เผยแพร่ |
---|
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ย้ำคุมเข้มความปลอดภัยสูงสุดทั้งอาหารและบรรจุภัณฑ์พลาสติก ใช้วัตถุดิบ Food Grade ที่ป้องกันการปนเปื้อนต่ออาหาร ช่วยคงคุณค่าทางโภชนาการ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมมาตรการสุขอนามัยเข้มระหว่างขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค และมุ่งมั่นมีส่วนร่วมลดปริมาณขยะจากการบริโภค
นายกิตติ หวังวิวัฒน์ศิลป์ ในฐานะประธานคณะทำงานบรรจุภัณฑ์ของซีพีเอฟ กล่าวว่า นอกจากมาตรการคุมเข้มความปลอดภัยในการผลิตอาหารทุกขั้นตอนแล้ว ซีพีเอฟ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและรักษาคุณภาพของอาหารให้ดีที่สุดด้วย โดยมุ่งมั่นศึกษาและนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์พลาสติกตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามเป้าหมายความยั่งยืนในการเป็นผู้นำการผลิตอาหารมั่นคงและปลอดภัย
ในช่วงการระบาดของ โควิด-19 ซีพีเอฟ ได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย ภายใต้ โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ให้กับแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย ผู้กักตัว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้มีรายได้น้อย เพื่อให้คนกลุ่มนี้ เข้าถึงอาหารที่มีคุณค่า ปลอดภัยปลอดโรค จากการผลิตที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ 99.9% ของบรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือ นำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ หรือย่อยสลายงหมด ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำมาใช้บรรจุอาหารของซีพีเอฟ ทั้งหมดเป็นคุณภาพ Food Grade ที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล มีคุณสมบัติสามารถป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากภายนอก ช่วยคงคุณค่าทางโภชนาการในอาหารได้ตลอดการจัดเก็บ และไม่ทิ้งสารตกค้างเมื่อสัมผัสกับอาหาร และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์อาหารแช่แข็งที่ปลอดภัยต่อการอุ่นร้อนในไมโครเวฟ
“ซีพีเอฟ ตระหนักดีว่า การเลือกใช้ประเภทบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร เป็นหัวใจสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ช่วยให้ผู้บริโภคได้อาหารที่สะอาดปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อน มีการทดสอบบรรจุภัณฑ์ในทุกขั้นตอนการผลิตก่อนวางจำหน่ายจริงในตลาด ตลอดจนรณรงค์ให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมลดปริมาณขยะจากบรรจุภัณฑ์อาหาร เพื่อสมดุลสิ่งแวดล้อม” นายกิตติ กล่าว
ทั้งนี้ ซีพีเอฟใช้เครื่องจักรในการบรรจุอาหาร เพื่อลดการสัมผัสของคน ลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนของเชื้อโรค ตลอดจนขนส่ง และจัดเก็บสินค้าตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนบนบรรจุภัณฑ์ที่เข้มงวด เพื่อเป็นหลักประกันการส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความปลอดภัยสูงสุดให้ผู้บริโภค
ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ซีพีเอฟ ยังให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาการออกแบบและการจัดการบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีการสรรหาเทคโนโลยีและวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารที่สามารถช่วยยืดอายุการเก็บอาหารให้ยาวขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดขยะอาหาร และบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในช่วงของการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีการใช้พลาสติก และพฤติกรรมผู้บริโภคหันมาซื้ออาหารสำเร็จรูปพร้อมทานมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟ ยังส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุทางเลือกอื่นๆ เช่น กระดาษรีไซเคิล วัสดุหมุนเวียน ทดแทนการใช้พลาสติก เช่น ถาดไข่ไก่สด ปลอดสาร CP Selection Cage Free ที่ทำจากกระดาษรีไซเคิลทั้งหมด และในส่วนของถาดพลาสติก PET มีสัดส่วนของพลาสติกรีไซเคิล ในชั้นที่ไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับไข่ไก่อยู่ถึง 60% รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมบรรจุุภัณฑ์ใหม่ร่วมกับคู่ค้าผู้ผลิตบรรจุุภัณฑ์สำหรับสินค้าหมูสด และไก่สดแช่เย็น CP Selection และ ผลิตภัณฑ์ CP ไข่ม้วนออมเล็ต ซึ่งใช้เทคโนโลยีพลาสติกฟิล์ม 2 ชั้น ที่เป็นชนิดเดียวกัน (Mono Material) ทำให้บรรจุภัณฑ์นี้สามารถรีไซเคิลได้ 100% (100% Recyclable)
เพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารมั่นคงและยั่งยืน ซีพีเอฟ สนับสนุนการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ เช่น ถาดพลาสติกใสชีวภาพ Polylactic acid (PLA) ที่ผลิตจากพืช ย่อยสลายได้ 100% โดยเริ่มต้นใช้กับเนื้อหมูและไก่สดแช่แย็น ที่ ซีพี บุชเชอร์ ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2558 และได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบัน ซีพีเอฟ ได้ใช้ถาดนี้ไปแล้วกับอาหารมากกว่า 20 ล้านชิ้น
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นมีส่วนร่วมลดขยะพลาสติก โดยตั้งเป้าว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด ที่นำมาใช้บรรจุอาหารสามารถต้องนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่หรือนำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ หรือย่อยสลายได้ภายในปี 2568 สำหรับกิจการประเทศไทย และ ปี 2573 สำหรับกิจการต่างประเทศและได้เข้าร่วมโครงการส่งพลาสติกกลับบ้านกับเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thailand Responsible Business Network : TRBN) ในการเป็นจุดรับขยะพลาสติก (Drop Point) รวบรวมขยะพลาสติกไปทำการรีไซเคิล อีกทั้งขับเคลื่อนเรื่องของการลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single-use) ได้แก่ การจัดทำสื่อรณรงค์และให้ความรู้พนักงาน ในการล้างแยกทิ้งขยะพลาสติก ภายใต้หลักการ 4 Rs ได้แก่ Reduce Reuse Recycle Rethink เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกในช่วงของการระบาดอีกทางหนึ่ง