วิทยาลัยเทคนิคลำพูน ทำ ตุ๊ดตู่คู่ใจ ช่วยคว้านเมล็ดลำไย ลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน

วิทยาลัยเทคนิคลำพูน เป็นสถานศึกษาสายอาชีพประจำจังหวัดลำพูน อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงการศึกษาธิการ ทำการเปิดสอนในระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่การประกอบอาชีพและเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นหลัก ทั้งการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง (Entrepreneur) และการเข้าสู่สถานประกอบการ ซึ่งได้เปิดสอนในหลายประเภทวิชา เช่น

  1. ช่างอุตสาหกรรม ได้แก่ ช่างยนต์ ไฟฟ้ากำลัง ก่อสร้าง-โยธา แมคคาทรอนิกส์ เป็นต้น
  2. พาณิชยกรรม ได้แก่ การบัญชี การตลาด โลจิสติกส์และซัพพลายเชน สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล สาขางานธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น
  3. คหกรรม ได้แก่ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
  4. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ สาขาวิชาการโรงแรม
  5. คุณปัญญชาติ วงศ์ปัญญา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคลำพูน ผู้ดูแลสถานศึกษาแห่งนี้ ให้ข้อมูลว่า วิทยาลัยเทคนิคลำพูน มีนักเรียน นักศึกษา จำนวนทั้งหมด 2,828 คน มีพันธกิจหลัก นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนแล้ว วิทยาลัยยังสนับสนุนให้ครูและนักเรียน นักศึกษา นำความรู้ในวิชาชีพลงสู่การพัฒนาชุมชน ซึ่งสายวิชาชีพเกษตร เป็นอีกสายวิชาหนึ่งที่นักศึกษาควรเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมของจังหวัดเป็นเมืองเกษตรกรรม ดังนั้น การส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ในเทคโนโลยีสำหรับนำมาใช้ทางการเกษตร จึงเป็นสิ่งจำเป็น และเชื่อว่านักศึกษาจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง
เวอร์ชั่นแรก เคยได้ออกรายการสมรภูมิไอเดีย

ที่ผ่านมา นักศึกษาได้นำเสนอไอเดีย อุปกรณ์คว้านเมล็ดลำไย เรียกชื่อว่า “ตุ๊ดตู่คู่ใจ” เนื่องจากจังหวัดลำพูน เป็นจังหวัดหนึ่งที่เกษตรกรทำสวนลำไยมาก และสามารถส่งออกเนื้อลำไย ทำรายได้เข้าสู่ประเทศมหาศาล กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ เมื่อลำไยเป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศ เป็นที่นิยมบริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ซึ่งแต่ละปีมีการส่งออกลำไยรวมมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท มีพื้นที่ผลผลิตกว่า 870,000 ไร่ ปัจจุบัน มีการปลูกลำไยอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่ประมาณร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดจะอยู่ในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ตาก แม่ฮ่องสอน และสุโขทัย สำหรับการตลาดของลำไยมีแหล่งรองรับผลผลิต คือ การบริโภคสดภายในประเทศ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่งออกลำไยสด ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ แปรรูปเป็นลำไยอบแห้ง ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ และแปรรูปอื่นๆ ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์

ครูที่ปรึกษาทั้งสองท่านพร้อมนักศึกษา เข้ารับรางวัลสิ่งประดิษฐ์รางวัลชนะเลิศระดับชาติ ของสำนักงาน

แต่การส่งออกในรูปแบบของลำไยอบแห้ง ก็ประสบปัญหา โดยเฉพาะการผลิตลำไยอบแห้งเนื้อสีทองที่ไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตเนื้อลำไยอบแห้งให้เพียงพอต่อความต้องการได้ เนื่องจากขาดแคลนแรงงานในการคว้านเมล็ดลำไย  เพราะผู้ที่จะทำหน้าที่คว้านเมล็ดลำไยจะต้องมีความชำนาญ หากขาดความชำนาญอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บจากการใช้อุปกรณ์ อีกทั้งผลผลิตเนื้อลำไยที่ได้จากการคว้านเมล็ดลำไยก็จะไม่สวยงาม ต้องคัดออก ทำให้ได้ผลผลิตเนื้อลำไยที่มีคุณภาพจำนวนน้อยไม่เพียงพอตามความต้องการของตลาด

ครูคมกริด น้อยสะปุ๋ง ครูที่ปรึกษาสิ่งประดิษฐ์อีกท่าน มอบ ตุ๊ดตู่คู่ใจ ให้กับกลุ่มแม่บ้านนำไปใช้

สิ่งประดิษฐ์ “ตุ๊ดตู่คู่ใจ” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีความชำนาญในการคว้านเมล็ดลำไย ซึ่งเมื่อทดสอบแล้วได้ผลดี

การทดสอบทำโดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มอาชีพในชุมชน จังหวัดลำพูน และจังหวัดใกล้เคียง และพบว่าสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เนื่องจากอุปกรณ์คว้านเมล็ดลำไย “ตุ๊ดตู่คู่ใจ” สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตให้กับผู้ประกอบการ

ครูที่ปรึกษาสิ่งประดิษฐ์ทั้งสองท่าน ครูสมพร อ่อนเกตุพล และ ครูคมกริด น้อยสะปุ๋ง

ลักษณะพิเศษของชิ้นงาน

มีขนาดความกว้าง 12 มิลลิเมตร ความยาว 170 มิลลิเมตร น้ำหนัก 80 กรัม

นักศึกษาผู้ประดิษฐ์ ลงพื้นที่ทำคลิปวิดีโอนำเสนอต่อกรรมการ
  1. ระบบการทำงาน เป็นการนำเอาปากตุ๊ดตู่ที่ทำเป็นร่องฟันปลา เจาะลงในขั้วของลูกลำไย เพื่อให้ปากตุ๊ดตู่ยึดติดกับเมล็ดลำไย หมุนอุปกรณ์เล็กน้อยเพื่อให้ขั้วลำไยหลุดจากเนื้อลำไย จากนั้นให้ดึงปากตุ๊ดตู่ออกจากผลลำไย เมล็ดของลำไยก็จะติดปากตุ๊ดตู่ออกมาด้วย ให้ดันปุ่มควบคุมแท่งสแตนเลสไปข้างหน้า เพื่อดันเมล็ดลำไยให้หลุดออกจากปากอุปกรณ์
  2. เนื้อลำไยที่ได้จากการเอาเมล็ดออกมาแล้วจะมีความสวยงาม ไม่ช้ำ อุปกรณ์คว้านเมล็ดลำไยผลิตจากแท่งสแตนเลส นำมาเจาะให้กลวง ภายในใส่ตัวดันเมล็ด มีสลักดันเมล็ดควบคุมการเคลื่อนที่ไป-มา โดยมีลวดสปริงยึดติดอยู่กับตัวดันเมล็ดลำไยและแกนยึดสปริง ทำให้เพิ่มผลผลิตและลดระยะเวลาในการคว้านเมล็ดลำไย
  3. ผลการเปรียบเทียบการคว้านเมล็ดลำไยโดย ตุ๊ดตู่คู่ใจ ได้ปริมาณการคว้านเมล็ดลำไย เฉลี่ย 11.76 กิโลกรัม ส่วนการคว้านลำไยโดยใช้อุปกรณ์การคว้านเมล็ดลำไยแบบดั้งเดิม ได้ปริมาณการคว้านเมล็ดลำไย เฉลี่ย 4.70 กิโลกรัม โดยใช้เวลา 1 ชั่วโมง และการคว้านเมล็ดลำไยโดย ตุ๊ดตู่คู่ใจ ใช้เวลา 8 ชั่วโมง ได้ปริมาณการคว้านเมล็ดลำไยทั้งหมด 94.08 กิโลกรัม ส่วนการคว้านเมล็ดลำไยโดยใช้อุปกรณ์การคว้านเมล็ดลำไยแบบดั้งเดิมใช้เวลา 8 ชั่วโมง ได้ปริมาณการคว้านเมล็ดลำไยทั้งหมด 77.60 กิโลกรัม ซึ่งได้ปริมาณมากกว่าเป็น 2.5 เท่าของการใช้อุปกรณ์การคว้านเมล็ดลำไยแบบดั้งเดิม
  4. ด้วยเหตุนี้ ทำให้อุปกรณ์คว้านเมล็ดลำไยของนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคลำพูน ได้รับการยอมรับ และคว้ารางวัลสิ่งประดิษฐ์ระดับประเทศหลายรางวัล อาทิ รางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับอาชีวศึกษาจังหวัด ประเภทสิ่งประดิษฐ์ด้านการประกอบอาชีพ ประจำปีการศึกษา 2560 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประเทศ “หนึ่งอาชีวะ หนึ่งนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์” ระดับประเทศ ประจำปีการศึกษา 2561 ซึ่งจัดโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
กลุ่มแม่บ้านลองใช้ ตุ๊ดตู่คู่ใจ

สนใจชิ้นงาน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยเทคนิคลำพูน เลขที่ 42 ถนนลำพูน-ป่าซาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โทรศัพท์ 053-511-073