน้มจะเปลี่ยนจากภาคการเกษตร และ อุตสาหกรรม ไปสู่การบริการมากขึ้น รวมถึงการแปรปรวนของสภาพอากาศส่งผลต่อปริมาณน้ำและความเสียหายแบบฉับพลัน

จึงมีประเด็นเสนอแนะการจัดการน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซึ่งมีการศึกษาจากประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาดเมื่อปี 2554 ด้วยพบว่า วันนี้ประเทศไทยมีการวิจัยเพื่อหามาตรการล่วงหน้าในการบริหารน้ำในเขื่อน มีการดำเนินการในลักษณะวิจัย และ มีความเข้าใจในสมดุลน้ำที่มีอยู่ รวมถึงภาวะการขาดแคลนในสภาพปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาทางเลือกในการแก้ไข ,บรรเทาปัญหาจากการจัดการ และ นวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ

 

เทคโนโลยีมาช่วยเรื่องการบริหารจัดการน้ำได้ เรื่องนี้ “เกษตรกร” ต้องเงี่ยหูฟังนักวิจัย

การบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาดในอดีตเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ทำให้วันนี้ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะข้อมูลด้านการวิจัย เพื่อนำข้อมูลมาสังเคราะห์ให้เกิดการพัฒนา โดย รศ.ดร.สุจริต เสนอแนวคิดการจัดการน้ำในกระแสโลกและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยระบุว่า แนวโน้มการจัดการน้ำในกระแสโลกใหม่ๆ วันนี้จะมีการพูดคุยและเน้นเรื่องความมั่นคงด้านน้ำ (Water security), สิทธิในน้ำ (Water right) , การกำหนดราคาน้ำ (Water pricing) ,กฎหมายน้ำ (Water act) และ กลไกระดับนานาชาติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (International System for climate change issue)

ที่สำคัญยังการมีการเน้นการพูดถึงเรื่อง “เทคโนโลยีการติดตามและคาดการณ์น้ำท่วมและภัยแล้ง” ด้วยระบบติดตามและคาดการณ์ ,เทคโนโลยีเกี่ยวกับข้อมูลฝนสังเกตการณ์แบบ near real-time และ เทคโนโลยีด้านแบบจำลอง นอกจากนี้ยังต้องเน้นเครือข่ายความเชื่อมโยงกับต่างประเทศ ซึ่งหมายถึงการน้ำข้อมูลจากต่างประเทศมาเชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาเรื่องน้ำทั้งภาวะภัยแล้งและน้ำท่วม

รศ.ดร.สุจริตเน้นว่า หลายพื้นที่มีการใช้ภูมิปัญหาชาวบ้านในการบริหารจัดการน้ำได้เป็นอย่างดี และ บางพื้นที่เกษตรกรรมหากมีการแก้ไขเรื่องน้ำ จะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรดีขึ้น อย่างเช่น พื้นที่หนองหาน จังหวัดสกลนคร มีปัญหาเรื่องน้ำในช่วงฤดูแล้ง ต้องเพิ่มปริมาณน้ำ และ แก้ปัญหาน้ำแล้งให้ได้ ขณะที่บางพื้นที่มีการใช้น้ำด้านการบริการอย่างเต็มที่แล้ว อาทิ เชียงใหม่ และ ภูเก็ต

“น้ำไม่ใช่ทางออกสุดท้าย (out put) ที่น้ำจะเกิดประโยชน์ แต่เอาท์พุดสุดท้ายคือ ภาคการเกษตร อันนี้เป็นสิ่งที่เรากำลังค้นคว้าวิจัยข้อมูลว่า ถ้ากรมชลประทานมีพื้นที่ 40 ล้านไร่ต้องบริหารจัดการภาคการเกษตร และบริหารจัดการน้ำเป็นตัวแปรสำคัญ รัฐต้องเดินหน้ายังไง นี่เป็นสิ่งที่เรากำลังหาทางอยู่” รศ.ดร.สุจริต เล่าให้ผู้ร่วมฟังเวทีสาธารณะด้านนโยบายน้ำฟังอย่างเป็นกันเอง

เพราะฉะนั้น เรื่องการบริหารจัดการ “น้ำ” ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายทั้งกับนักวิจัยของไทยเอง และ ภาครัฐ ที่วันนี้หากยังไม่สามารถมีความสามัคคีในการทำงาน เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล นำข้อมูลจากทุกแหล่งมาสังเคราะห์ร่วมกันได้แล้ว ก็จะต้องเดินหน้าตามคำแนะนำของนักวิจัยจากคณะวิศวกรรม จุฬาฯ คือ ต้องหาความร่วมมือกันในกระทรวง ทบวง และ กรมของตัวเองให้เข้มแข็งให้ได้ก่อน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการนำเงินงบประมาณด้านการบริหารจัดการน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ

ชาติสูงสุด เพราะสุดท้ายแล้วปลายทางของการบริหารจัดการน้ำที่ใช้กันมากที่สุด คือ ภาคกการเกษตร และ ตัวขับเคลื่อนจีดีพีของประเทศมากที่สุดก็คือ ภาคการเกษตร

เพราะฉะนั้นหากยังรอเวลาให้ภาคอื่นมีสัดส่วนใช้น้ำมากกว่าแล้วค่อยแก้ปัญหา และ มัวทะเลาะกันอยู่ การใช้งบประมาณในการบริหารจัดการน้ำก็จะเป็นเหมือน “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” จับเนื้อน้ำพริกกินไม่ได้เลยทีเดียว

ต้องติดตามกันต่อไปว่า ในการจัดเวทีสาธารณะนโยบายน้ำครั้งต่อไปในปี 2561 นั้น ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ สกว. จะมีข้อมูลด้านใดที่เป็นประโยชน์มาเปิดเผยให้เป็นโอกาสที่ดีในการสะสมข้อมูลของเกษตรกร เพื่อเป็นฐานในการเรียมปรับตัว รับมือกับสภาวะการณ์ทั้งจากธรรมชาติ และการบริหารจัดการน้ำในเชิงโนโยบายภาครัฐ