กศน.หนองคาย ศึกษาหลักสูตร เตรียมพัฒนาครู กศน.

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายการพัฒนาครูและคุณภาพการศึกษา ที่มุ่งตอบสนองความต้องการจำเป็นต่อการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพของแต่ละสถานศึกษาให้มากที่สุด การพัฒนาครูจึงใช้กระบวนการให้ครูได้มีโอกาสเลือกหลักสูตรที่จะเข้ารับการพัฒนาตามความต้องการ โดยความเห็นชอบของผู้บริหารสถานศึกษา

สำนักงาน กศน. จังหวัดหนองคาย ได้มอบหมายให้ผู้ศึกษาจัดทำหลักสูตรการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และเป็น 1 ใน 25 หลักสูตรที่ผ่านการประเมินหลักสูตรการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน ของสำนักงาน กศน. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนดและมีมติรับรองหลักสูตร และได้ดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน ระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2564 ณ โรงแรมพาร์คแอนด์พูล รีสอร์ท จังหวัดหนองคาย

โดย ดร.มณฑาทิพย์ เสยยงคะ ผู้อำนวยการ กศน.โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เก็บข้อมูลในการจัดทำหลักสูตร เพื่อเปรียบเทียบ และพบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนาในหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน : การวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (ประกาศการรับรองหลักสูตร โดยสถาบันคุรุพัฒนา) มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 และผู้ที่มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 ร้อยละ 50 และร้อยละ 48 ตามลำดับ

ยังมีการเก็บข้อมูลแสดงผลการประเมินวิทยากรหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน : การวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน/ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่าผู้เข้ารับการพัฒนา มีความเห็นว่าวิทยากรหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน : การวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน/ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีความรู้ความสามารถในระดับมากที่สุด เฉลี่ย 4.93 และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าผู้เข้ารับการพัฒนามีความเห็นว่าวิทยากรเปิดโอกาสให้เข้าร่วมอภิปราย-ซักถาม และได้รับความรู้ และมีความเข้าใจในเนื้อหาที่วิทยากรบรรยายเพิ่มมากขึ้น มากที่สุด เฉลี่ย 4.95 และมีความคิดเห็นน้อยที่สุดด้านวิทยากรใช้สื่อเหมาะสม เฉลี่ย 4.91 และผู้เข้ารับการพัฒนามีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้แก่ วิทยากรมีวิธีการสอนให้คุณครูทุกท่านได้เข้าใจดีมาก และบรรยายได้ชัดเจนทำให้มีความรู้เรื่องการทำวิจัยมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้อย่างดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังเก็บข้อมูลการแสดงผลการประเมินความพึงพอใจการดำเนินงานหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน : การวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน/ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่าผู้เข้ารับการพัฒนามีความพึงพอใจการดำเนินงานหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน : การวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในภาพรวมในระดับมากที่สุด เฉลี่ย 4.74 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนาพึงพอใจด้านวิทยากรมากที่สุด เฉลี่ย 4.81 รองลงมาคือด้านการนำความรู้ไปใช้ เฉลี่ย 4.80 สำหรับด้านวิทยากรผู้เข้ารับการพัฒนาพึงพอใจด้านการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจนมีความสามารถในการอธิบายเนื้อหา และมีความครบถ้วนของเนื้อหาในการฝึกอบรม มากที่สุด เฉลี่ย 4.85 ส่วนด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร ผู้เข้ารับการพัฒนาพึงพอใจด้านระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม มากที่สุด เฉลี่ย 4.88 รองลงมาคือ สถานที่สะอาดและมีความเหมาะสม เฉลี่ย 4.85

สำหรับด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้เข้ารับการพัฒนามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ก่อนการอบรม ระดับปานกลาง เฉลี่ย 3.27 และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้หลังการอบรม ระดับมากที่สุด เฉลี่ย 4.76 และด้านการนำความรู้ไปใช้ผู้เข้ารับการพัฒนามีคิดว่าสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ มากที่สุด เฉลี่ย 4.82 รองลงมาคือ มีความมั่นใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้ เฉลี่ย 4.79

ทั้งนี้ ในการอบรมแนวทางการดำเนินงานหลักสูตร มีผู้ผ่านการพัฒนาในหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 100 มีระดับความพึงพอใจการดำเนินงานหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา อยู่ในระดับมากขึ้นไป และผลการประเมินวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา อยู่ในระดับมากขึ้นไป