สพภ.เปิดตัว 6 แหล่งท่องเที่ยวชีวภาพ ปลอดภัยสุขกายสุขใจ ยุค Covid 19 สร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. กำหนดเป้าหมายการทำงานเชิงรุก โดยนำชุมชนในท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกล และมีต้นทุนธรรมชาติ วิว ทิวทัศน์ สัตว์หายาก รวมถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ มาสร้างคุณค่าและรายได้ให้กับท้องถิ่น ท่ามกลางกระแส การท่องเที่ยวที่ปลอดภัย ยุค Covid 19 เที่ยวแบบปลอดภัยสุขกายสุขใจ เที่ยวเป็นเฉพาะกลุ่ม วางแผนการเดินทาง เที่ยวแบบเข้าใจธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชนในท้องถิ่น กระจายรายได้สู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง

ดร. วิจารย์ สิมาฉายา ประธานกรรมการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า แนวคิดท่องเที่ยวชีวภาพ เป็นการท่องเที่ยวแนวใหม่ยุค New Normal ที่นำความสวยงามของธรรมชาติ ความอุดมสมบรูณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ และวิถีท้องถิ่นในชุมชน รวมถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นจุดขาย ทุนธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพมาสร้างคุณค่าและรายได้ให้กับกลุ่มสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นชุมชน

“การท่องเที่ยวชีวภาพ” หรือ “BioTourism” เป็นเครื่องมือการตลาด ที่ สพภ. นำทุนธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพมาสร้างคุณค่าและรายได้ให้กับ กลุ่มสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น/ชุมชน เป็นสินค้าที่มีมูลค่า ไม่สูงมาก ตลอดจนทัศนียภาพที่สวยงามของพื้นที่ วิว ทิวทัศน์ สัตว์หายาก รวมถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ซึ่ง “ท่องเที่ยวชีวภาพ” เป็นการตลาดแบบ Outside in คือ การสร้าง หรือสื่อสารความน่าสนใจของพื้นที่ชุมชนและดึงดูดให้คนภายนอกเข้ามาสัมผัส เยี่ยมชมสถานที่ วิถีชุมชน เลือกชมสินค้าและบริการ ทำให้สินค้าจากภูมิปัญญาและ ทรัพยากรชีวภาพที่เดิมมีปริมาณและมูลค่าไม่มาก ไม่คุ้มค่าที่จะนำไปจหน่ายพื้นที่ ห่างไกล รวมทั้งสินค้าประเภทบริการ ที่สร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้ เมื่อชุมชนมีรายได้จากทรัพยากรท้องถิ่นตนเอง จะกระตุ้นให้ชุมชนแบ่งผลกำไรหรือรายได้มา ทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรให้มีความยั่งยืน หรือกล่าวได้ว่า “อนุรักษ์แล้ว ต้องมีกินมีใช้ด้วย”

สำหรับแหล่งท่องเที่ยวชีวภาพนั้น สพภ. คัดเลือกจากคุณสมบัติสำคัญ ดังนี้ คือ 1..ชุมชนตั้งอยู่ห่างไกล เมืองใหญ่ ถนนสายหลัก หรือตลาดหลักค่อนข้างมาก 2. สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชมุชนมูลค่าไม่สูงมาก อายุการเก็บรักษาไม่นาน เป็นสินค้าพื้นฐาน 3. มีสิ่งดึงดูดอื่น ๆ เช่น ภูมิทัศน์ สภาพธรรมชาติ มีสัตว์ป่าหายาก หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรชีวภาพท้องถิ่น 4. ชุมชนมีความต้องการ และให้ความร่วมมือพัฒนาการท่องเที่ยวภายในชุมชน

ที่ผ่านมา สพภ. ส่งเสริมสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น สร้างเศรษฐกิจ สู่การอนุรักษ์ สร้างคุณค่าและรายได้ให้กับชุมชน กับ“แหล่งท่องเที่ยวชีวภาพ”ทั่วประเทศ รวม 6 พื้นที่ ประกอบด้วย
1. กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี บ้านรวมไทย ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
2.กลุ่มเกษตรยั่งยืน ชุมชนบ้านศรีเจริญ ต.เลยวังไสย์ อ.ภูหลวง จ.เลย
3.กลุ่มโหนด นา เล ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา
4.กลุ่มพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ (ส้มมะปี๊ด) ต.วันยาว อ.ขลุง จ.จันทบุรี
5.ชุมชนปงไคร้ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
6.ซุมชนตำบลลุ่มสุ่ม จ.กาญจนบุรี

ทั้ง 6 ชุมชนสามารถ สร้างเศรษฐกิจ สู่การอนุรักษ์ สร้างคุณค่าและรายได้ให้กับชุมชนตนเองได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับ ทิศทางการท่องเที่ยวชุมชนในประเทศไทย จากรายงานการสำรวจเทรนด์การทอ่งเที่ยวในประเทศไทย ปี 2562 โดย Airbnb พบว่า นักท่องเที่ยวร้อยละ 84 ต้องการท่องเที่ยวแบบใช้ชีวิตแบบเดียวกับคนในท้องถิ่นและ ใช้จ่ายไปกับร้านอาหารในชุมชนมากที่สุด ถึงกว่า 1.7 พันล้านบาท

ขณะที่ข้อมูลของ Expedia ที่ เจาะลึกข้อมูล การท่องเที่ยวในปี 2561 พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมเลือกจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเป็นแหล่ง ชุมชนท้องถิ่นในเมืองรอง อาทิ สกลนคร นครพนม น่าน อัตราการท่องเที่ยว ลักษณะนี้มีแนวแนวโน้วเพิ่มสูงขึ้นกว่า ร้อยละ 50 เมื่อเทียบปี 2560 สะท้อนให้เห็นว่าในปัจจุบัน การท่องเที่ยวตามรอยวิถีชีวิตดั้งเดิมของชมุชนต่างๆ เป็นแหล่งการท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ ทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ สพภ.เตรียมสนับสนุนและส่งเสริมท้องถิ่นชุมชนตั้งอยู่ห่างไกล ซึ่งมีสิ่งภูมิทัศน์ สภาพธรรมชาติ มีสัตว์ป่าหายาก หรือมีภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรชีวภาพท้องถิ่น ซึ่งมีความต้องการ พัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชีวภาพ สร้างเศรษฐกิจ สร้างคุณค่าและรายได้ นำไปสู่การอนุรักษ์ชุมชน ท่ามกลางกระแส การท่องเที่ยวที่ปลอดภัย ยุค Covid 19 เที่ยวสุขกายสุขใจเที่ยวเป็นกลุ่มเล็กๆ เฉพาะกลุ่ม วางแผนการเดินทาง เที่ยวแบบเข้าใจธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชนในท้องถิ่น กระจายรายได้สู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง เพิ่มขึ้นต่อไป

ด้านนายศุภสิทธิ์ จำปาวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพัฒนาธุรกิจและการตลาด สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. กล่าวว่า ในปี 2565 สพภ. ขยายแหล่งท่องเที่ยวชีวภาพเพิ่มขึ้น จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1.บ้านมณีพฤกษ์ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีสภาพป่าทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีต้นชมพูภูคา พันธุ์ไม้ที่หายากที่สุดในโลก

2. บ้านสวายสอ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ นกกระเรียนพันธุ์ไทย หรือชาวบ้านเรียกว่า นกเขียน องค์กรสวนสัตว์ได้ดำเนินโครงการขยายพันธุ์และปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทย สู่ธรรมชาติ ชุมชนแห่งนี้ มีการทำนาเป็นระบบเกษตรอินทรีย์และช่วยดูแลนกกระเรียนพันธุ์ไทยอีกทางหนึ่ง

3. ชุมชนบ้านเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่ เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นด้านวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชุมชนมุสลิม มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ มีการทำประมงพื้นบ้าน และเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลที่มีความสด อร่อย

4.อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งผลิตข้าวอินทรีย์เรียกว่า ข้าวดอยที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีโอเมก้า 3,6,9 มีสารอนุมูลอิสระ ช่วยความจำป้องกันภาวะเสื่อมของสมอง และลดคลอเลสเตอรอล ความดันโลหิต


นอกจากนี้ ในปี 2565 สพภ.วางแผนดำเนินโครงการพัฒนาต่อยอดทางด้านช่องทางการตลาดให้กับชุมชน โดยใช้ “ ตลาดปันรักษ์ ” เป็นเครื่องมือ โดยกำหนดเปิดโครงการตลาดปันรักษ์นำร่องจำนวน 2 แห่งในพื้นที่ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน และ ตำบลเลยวังไสย์ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในชุมชนได้นำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมาจำหน่าย เพื่อสร้างและกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน