“ถั่วเหลือง” สมุนไพร พืชโปรตีนสูง ช่วยลดการเกิดสิว

ถั่วเหลืองนั้นเป็นธัญพืช เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทยและชาวจีน อย่าง นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ น้ำมันถั่วเหลือง หรือแม้แต่ขนมหวาน จะมีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเหลือง เป็นอย่างไร มีสรรพคุณอะไรบ้าง มีคุณค่าทางอาหารอย่างไร ข้อควรระวังในการกินถั่วเหลือง บทความนี้เราจะให้รู้จักกับถั่วเหลืองอย่างละเอียด

ถั่วเหลือง หรือ Soybean เป็นสมุนไพร ประเภทพืชเถา เป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถปลูกได้ในประเทศแถบร้อนและอบอุ่น แหล่งกำเนิดของถั่วเหลืองจะอยู่ที่ประเทศจีน ในปัจจุบันประเทศไทยมีการปลูกถั่วเหลืองทางภาคกลางตอนบนและภาคเหนือ ประเทศที่มีการผลิตถั่วเหลืองมากที่สุดในโลกคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมาเป็น บราซิล และจีน ตามลำดับ

ถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ เรียก soybean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเหลือง เรียก Glycine max (L.) Merr. จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง มีชื่อเรียกอื่นๆ อาทิ ถั่วแระ, ถั่วพระเหลือง, ถั่วแม่ตาย, มะถั่วเน่า, ถั่วเน่า, ถั่วหนัง, โชยุ, โซยาบีน, อึ่งตั่วเต่า, เฮ็กตั่วเต่า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของถั่วเหลือง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 446 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัมถั่วงอกหัวโต น้ำตาล 7.33 กรัม เส้นใย 9.3 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม ไขมันอิ่มตัว 2.884 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 4.404 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 11.255 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม ทริปโตเฟน 0.591 กรัม ทรีโอนีน 1.766 กรัม ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม ลิวซีน 3.309 กรัม ไลซีน 2.706 กรัม

เมทไธโอนีน 0.547 กรัม ซิสทีน 0.655 กรัม ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม ไทโรซีน 1.539 กรัม วาลีน 2.029 กรัม อาร์จินีน 3.153 กรัม ฮิสตามีน 1.097 กรัม อะลานีน 1.915 กรัม กรดแอสปาร์ติก 5.112 กรัม กลูตามิก 7.874 กรัม ไกลซีน 1.880 กรัม โพรลีน 2.379 กรัม ซีรีน 2.357 กรัม วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.874 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.87 มิลลิกรัม วิตามินบีสาม 1.623 มิลลิกรัม วิตามินบีห้า 0.793 มิลลิกรัม วิตามินบีหก 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบีเก้า 375 ไมโครกรัม

โคลีน 115.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม วิตามินเค 47 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 277 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม

 

ต้นถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง เป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ ไม่เกิน 150 เซนติเมตร รากของถั่วเหลือง เป็นระบบรากแก้ว ลึกประมาณ 45 เซนติเมตร มีรากแขนง ใบของถั่วเหลือง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่จนถึงเรียวยาว  ใบมีขน ดอกของถั่วเหลือง ออกเป็นช่อ มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง ดอกจะออกตามมุมของก้านใบหรือตามยอดของลำต้น ฝักของถั่วเหลือง ฝักจะออกเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 2-10 ฝัก ฝักมีขนสีเทา ฝักยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร ในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อน จะมีสีเขียว ฝักสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมล็ดของถั่วเหลือง มีสีเหลือง สีเขียว สีน้ำตาล หรือสีดำ เมล็ดจะมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกัน

สรรพคุณของถั่วเหลือง

การใช้ถั่วเหลืองนั้นจะใช้เมล็ด ซึ่งใช้ทั้งกากเมล็ด เปลือกเมล็ด และเนื้อของเมล็ด ซึ่งเราจะแยกเป็นรายละเอียดของสรรพคุณด้านสมุนไพรของถั่วเหลือง มีดังนี้ ใช้บำรุงโลหิต ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดการเกิดมะเร็งเต้านม ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวานได้ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก ช่วยถอนพิษ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง แก้อาการปวดหัว ช่วยเจริญอาหาร ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้โรคบิด เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยปรับฮอร์โมนในสตรี บำรุงม้าม ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ช่วยรักษาแผลเปื่อย รักษาแผลเน่าเปื่อย ใช้ห้ามเลือด ช่วยแก้ปวด ใช้เป็นยารักษาต้อกระจก

 

 

ข้อควรระวังสำหรับการบริโภคถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอยู่บ้าง สำหรับข้อควรระวังในการกินถั่วเหลืองนั้นมีดังนี้

ในถั่วหลืองมีโปรตีนสูง สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนจากถั่วเหลือง ให้งดกิน โดยอาการสามารถสังเกตได้จากอาการผื่นคัน

โปรตีนจากถั่วเหลืองจะทำให้เกิดอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ได้สำหรับเด็กและคนที่มีประวัติโรคหอบหืด

การดื่มนมถั่วเหลืองในเด็กทารกเพียงอย่างเดียวนั้นมีโอกาสทำให้ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติได้ เนื่องจากนมถั่วเหลืองไม่มีสารไอโอดีน

ในนมถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ในเพศชายหากกินมากเกินไป จะทำให้นมโตและจำนวนอสุจิลดลง

โปรตีนจากถั่วเหลือง ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมหนาตัวยิ่งขึ้น อาจทำให้มีการสร้างน้ำนมที่ผิดปกติ

โปรตีนในถั่วเหลืองมีไฟเตตสูง ซึ่งจะเป็นตัวยับยั้งการดูดซึมเกลือแร่ในร่างกาย โดยเฉพาะกับแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี

ถั่วเหลืองมีสาร Hemagglutinin ที่เป็นตัวทำให้เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดต่ำลง

การกินถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ อาการที่พบคือ เจ็บส้นเท้า อ่อนเพลีย อ้วน