อ.ส.ค. เสริมแกร่ง พัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

อ.ส.ค. จับมือ สอวช. แถลงข่าวความก้าวหน้าโครงการวิจัย “การศึกษารูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการของเสียในฟาร์มโคนมและการพัฒนาที่ยั่งยืน” พร้อมเดินหน้าต่อยอดสร้างต้นแบบการจัดการมลภาวะอย่างยั่งยืนในฟาร์มโคนมของชุมชน มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมนมของไทยขึ้นแท่นมาตรฐานสากลสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ในอนาคตชูแนวทางการบริหารงาน ในการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรไทย ให้สามารถผลิตน้ำนมโคที่ได้มาตรฐานสากลแข่งขันกับต่างประเทศได้ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความมั่นคงทางรายได้และมีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในกิจการโคนม

ในโอกาสที่ อ.ส.ค. ครบรอบ 60 ปี ของการก่อตั้งฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค หรือ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปัจจุบัน ได้จัดงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมและเทคโนโลยีโคนมไทยสู่ NEXT NORMAL” ซึ่งในปีนี้ได้นำเสนอผลงานวิชาการและงานวิจัย ด้านกิจการโคนมที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะผลงานวิจัยเด่น ที่ อ.ส.ค. ได้ร่วมทุนกับ บพข. หรือหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สังกัดสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในการศึกษาวิจัยภายใต้แผนงานเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว BCG in Action ของประเทศ

คุณพีระ ไชยรุตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)

ซึ่งระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียเหลือทิ้ง โดยงานวิจัยนี้ได้ออกแบบให้มีการพัฒนาระดับฟาร์มของเกษตรกรหรือต้นน้ำที่จะส่งผลต่อธุรกิจอุตสาหกรรมนมปลายน้ำและเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านนมและผลิตภัณฑ์นมของประเทศโดยชุมชนเกษตรกรมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมี ดร.ณัฐภร แก้วประทุม นักวิชาการ 7 ฝ่ายวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงโคนมของ อ.ส.ค. เป็นหัวหน้าโครงการ และได้ทำงานร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำการศึกษาวิจัยในพื้นที่ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการเลี้ยงโคนมอย่างหนาแน่น ซึ่งทีมนักวิจัยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับฟาร์มโคนมของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ เพื่อวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model ตามนโยบายของรัฐบาล

รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

คุณพีระ ไชยรุตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กล่าวภายหลังเป็นประธานแถลงข่าวความก้าวหน้าโครงการวิจัย “การศึกษารูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการของเสียในฟาร์มโคนมและการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า อ.ส.ค. ในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สืบสานรักษาต่อยอดอาชีพการเลี้ยงโคนมให้กับเกษตรกรไทยมาอย่างยาวนาน ปีนี้ ครบรอบ 60 ปี ของการก่อตั้งฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค หรือ อ.ส.ค.ในปัจจุบัน งานศึกษาวิจัยค้นคว้าเพื่อพัฒนาการเลี้ยงโคนมให้กับประเทศจึงเป็นภารกิจสำคัญ ซึ่ง อ.ส.ค. มีเป้าหมายที่จะยกระดับความสามารถของเกษตรกรโคนมไทยให้ประกอบอาชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืนด้วยการสร้างนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมโคนมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ภายใต้การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจแบบองค์รวม หรือ BCG Model ตามแนวนโยบายของรัฐบาล

ดร.ณัฐภร แก้วประทุม นักวิชาการ 7 ฝ่ายวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงโคนมของ อ.ส.ค.

สำหรับผลงานวิจัยดังกล่าวทีมนักวิจัยได้สร้างต้นแบบการเลี้ยงโคนมในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือการคืนสภาพหรือสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ของเสียเหลือทิ้ง ในวงจรชีวิตของการผลิตแทนการทิ้งไปแบบไร้ประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม มีการหมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่องโดยไม่มีของเสีย นอกจากนี้ ยังได้แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความสมดุลในการดึงทรัพยากรธรรมชาติมาใช้งานใหม่ ควบคู่ไปกับการสร้างระบบและการออกแบบที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำฟาร์มโคนม ซึ่งของเสียจากการผลิตน้ำนมดิบของฟาร์มส่วนใหญ่จะนำมาหมุนเวียนเป็นพลังงานทดแทนเพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งของเสียจากฟาร์มโคนมนับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตของคนในชุมชนไม่น้อยไปกว่าฟาร์มปศุสัตว์อื่นๆ

คุณณัฐฏ์ เภารอด ประธานวิสาหกิจชุมชน

“ปัจจุบันโคนม 1 ตัว มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 500 กิโลกรัม ถ่ายมูลและปัสสาวะคิดเป็น 5% ของน้ำหนักตัว จะมีของเสียที่ขับถ่ายออกมามากถึง 25 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน โดยที่ทั้งประเทศมีโคนมทั้งหมด 812,666 ตัว จะมีของเสียมากถึง 20.31 ล้านกิโลกรัมต่อวัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยที่คนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับผลประโยชน์ โดยใช้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสร้าง “กระบวนการเรียนรู้” ซึ่งจะทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ ในขณะเดียวกัน ยังมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ โดยสร้างต้นแบบของการจัดการฟาร์มโคนมแบบองค์รวม โดยไม่มุ่งเน้นเพิ่มผลผลิตน้ำนมให้ได้มากที่สุดแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อมรอบฟาร์ม” คุณพีระ กล่าว

Advertisement

Advertisement

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ฟาร์มโคนมต้นแบบระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ The circular dairy farming model เป็นการจัดการฟาร์มโคนมในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียเหลือทิ้ง เป็นการพัฒนาระดับฟาร์มของเกษตรกรหรือต้นน้ำที่จะส่งผลต่อธุรกิจอุตสาหกรรมนมปลายน้ำและเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านนมและผลิตภัณฑ์นมของประเทศโดยชุมชนเกษตรกรมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

หลังจากใช้เป็นแก๊ส ก็นำมาทำปุ๋ยต่อ

“ผลจากงานวิจัยนี้ทำให้คนในชุมชนได้ร่วมกันจัดตั้ง “วิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจหมุนเวียนในฟาร์มโคนม อำเภอมวกเหล็ก” ขึ้นโดยมี คุณณัฐฏ์ เภารอด เป็นประธานวิสาหกิจชุมชน จึงเป็นต้นแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยของเสียจากฟาร์มโคนมนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การผลิตปุ๋ยหมักจากมูลโค การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำทิ้ง การเลี้ยงปลานิลในบ่อบำบัดน้ำทิ้งจากฟาร์ม การเพาะเห็ดจากเศษฟางเหลือทิ้ง การผลิตปุ๋ยน้ำนมจากน้ำนมที่ด้อยคุณภาพ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพและการกระจายรายได้ให้กับชุมชน ทำให้ของเสียเหลือศูนย์ หรือ Zero Waste ทั้งยังเป็นการยกระดับการจัดการฟาร์มโคนมของเกษตรกรให้ได้ตามมาตรฐานฟาร์มและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากของเสียเหลือทิ้ง ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบที่ต้นทางดีขึ้นทำให้อุตสาหกรรมนมของไทยได้มาตรฐานสากลสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้” รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงรัตน์ กล่าว

อาจารย์กมลนันท์ ทวียรรยงกุล การทำจุลินทรีย์บำบัดน้ำทิ้ง

ในปีนี้ได้นำเสนอผลงานวิชาการและงานวิจัย ด้านกิจการโคนมที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะผลงานวิจัยเด่น ที่ อ.ส.ค. ได้ร่วมทุนกับ บพข. หรือหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สังกัดสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในการศึกษาวิจัยภายใต้แผนงาน เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว BCG in Action ของประเทศ

ซึ่งโครงการ “การศึกษารูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการจัดการของเสียในฟาร์มโคนมและการพัฒนาที่ยั่งยืน” มุ่งสร้างฟาร์มโคนมต้นแบบระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ The circular dairy farming model ซึ่งระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียเหลือทิ้ง โดยงานวิจัยนี้ได้ออกแบบให้มีการพัฒนาระดับฟาร์มของเกษตรกรหรือต้นน้ำที่จะส่งผลต่อธุรกิจอุตสาหกรรมนมปลายน้ำและเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านนมและผลิตภัณฑ์นมของประเทศโดยชุมชนเกษตรกรมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดยมี ดร.ณัฐภร แก้วประทุม นักวิชาการ 7 ฝ่ายวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงโคนมของ อ.ส.ค. เป็นหัวหน้าโครงการ และได้ทำงานร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทำการศึกษาวิจัยในพื้นที่ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการเลี้ยงโคนมอย่างหนาแน่น ซึ่งทีมนักวิจัยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับฟาร์มโคนมของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ เพื่อวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model ตามนโยบายของรัฐบาล

ซึ่งของเสียจากฟาร์มโคนมนับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตของคนในชุมชนไม่น้อยไปกว่าฟาร์มปศุสัตว์อื่นๆ ซึ่งโคนม 1 ตัว มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 500 กิโลกรัม ถ่ายมูลและปัสสาวะคิดเป็น 5% ของน้ำหนักตัว จะมีของเสียที่ขับถ่ายออกมามากถึง 25 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน โดยที่ทั้งประเทศมีโคนมทั้งหมด 812,666 ตัว จะมีของเสียมากถึง 20.31 ล้านกิโลกรัมต่อวัน

การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำทิ้ง

ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยที่คนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับผลประโยชน์ โดยใช้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสร้าง “กระบวนการเรียนรู้” เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ ในขณะเดียวกัน ยังมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ โดยสร้างต้นแบบของการจัดการฟาร์ม โคนมแบบองค์รวม โดยไม่มุ่งเน้นเพิ่มผลผลิตน้ำนมให้ได้มากที่สุดแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อมรอบฟาร์ม