7 สิ่งไม่ควรทำช่วงสงกรานต์

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี คนไทยยุคใหม่จะเล่นน้ำกันได้แทบทุกวัน แต่สำหรับ นพ. กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ แนะนำว่า เพื่อให้สงกรานต์เป็นมงคลที่สุด คือ “สุขมาก” และ “เสี่ยงน้อย” ควรใช้หลักอายุรวัฒน์ คือ 1. อดข้าวอดน้ำ การเล่นสนุกมากบางครั้งก็ทำให้ละเลยสิ่งจำเป็น เช่น ดื่มน้ำ ซึ่งหน้านี้อากาศร้อนทำให้ขาดน้ำ ยิ่งเอาแต่เล่นน้ำเหงื่อโซก แถมร้อนจัดก็หาเบียร์เย็นๆ จิบ ก็ยิ่งทำให้ขาดน้ำมากขึ้น คนที่เล่นอย่างท้องว่างแล้วเอาแต่ดื่มแอลกอฮอล์จะมีโอกาสช็อก หรือฮีตสโตรกได้สูงขึ้น

  1. สำลักน้ำบ่อ เด็กที่ชอบเล่นน้ำตามลำรางสาธารณะ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือแม้การตักน้ำบ่อ น้ำจากโอ่งมาสาดกันอาจมีเชื้อพยาธิปนมาได้ ซึ่งในแหล่งน้ำจืดเสี่ยงเชื้อปรสิต เช่น กีนีเวิร์ม (เชื้อดรากุนคูลัส) ชิสโตโซม่า อะมีบา คริพโตสปริเดียม และไกอาเดีย ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะเข้ามาได้เวลากลืนน้ำหรือสำลักน้ำ
  2. ขับรถรอกัน เป็นภาพที่ได้เห็นบ่อยเวลาเที่ยวสงกรานต์ สาดน้ำเป็นกลุ่มหลายคัน ก็มีการขับรอกันทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งต้องระวังการเกิดอุบัติเหตุให้ดี โดยเฉพาะในถนนหลวง และเส้นทางที่เป็นเลนสวน ทางที่ดีควรเคารพกฎจราจร ฟาดฟันฉีดน้ำ การบาดเจ็บเกิดได้แม้จากน้ำ เพราะสายน้ำถ้าถูกแรงดันบีบอัดผ่านปากกระบอกฉีดความดันสูงแล้วตรงเข้าอวัยวะที่บอบบางอย่างลูกนัยน์ตา รูจมูก ช่องปาก ก็จะกลายเป็นหายนะครั้งใหญ่ได้ อวัยวะดังกล่าวเป็นจุดที่หุ้มด้วยเยื่อบุมิวโคซ่าที่บอบบาง ดังนั้น จึงอาจฉีกขาด หรือห้อเลือดได้ง่าย อีกทั้งการกระโดดจากที่สูงลงบนผืนน้ำเพื่อดับร้อนก็ต้องระวังอาจถึงขั้นตกเลือดตับแตกได้
  3. ทำน้ำเปียกปลั๊ก ยุคใหม่ทุกบ้านย่อมมีปลั๊กไฟ หรือเต้าเสียบที่จะเกิดอันตรายได้ถ้าเล่นน้ำอย่างไม่คิด เช่น เล่นฉีดน้ำใกล้ปลั๊กไฟ หรือปล่อยให้น้ำท่วมเจิ่งนองไปจนถึงรูปลั๊กที่อยู่ใกล้พื้น ดังนั้น ทางที่ดีถ้ามีปลั๊กอยู่แถวที่เล่นน้ำควรเลี่ยงหรือหาอุปกรณ์ครอบป้องกันไว้อย่างเหมาะสม 6. พักทั้งตัวเปียก ข้อนี้ไม่ควรทำ เพราะอาจเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากร่างกายเปียกชื้นตลอดเวลา อีกทั้งปัญหาเชื้อราที่ผิวหนัง ตาแดงที่เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ เป็นต้น และ 7. เรียกเหล้าไม่หยุด การดื่มฉลองในวันมงคลด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจเป็นการเรียกความทุกข์โศก โรคภัย เข้าสู่ตัวได้ง่ายๆ เพราะความตายช่วงปีใหม่ไทยจำนวนไม่น้อยมีเหล้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ

ทั้งหมดนี้เป็นความเสี่ยงที่เราป้องกันได้ด้วยการไม่ทำ!

 

ขอบคุณข้อมูลจากมติชนรายวัน