ที่มา | เทคโนโลยีเกษตร |
---|---|
ผู้เขียน | เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ |
เผยแพร่ |
การผลิตฟ้าทะลายโจรให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพที่ดี จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ในการผลิต ดังนั้น กรมวิชาการเกษตร จึงได้จัดทำคู่มือการผลิตฟ้าทะลายโจร สำหรับเกษตรกร เป็นแนวทางในการผลิตฟ้าทะลายโจรให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจนำไปปรับใช้และพัฒนาให้เหมาะสมในพื้นที่ของตัวเอง
แหล่งผลิตฟ้าทะลายโจร
การผลิตฟ้าทะลายโจรมีอยู่ทั่วไป ซึ่งแหล่งผลิตสำคัญที่รู้จักกันดีและปลูกมานานคือ กลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรกระตีบพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ที่ผ่านมา เกษตรกรมีรายได้ 60,000 บาทต่อไร่ (ช่วงราคารับซื้อ 40-60 บาท) ส่วนใหญ่จะปลูกฟ้าทะลายโจรร่วมกับข้าวโพด ได้ผลผลิต 1,500-1,800 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่การผลิตแบบอินทรีย์จะได้ผลผลิต 400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งในช่วงวิกฤตที่มีการระบบของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีความต้องการฟ้าทะลายโจรสูงมาก ทำให้ตลอดช่วงห่วงโซ่การผลิตของฟ้าทะลายโจรเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลผลิตที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำยา จะต้องมีคุณภาพมาตรฐานโรงงานและเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคได้ใช้สมุนไพรที่มีคุณภาพและปลอดภัย
ฤดูการปลูก
ฟ้าทะลายโจรสามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่ที่เหมาะสมคือ ช่วงต้นฤดูฝน
พันธุ์ปลูก
พันธุ์พิษณุโลก 5-4 ให้ผลผลิต 1,774-4,187 กิโลกรัมต่อไร่ และปริมาณสารแล็กโตนรวม 10.74-11.79 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง
พันธุ์พิจิตร 4-4 ให้ผลผลิต 1,726- 3,880 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณสารแล็กโตนรวม 10.59-12.00 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง
การเตรียมแปลง
หากปลูกช่วงฤดูฝน ในพื้นที่ลุ่ม ควรขุดยกร่องแปลงสููง 15-20 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เมตร ควรมีช่องว่างระหว่างแปลง 1 เมตร เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการดูแลรักษา
การเตรียมพันธุ์
ฟ้าทะลายโจรนิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เพื่อเพิ่มการงอกของเมล็ดฟ้าทะลายโจร ควรแช่เมล็ดในน้ำประมาณ 6-12 ชั่่วโมง หรือแช่เมล็ดในน้ำร้อน 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5-7 นาที หรืออบเมล็ดที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่่วโมง จะช่วยให้เมล็ดพันธุ์งอกดีขึ้น
การปลูก
การปลููกฟ้าทะลายโจรโดยทั่วไปสามารถจำแนกวิธีการปลูกได้ 2 วิธี คือ
1. ปลูกโดยใช้เมล็ด โดยทั่วไปเมล็ดฟ้าทะลายโจรมีขนาดเล็ก 1 กิโลกรัมจะมีเมล็ด 1,000,000-1,200,000 เมล็ดหรือ 1 ช้อนโต๊ะ จะมีเมล็ดจำนวน 7,000-8,000 เมล็ด การปลููกโดยใช้เมล็ดแบ่งเป็นการปลูกแบบหว่านและการปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว
การปลูกแบบหว่าน นำเมล็ดมาผสมทรายหยาบอัตรา 1 : 1-2 ใช้เมล็ดหว่านอัตรา 100-400 เมล็ดต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร หรืออัตรา 1.5-2.0 กิโลกรัมต่อไร่ คลุมแปลงด้วยฟางข้าว แต่มีข้อจำกัดคือ ทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ซึ่งมีราคาสููง
การปลููกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว ขุดร่องตื้นๆ เป็นแถวยาวแล้วโรยเมล็ดและเกลี่ยดินกลบบางๆ ควรมีระยะปลูกระหว่างแถวประมาณ 40 เซนติเมตร โดยทั่วไปใช้เมล็ด 50-100 เมล็ดต่อ 1 เมตร การปลููกด้วยวิธีนี้ กำจัดวัชพืชได้ง่าย สะดวกขึ้น เนื่องจากมีระยะแถวปลูกที่แน่นอน สามารถนำเครื่องมือการเกษตร เช่น จอบ เสียม มาใช้พรวนดินและดายหญ้าได้อย่างคล่องตัว
การปลููกแบบหยอดหลุุม เตรียมหลุมปลูกลึกประมาณ 2-5 เซนติเมตร ให้เป็นแนวโดยมีระยะปลูกระหว่างต้น 20-30 เซนติเมตร ระหว่างแถว 40 เซนติเมตร หยอดเมล็ดหลุมละ 5-10 เมล็ด เกลี่ยดินกลบบางๆ การปลูกวิธีนี้ จะประหยัดเมล็ดพันธุ์ แต่ยากในการกำจัดวัชพืช ขณะที่่ต้นยังเล็ก เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกที่ไม่มีปัญหาวัชพืชรบกวน
- การปลููกโดยใช้กล้า มีขั้นตอนดังนี้
2.1 การเตรียมกล้าฟ้าทะลายโจรก่อนย้ายปลููกอาจทำโดยการเพาะแปลง โดยใช้จอบขุุดยกเป็นแปลงกว้าง 1 เมตร สููงประมาณ 15-20 เซนติเมตร ความยาวและจำนวนแปลงขึ้นอยู่กับจำนวนเมล็ดที่่เพาะและความสะดวกในการปฏิบัติงานพร้อมกับย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นก่อน 0.5-1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วปรับหน้าดินให้เรียบก่อนหว่านเมล็ดหรือทำการเพาะในถุงพลาสติก โดยใช้วัสดุเพาะคือ แกลบดำ : ทราย : ดิน ในอัตราส่วน 2 : 1 : 1 เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-14 ใบ สามารถย้ายปลููกได้
2.2 การปลููกโดยใช้กิ่งปักชำ คัดเลือกกิ่งฟ้าทะลายโจรจากต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงทำลาย มีอายุเหมาะสมสำหรับการปักชำ (ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป) ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ควรเด็ดใบเพื่อลดการคายน้ำ นำไปแช่ในน้ำยาเร่งรากเป็นเวลา 10 นาที ผึ่งให้แห้งก่อนปักชำแล้วรดน้ำให้ชุ่มโดยรักษาความชุ่มชื้น และพรางแสงประมาณ 1 สัปดาห์เมื่อมีการแตกใบและรากงอกก็สามารถย้ายปลูกลงในแปลงต่อไป
2.3 การเตรียมหลุมปลุก ขุดหลุมกว่าประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 8-12 เซนติเมตร เป็นแถวระยะปลูก 30×40 เซนติเมตร ให้น้ำหนักสดสูงสุด 3,070 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักแห้งสูงสุดเฉลี่ย 776.6 กิโลกรัมต่อไร่ และระยะปลููก 30×60 เซนติเมตร ให้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์สููงสุุด 6.98 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมประมาณ 125 กรัมต่อหลุม และคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน
2.4 ย้ายกล้าปลูก เมื่่อกล้ามีอายุประมาณ 30 วัน ก่อนย้ายกล้า รดน้ำแปลงให้ชุ่มแล้วจึงใช้ช้อนขุดหรือเสียมแซะต้นกล้าไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ 1 ต้นต่อหลุุม หลังปลููกรดน้ำทันที
การใส่ปุ๋ย แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
1. การใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมหรือรองพื้นแปลงเพาะ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ใส่ในอัตรา 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ ควรใส่ก่อนปลููก 7 วัน
2. ใส่หลังปลููกใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ได้แก่ ช่วงอายุประมาณ 60 วัน และอายุุ 90-110 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสููง การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนต้องระมัดระวังมาก ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้เฝือใบ ฝักโตเร็วเกินไป เป็นโรคและช้ำได้ง่าย
วิธีใส่ปุ๋ย สามารถใส่ปุ๋ยให้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งแล้วแต่ความสะดวกและวิธีการปลูกพืช ดังนี้
1. แบบหยอดโคน ใส่ปุ๋ยห่างจากโคนต้นประมาณ 10 เซนติเมตร โดยขุดหลุมฝังหรือโรยรอบๆ โคนต้นแล้วพรวนดินกลบก็ได้ ซึ่งเหมาะสมกับการปลูกแบบมีระยะปลูก
2. แบบโรยหรือหว่านเป็นแถว ใส่ปุ๋ยโรยหรือหว่านเป็นแถวขนานไปกับระหว่างแถวปลูกพืชจากแถวปลูกประมาณ 10-15 เซนติเมตร โดยขุุดเป็นร่องแล้วพรวนดินกลบ หรือโรยปุ๋ยก่อนแล้วพรวนดินกลบก็ได้ ซึ่งเหมาะกับการปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว
3. แบบหว่าน ต้องหว่านปุ๋ยให้กระจายทั่วและสม่ำเสมอ หลังหว่านปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำทันที อย่าให้ปุ๋ยค้างอยู่ที่ใบ เพราะจะทำให้ใบไหม้และต้นพืชตายได้ ซึ่งเหมาะกับแปลงเพาะกล้าและการปลูกแบบหว่านเมล็ด
การให้น้ำ
ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชชอบน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขัง ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง ตั้งแต่ปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว หลังจากปลูกทุกครั้งต้องให้น้ำทันที จะช่วยให้ต้นกล้าไม่เฉาและตายง่าย ในระยะเดือนแรกหลังจากปลููก ถ้าแดดจัดควรให้น้ำ 2 ครั้งเช้าเย็น ถ้าแดดไม่จัด วันละ 1 ครั้ง เช้าเย็น ถ้าแดดไม่จัด ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง หลังจากอายุ 2 เดือนไปแล้ว ให้น้ำวันเว้นวันหรือตามความเหมาะสม นอกจากนี้ การให้น้ำฟ้าทะลายโจร 80 เปอร์เซ็นต์ของค่าการระเหยสะสม ซึ่งวัดได้จากน้ำที่่ระเหยออกจากถาดวัดการระเหยของน้ำ ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวให้ผลผลิตสูงสุดและปริมาณสารแล็กโตนรวมได้มาตรฐาน แต่ถ้าพืชขาดน้ำเป็นระยะนานๆ หลายวันจะทำให้เหี่ยวเฉา แคระแกร็น ออกดอกเร็ว และไม่สามารถดึงธาตุุอาหารที่จำเป็นบางชนิดได้ ทำให้เกิดโรคใบสีม่วง
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวใบหรือทั้งต้น การเก็บเกี่ยวฟ้าทะลายโจรควรเก็บเกี่ยวในช่วงฟ้าทะลายโจรเริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งฟ้าทะลายโจรจะมีอายุประมาณ 110-150 วันและเป็นช่วงที่มีสารสำคัญมากที่สุด หากเก็บหลังช่วงนี้สารสำคัญจะลดลง ในขณะที่การออกดอกจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม
วิธีการเก็บเกี่ยว โดยใช้กรรไกรตัดหรือเคียวตัดเหนือดินให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพื่อเลี้ยงต้นตอให้เจริญเติบโตให้ผลผลิตในรุ่นต่อไป ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนจึงสามารถเก็บเกี่ยวฟ้าทะลายโจรได้อีกครั้ง จากนั้นนำมาคัดแยกวัชพืชและสิ่งปลอมปนออก ล้างด้วยน้ำสะอาด ตัดเป็นท่อนประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วผึ่งให้แห้งหรืออบด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อน ผลผลิตสดเฉลี่ย 2,000-3,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีสัดส่วนผลผลิตสดต่อผลผลิตแห้งอัตรา 4 : 1 กิโลกรัม สารแอนโดรกราฟโฟไลด์ในส่วนของใบฟ้าทะลายโจรจะเริ่มมีปริมาณมากขึ้น ตั้งแต่อายุ 80 วันขึ้นไป การเก็บเกี่ยวผลผลิตฟ้าทะลายโจรที่อายุ 135 วันหลังปลููกจะให้ปริมาณสารแอนโดรกราฟโฟไลด์สููง
นอกจากนี้ การเก็บเกี่ยวใบฟ้าทะลายโจรที่อายุุ 18 สัปดาห์หลังปลูกหรือระยะก่อนออกดอกจะมีปริมาณสารสำคัญมากที่สุดและจะพบในระยะใบอ่อนมากกว่าใบแก่ อย่างไรก็ตาม สารสำคัญของฟ้าทะลายโจรมีปริมาณที่แตกต่างกันเมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 120-150 และ 180 วันหลังปลูก
การเก็บเกี่ยวเมล็ด ช่วงการเก็บเกี่ยวเมล็ดที่เหมาะสม เมื่อพืชมีอายุประมาณ 6 เดือน เป็นระยะฝักแก่ เมล็ดมีสีน้ำตาล มีน้ำหนักเมล็ดรวมประมาณ 0.166 กรัมต่อ 100 เมล็ดจะให้เปอร์เซ็นต์การงอกสููง (98.5 เปอร์เซ็นต์) สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1 ปี แต่อัตราการงอกสููงสุุดจะพบในเมล็ดฟ้าทะลายโจรที่่เก็บไว้ไม่เกิน 6 เดือน
การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว
หลังจากเก็บเกี่ยวฟ้าทะลายโจรเรียบร้อยแล้วควรทำความสะอาดก่อนทำให้แห้ง นำฟ้าทะลายโจรที่เก็บมาล้างน้ำให้สะอาด คัดแยกสิ่่งปนปลอม เช่น วัชพืชที่่ปะปนมา ตัดหรือหั่่นให้มีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ผึ่่งให้สะเด็ดน้ำแล้วนำมาเกลี่ยบนภาชนะที่สะอาด เช่น กระด้งหรือถาด การตาก ควรคลุุมภาชนะด้วยผ้าขาวบาง เพื่่อป้องกันฝุ่นละอองและกันการปลิวของสมุุนไพรตากจนแห้งสนิท หรือใช้เครื่องอบแห้งแบบลมร้อน ที่่อุุณหภููมิ 50 องศาเซลเซียสใน 8 ชั่่วโมงแรก และลดอุณหภููมิเหลือ 40-45 องศาเซลเซียส อบต่อจนแห้งสนิท หลังจากที่ฟ้าทะลายโจรแห้งดีแล้ว ควรนำฟ้าทะลายโจรเก็บใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุง มัดให้แน่น ไม่ควรเก็บฟ้าทะลายโจรไว้ใช้นานเพราะจะทำให้ปริมาณสารสำคัญลดลงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์
อ้างอิง : ข้อมูลและภาพประกอบ จากเอกสาร “คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลิตฟ้าทะลายโจร” สิงหาคม 2564 กรมวิชาการเกษตร